ชุงงะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Shunga)
คู่รักสองคน (Two Lovers), โฮกูไซ
จากชุดดอกอโดนิส (ฟูกูจูโซ) ภาพพิมพ์แกะไม้ ป. 1815

ชุงงะ (ญี่ปุ่น: 春画โรมาจิShunga) เป็นประเภทของศิลปะกามวิสัยญี่ปุ่น (erotic art) โดยส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของภาพอูกิโยะบนภาพพิมพ์แกะไม้ (woodblock print) หรือลงบนม้วนหนังสือซึ่งผลงานหลายชิ้นได้ใช้ตั้งแต่ก่อนการมีอยู่ของภาพอูกิโยะ[1] แปลตามตัวอักษร ชุงงะ แปลว่า "ภาพแห่งฤดูใบไม้ร่วง" โดยคำว่า "ฤดูใบไม้ร่วง" เป็นคำรื่นหูของการมีเพศสัมพันธ์[1]

ทุกกลุ่มทางสังคมในยุคเอโดะเพลิดเพลินกับศิลปะชุงงะซึ่งเป็นประเภทย่อยของภาพยูกิโยะแม้รัฐบาลโชกุนไม่ให้การสนับสนุน ชุงงะสร้างขึ้นโดยการนำสุนทรียภาพของชีวิตประจำวันที่มักแสดงออกมาพร้อมกับเรื่องเพศ ศิลปินภาพยูกิโยะส่วนใหญ่ล้วนเคยผ่านการสร้างภาพแบบชุงงะสักครั้งในอาชีพของพวกเขา

ประวัติ[แก้]

คู่รักในฤดูหนาว วาดโดย ซูซูกิ ฮารูโนบุ ป. 1703

ชุงงะได้อิทธิพลอย่างมากจากภาพวาดตำราแพทย์แผนจีนโบราณในยุคมูโรมาจิ (ค.ศ. 1336–1573) บ้างเชื่อว่าได้รับอิทธิพลจาก Zhou Fang จิตรกรชาวจีนที่มีชื่อเสียง เขาและจิตรกรหลายคนในยุคนั้นมักวาดอวัยวะเพศในขนาดที่ใหญ่กว่าจริง นอกจากคำว่า "ชุงงะ" ที่แปลตรงตัวว่า ภาพแห่งฤดูใบไม้ร่วง (เพศสัมพันธ์) ชุงงะยังเป็นคำย่อของคำว่าชุนกีวฮิงิงะ (春宮秘戯画, shunkyū-higi-ga) ม้วนภาพจีน 12 ม้วน แสดงท่วงท่าทางเพศ 12 ท่าซึ่งเจ้าชายจะต้องปฏิบัติเพื่อเป็นการสำแดงถึงความเป็นหยินหยาง[1]

โทริอิ คิโยโนบุที่ 1. ภาพพิมพ์แกะไม้. ชุงงะ. 1703

การปฏิรูปปีเคียวโฮ คำสั่งนโยบาย ค.ศ. 1722 สั่งห้ามการผลิตหนังสือใหม่ ๆ ทุกเล่ม เว้นแต่เจ้าเมืองจะอนุญาต ภายหลังคำสั่งนี้ ชุงงะมุดลงใต้ดิน[2]

ในช่วงคริสต์ศควรรษที่ 19 ชาวตะวันตกเริ่มไม่รื่นรมย์กับชุงงะเพราะความสังวาสในศิลปะ[3] แฟรนซิส ฮออล์ นักธุรกิจชาวอเมริกันที่เดินทางมายังโยโกฮามะใน ค.ศ. 1859 เขาอธิบายชุงงะว่า "ภาพสถุลชั้นต่ำ (vile) ซึ่งถ่ายทอดออกมาในแบบอย่างศิลปะญี่ปุ่นที่ดีที่สุด"[3] ฮออล์ตกตะลึงและรู้สึกรังเกียจเมื่อมีชาวญี่ปุ่นให้ชมภาพชุงงะที่บ้านของพวกเขา[3]

นายทหารกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นกำลังมีความสัมพันธ์กับผู้หญิงชาวรัสเซีย ขณะที่นายทหารรัสเซียนายหนึ่งกำลังลอบมองจากบนพื้น อาจเกี่ยวข้องกับสงครามรัสเซีย–ญี่ปุ่น. 1905

การเข้ามาของวัฒนธรรมและเทคโนโลยีตะวันตกในต้นยุคเมจิ (ค.ศ. 1868–1912) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเข้าเทคนิคการสร้างภาพซ้ำนั้นสร้างผลกระทบอย่างหนักต่อชุงงะ ยังคงมีการพิมพ์บล็อกไม้ไประยะหนึ่ง แต่บุคคลที่ปรากฏเริ่มสวมเสื้อผ้าและตัดผมอย่างตะวันตก[4] ท้ายสุด ชุงงะไม่สามารถแข่งขันกับภาพแนวสังวาสอื่นได้และนำไปสู่การถดถอย

เนื้อหา[แก้]

ในยุคเอโดะ ชุงงะพยายามแสดงออกถึงความเป็นไปได้ทางเพศของโลกร่วมสมัย นักเขียนบางคนกล่าวว่าเป็นการสร้างของโลกคู่ขนานกับชีวิตอย่างชาวเมืองร่วมสมัย แต่ผ่านจินตนาการ ทำให้เป็นเรื่องทางเพศ และจินตนิมิต (fantasy)[1][5]

ชุงงะส่วนใหญ่พรรณาให้เห็นถึงความสัมพันธ์เชิงสังวาสระหว่างปุถุชน, โชนิง, ผู้หญิง, ชนชั้นพ่อค้า, ช่างฝีมือ และชาวนา บางครั้งอาจปรากฏชาวดัตช์หรือชาวโปรตุเกส[1]

โสเภณียังปรากฏในชุงงะหลายภาพ อูตามาโระยังได้รับการกล่าวขานสำหรับการวาดโสเภณีในผลงานหลายชิ้นของเขา โดยอาจเป็นผู้มีชื่อเสียงแห่งยุค และโยชิวาระ ย่านโคมแดงในยุคเอโดะมักได้รับการเปรียบเทียบกับฮอลลีวูด[6] ผู้ชายมองโสเภณีเหล่านั้นว่ามีความอีโรติกสูงเพราะอาชีพของพวกเขา แต่ขณะเดียวกันไม่สามารถครองคู่ด้วยได้ เพราะมีเพียงแค่ชายที่ร่ำรวยที่สุดและมีตระกูลเท่านั้นจะสามารถมีความสัมพันธ์เชิงสังวาสได้เท่านั้น ผู้หญิงมองโสเภณีว่าดูห่างไกล เป็นบุคคลแบบอย่างที่น่าดึงดูด และการแต่งกายสมัยนิยม (fashion) ของทั้งประเทศได้รับแรงบันดาลใจจากการแต่งกายของพวกเขา ด้วยเหตุผลเหล่านี้ ความหลงใหลในโสเภณีจึงเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย[5]

ม้วนภาพและหนังสือภาพเชิงสังวาส (เอ็มปง) มักปรากฏภาพกิจกรรมทางเพศที่ไม่ปะติดปะต่อกันมากกว่าการเล่าเรื่องอย่างมีโครงสร้าง อาจพบกับความหลากหลายมากมาย เช่น ผู้ชายเล้าโลมผู้หญิง–ผู้หญิงเล้าโลมผู้ชาย ผู้ชายและผู้หญิงต่างมีชู้ต่อกัน วัยรุ่นถือพรหมจารีไปจนถึงคู่รักวัยแก่ที่แต่งงานกัน แม้แต่กระทั่งหมึกยักษ์[1]

ชุงงะส่วนใหญ่เป็นเรื่องรักต่างเพศ แต่บางครั้งอาจปรากฏภาพชายกับชาย ขณะที่หญิงกับหญิงอาจะพบได้น้อยกว่าแต่มีมากเช่นกัน[7] นอกจากนี้ ยังพบการสำเร็จความใคร่ ความเข้าใจเรื่องทางเพศแตกต่างจากโลกตะวันตกสมัยใหม่ในประเทศญี่ปุ่นของโทกูงาวะ และผู้คนมีแนวโน้มที่จะไม่ยุ่งเกี่ยวกับความปรารถนาทางเพศอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง ทำให้การจับคู่ทางเพศ (sexual pairing) ในภาพชุงงะมีความหลากหลายเพื่อรองรับความพึงพอใจที่แตกต่างกัน[1]

