แร็กนาการ์ด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Ragnagard)
แร็กนาการ์ด
ผู้พัฒนาซอรัส[a]
ผู้จัดจำหน่าย
  • ซอรัส (นีโอจีโอ ซีดี)
กำกับเรียวมิ โมโมตะ
อำนวยการผลิตโนบูยูกิ ทานากะ
ออกแบบฮิโรอากิ ฟูจิโมโตะ
โปรแกรมเมอร์ฮิเดกิ ซูซูกิ
ศิลปินเคียวซูเกะ โมโตยะ
โมโตฮิโระ โทชิโระ
เรียวมิ โมโมตะ
แต่งเพลงฮิเดกิ ซูซูกิ
เครื่องเล่น
วางจำหน่าย
13 มิถุนายน ค.ศ. 1996
แนวต่อสู้
รูปแบบ
ระบบอาร์เคดนีโอจีโอ เอ็มวีเอส

แร็กนาการ์ด[b] เป็นเกมต่อสู้อาร์เคด 2 มิติที่พัฒนาโดยซอรัสและซิสเตมวิชันสำหรับอาร์เคดของนีโอจีโอ, นีโอจีโอ ซีดี และเซกา แซตเทิร์น ซึ่งตัวละครในเกมล้วนมีพื้นฐานมาจากเทพเจ้าชินโต[1]

รูปแบบการเล่น[แก้]

ภาพจับหน้าจอรูปแบบการเล่นที่แสดงแมตช์ระหว่างซูซาโนะกับเบ็นเต็ง

แร็กนาการ์ดเป็นเกมต่อสู้ที่ใช้สไปรต์ที่เรนเดอร์ไว้ล่วงหน้าคล้ายกับเกมคิลเลอร์อินสติงต์ของบริษัทแรร์แต่มีกลไกรูปแบบการเล่นที่แตกต่างกัน เกมดังกล่าวมีระบบการต่อสู้ทางอากาศซึ่งทำได้โดยการดันก้านควบคุมขึ้นและกดปุ่มต่อยเบาและเตะแบาพร้อมกันเพื่อให้สามารถทำคอมโบกลางอากาศและแดชกลางอากาศ นอกจากนี้ ผู้เล่นยังสามารถชาร์จเกจพลัง (ขึ้นอยู่กับสี่ธาตุของน้ำ, ลม, ไฟ และสายฟ้า แม้ว่าตัวละครแต่ละตัวจะใช้เพียงสองในสี่ธาตุเท่านั้น) ซึ่งทำให้สามารถใช้สุดยอดท่าไม้ตาย บรรดาสุดยอดท่าไม้ตายสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อชีวิตของผู้เล่นเป็นสีแดงกะพริบ ซึ่งคล้ายกับซีรีส์เดอะคิงออฟไฟเทอส์

พอร์ตและรุ่นที่เกี่ยวข้อง[แก้]

เกมแร็กนาการ์ดได้รับการพอร์ตไปยังนีโอจีโอ เออีเอส ในเวลาต่อมา ซึ่งเป็นเวอร์ชันเครื่องเล่นภายในบ้านของนีโอจีโอ เอ็มวีเอส เวอร์ชันนี้มีคันทินิวแบบจำกัดและมีการตั้งค่าความยากต่างกัน โดยเวอร์ชันนี้เผยแพร่อีกครั้งผ่านเวอร์ชวลคอนโซลของวีเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น แร็กนาการ์ดยังได้รับการพอร์ตไปยังนีโอจีโอ ซีดี เฉพาะในประเทศญี่ปุ่น เวอร์ชันนี้มีฉากเปิดที่ได้รับการปรับปรุง, ดนตรีประกอบที่ใสขึ้นเล็กน้อย และการปรับแต่งอื่น ๆ เล็กน้อย แร็กนาการ์ดเวอร์ชันนี้ได้รับการพอร์ตไปยังเซกา แซตเทิร์น ในภายหลัง เฉพาะในประเทศญี่ปุ่นเช่นกัน เวอร์ชันนี้มีโหมดใหม่และการปรับแต่งการควบคุมบางส่วน ในขณะที่กราฟิกรวมถึงรูปแบบการเล่นของเกมบางส่วนได้รับการปรับปรุงและปรับเปลี่ยน ต่างจากเวอร์ชันอาร์เคดและนีโอจีโอ ซึ่งผู้เล่นสามารถเล่นเป็นหนึ่งในบอสได้โดยการป้อนสูตรโกงเกม โดยเวอร์ชันนีโอจีโอ ซีดี และเซกา แซตเทิร์น อนุญาตให้ผู้เล่นเล่นเป็นบอสได้โดยเข้าสู่โหมดเวอร์ซัสเท่านั้น

