ข้ามไปเนื้อหา

ความฝันของเมียชาวประมง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความฝันของเมียชาวประมง
ญี่ปุ่น: ทาโกะโตะอามะ (蛸と海女; Tako to Ama)
ศิลปินโฮกูไซ
ปีค.ศ. 1814 (1814)
ประเภทภาพพิมพ์แผ่นไม้ (woodblock print)
มิติ19 เซนติเมตร × 27 เซนติเมตร (7.4 in × 10.5 in)

ความฝันของเมียชาวประมง (ญี่ปุ่น: 蛸と海女โรมาจิTako to Ama; อังกฤษ: The Dream of the Fisherman's Wife, "หมึกยักษ์และนักดำน้ำงมหอย") เป็นภาพพิมพ์แผ่นไม้โดยโฮกูไซ ศิลปินชาวญี่ปุ่น ภาพพิมพ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของคิโนเอะโนะโคมัตสึ ('ต้นสนต้นอ่อน') ชุดหนังสือสามเล่มในชุงงะ ศิลปะเร้ากามารมณ์แนวภาพอูกิโยะที่ตีพิมพ์ครั้งแรกใน ค.ศ. 1814[1] และกลายเป็นผลงานชุงงะที่มีชื่อเสียงที่สุดของโฮกูไซ โดยใช้แนวเรื่องที่มักพบได้บ่อยในศิลปะญี่ปุ่น ภาพนี้ปรากฏอามะ (นักดำน้ำงมหอยหญิง) ล้อมไปด้วยแขนของปลาหมึกยักษ์สองตัว ตัวที่ใหญ่กว่าเลียอวัยวะเพศหญิงของเธอ ขณะที่ตัวที่เล็กกว่าซึ่งเป็นลูกของมันดื่มด่ำกับปากและหัวนมข้างซ้ายของฝ่ายหญิง[2]

ภาพนี้มักได้รับการอ้างว่าเป็นตัวบุกเบิกผลงานแบบกามารมณ์หนวดรยางค์ (tentacle erotica) ซึ่งได้รับความนิยมในแอนิเมชันญี่ปุ่นสมัยใหม่และมังงะนับตั้งแต่ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา อย่างไรก็ดี ผลงานกามารมณ์หนวดรยางค์สมัยใหม่ให้ความสนใจที่การถูกฝืนบังคับให้ร่วมเพศมากกว่าการมีปฏิสัมพันธ์อย่างพึงพอใจระหว่างกันในแบบของโฮกูไซ[3] ศิลปินหลายคนรวมถึงปาโบล ปิกาโซ ได้รับอิทธิพลจากภาพนี้[4] ใน ค.ศ. 1903 เขาวาดภาพนี้ในแบบของตนเอง ซึ่งต่อมานำมาจัดแสดงในนิทรรศการพิพิธภัณฑ์ปิกาโซ ค.ศ. 2009 ภายใต้ชื่อSecret Images ร่วมกับภาพวาดและพิมพ์แกะลายอื่นอีก 26 ชิ้น จัดแสดงถัดจากภาพต้นฉบับของโฮกูไซอีก 16 ชิ้น ซึ่งชี้ให้เห็นถึงอิทธิพลของศิลปะญี่ปุ่นช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่มีต่อผลงานของปิกาโซ[5] มาซามิ เทราโอกะ ศิลปินชาวญี่ปุ่น–อเมริกัน ยังได้รับอิทธิพลจากความฝันของเมียชาวประมง โดยสร้างภาพตัวละครหญิงที่เป็นนักดำน้ำงมไข่มุกกำลังสมสู่กับหมึกเป็นตัวแทนของพลังสตรีปรากฏอยู่ในผลงานอยู่บ่อยครั้ง[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Uhlenbeck, p. 56; 161.
  2. Uhlenbeck, p. 161.
  3. Briel, p. 203
  4. Bru, p. 55–77.
  5. "Picasso's Japanese erotic inspiration on show in Barcelona". The Independent. 6 November 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-19. สืบค้นเมื่อ 3 December 2010.
  6. Bing, pp. 44–47.

รายการอ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]