ระเบียงภาพ[แก้]

ในยุคเอโดะ การเห็นเพศตรงข้ามเปลือยกายในโรงอาบน้ำเป็นเรื่องปกติ เช่น ซันซูเกะชายทางมุมบนซ้ายมือในแผ่นแกะไม้นี้ วาดโดย โทริอิ คิโยนางะ
ในยุคเอโดะ การเห็นเพศตรงข้ามเปลือยกายในโรงอาบน้ำเป็นเรื่องปกติ เช่น ซันซูเกะชายทางมุมบนซ้ายมือในแผ่นแกะไม้นี้ วาดโดย โทริอิ คิโยนางะ 
ชุงงะเลสเบียน วาดโดยโฮกูไซ
ชุงงะเลสเบียน วาดโดยโฮกูไซ 
ยามว่างในฤดูใบไม้ผลิ ชายหนุ่มและวัยรุ่นชายแอบมาพบกัน (นันโชกุ) วาดโดย มิยางาวะ อิชโช ป. 1750
ยามว่างในฤดูใบไม้ผลิ ชายหนุ่มและวัยรุ่นชายแอบมาพบกัน (นันโชกุ) วาดโดย มิยางาวะ อิชโช ป. 1750 
คิตางาวะ อูตามาโระ, "ลูกค้าประเล้าประโลมโสเภณี" ภาพปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18, F. M. Bertholet Collection
คิตางาวะ อูตามาโระ, "ลูกค้าประเล้าประโลมโสเภณี" ภาพปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18, F. M. Bertholet Collection 
ชายไว้ทรงผมอย่างตะวันตกสมสู่กับผู้หญิงในชุดแต่งกายโบราณญี่ปุ่นในยุคเมจิ
ชายไว้ทรงผมอย่างตะวันตกสมสู่กับผู้หญิงในชุดแต่งกายโบราณญี่ปุ่นในยุคเมจิ 
ความฝันของเมียชาวประมง, โฮกูไซ, 1814

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 Kielletyt kuvat: Vanhaa eroottista taidetta Japanista / Förbjudna bilder: Gammal erotisk konst från Japan / Forbidden Images: Erotic art from Japan's Edo period (ภาษาฟินแลนด์, สวีเดน และ อังกฤษ). Helsinki, Finland: Helsinki City Art Museum. 2002. pp. 23–28. ISBN 951-8965-53-6.
  2. Kornicki, Peter F. (December 2000). The Book in Japan: A Cultural History from the Beginnings to the Nineteenth Century. Honolulu: University of Hawaii Press. pp. 331–353. ISBN 0-8248-2337-0.
  3. 3.0 3.1 3.2 Hayakawa, Monta; C. Andrew Gerstle (2013). "Who Were the Audiences for "Shunga"". Japan Review (26): 26. JSTOR 41959815.
  4. Munro, Majella. Understanding Shunga, ER Books, 2008, p92, ISBN 978-1-904989-54-7
  5. 5.0 5.1 Screech, Timon (1999). Sex and the Floating World. London: Reaktion Books. pp. 13–35. ISBN 1-86189-030-3.
  6. Shugo Asano & Timothy Clark (1995). The Passionate Art of Kitagawa Utamaro. Tokyo: Asahi Shinbunsha. ISBN 978-0-7141-1474-3.
  7. Such as "Women having intercourse using a harikata [a dildo]", Katsushika Hokusai, ป. 1814.

หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]

  • Rosina Buckland, Shunga: Erotic Art in Japan (Abrams Press, 2013) ISBN 9781468306989
  • Timothy Clark et al. (eds), Shunga: sex and pleasure in Japanese art (London: British Museum Press, 2013) ISBN 978-0714124766

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]