การตอบรับ[แก้]

การตอบรับ
คะแนนปฏิทรรศน์
สิ่งพิมพ์เผยแพร่คะแนน
ออลเกม2.5/5 stars (อาร์เคด)[2]
อิเล็กทรอนิกเกมมิงมันทลี4.675/10 (นีโอจีโอ)[3]
แฟมิซือ63/100 (เซกา แซตเทิร์น)[4]

เกมแร็กนาการ์ดได้รับการตอบรับที่หลากหลายจากนักวิจารณ์นับตั้งแต่เปิดตัว[4][7][8]

จากนักวิจารณ์สี่คนของนิตยสารอิเล็กทรอนิกเกมมิงมันทลี คริสปิน บอยเยอร์ มีปฏิกิริยาเงียบสงบ แต่อีกสามคนวิจารณ์อย่างรุนแรงต่อเกมดังกล่าว โดยชอว์น สมิธ และซูชิ-เอกซ์ พบว่ามันน่าเบื่อเนื่องจากการเคลื่อนไหวที่ขาด ๆ หาย ๆ ของตัวละคร และหน่วงเวลาระหว่างการเคลื่อนไหวแต่ละครั้ง รวมทั้งแดน ชู และซูชิ-เอกซ์ ตั้งข้อสังเกตว่าแม้ว่าแอนิเมชันก่อนการต่อสู้จะน่าประทับใจ แต่กราฟิกก็ไม่โดดเด่นเมื่อการต่อสู้เริ่มขึ้น[3] นอกจากนี้ รอเบิร์ต แบนเนอร์ต จากแมน!เอซี ชมเชยการออกแบบตัวละคร แต่โดยรวมแล้วรู้สึกผสมปนเปต่อแร็กนาการ์ดเมื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงของเซกา แซตเทิร์น ในแง่ของการออกแบบหลาย ๆ ด้าน[5] ส่วนคริสตอฟ เดลปิแอร์ จากเพลเยอร์วันได้เปรียบเทียบลักษณะภาพของเกมนี้กับคิลเลอร์อินสติงต์[6]

และในบทวิจารณ์ย้อนหลังสำหรับออลเกมนั้น ไคล์ ไนต์ รู้สึกแบบผสมในเรื่องของการนำเสนอด้วยภาพและการออกแบบเสียงที่แสดงผลไว้ล่วงหน้า แต่ติเตียนถึงปัญหาความสมดุลของตัวละครและรูปแบบการเล่น[2]

หมายเหตุ[แก้]

  1. งานเพิ่มเติมโดยซิสเตมวิชัน
  2. มีชื่อเรียกอีกอย่างคือญี่ปุ่น: ชิโนเค็งโรมาจิ神凰拳ทับศัพท์Shin'ōken; การแปลตามตัวอักษร "หมัดเทพฟีนิกซ์" หรือ "หมัดราชันย์ของแท้" ในประเทศญี่ปุ่น

อ้างอิง[แก้]

  1. "Maximum News: 3D Rendering with a 2D Fighting Game? Enter Shinoken". Maximum: The Video Game Magazine. No. 5. Emap International Limited. April 1996. p. 123.
  2. 2.0 2.1 Knight, Kyle (1998). "Ragnagard [Japanese] (Arcade) - Review". AllGame. All Media Network. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-17. สืบค้นเมื่อ 2021-07-13.
  3. 3.0 3.1 Smith, Shawn; Hsu, Dan; Boyer, Crispin; Sushi-X (September 1996). "Review Crew: Neo•Geo - Ragnagard (SNK)". Electronic Gaming Monthly. No. 86. Ziff Davis. p. 28.
  4. 4.0 4.1 "NEW GAMES CROSS REVIEW: 神凰拳". Famitsu (ภาษาญี่ปุ่น). No. 434. ASCII Corporation. April 11, 1997. p. 31. สืบค้นเมื่อ 2020-05-22.
  5. 5.0 5.1 Bannert, Robert (June 1997). "Overseas – Sega Saturn: Ragnagard". MAN!AC (ภาษาเยอรมัน). No. 44. Cybermedia. p. 63.
  6. 6.0 6.1 Delpierre, Christophe (October 1996). "Vite Vu – Neo Geo CD: Ragnagard". Player One (ภาษาฝรั่งเศส). No. 68. Média Système Édition. p. 118.
  7. "Sega Saturn Soft Review - 神凰拳". Sega Saturn Magazine (ภาษาญี่ปุ่น). No. 45. SoftBank Creative. March 28, 1997. p. 152.
  8. "NF編集部にまる - ネオジオゲームㇱインレビュー: 神凰拳". Neo Geo Freak (ภาษาญี่ปุ่น). No. 25. Geibunsha. June 1997. pp. 124–128.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]