Plecturocebus aureipalatii

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ลิงโกลเดนพาเลซ
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
อันดับ: อันดับวานร
อันดับย่อย: ฉบับร่าง:Haplorhini
อันดับฐาน: Simiiformes
วงศ์: Pitheciidae
สกุล: Plecturocebus
(Wallace, Gómez, A. M. Felton, & A. Felton, 2006)[2]
สปีชีส์: Plecturocebus aureipalatii
ชื่อทวินาม
Plecturocebus aureipalatii
(Wallace, Gómez, A. M. Felton, & A. Felton, 2006)[2]
ชื่อพ้อง

Callicebus aureipalatii Wallace, Gómez, A. M. Felton, & A. Felton, 2006[2]

ทีทีมาดีดี (อังกฤษ: Madidi titi) หรือ ลิงโกลเดนพาเลซดอทคอม (อังกฤษ: GoldenPalace.com monkey) หรือ ลิงโกลเดินพาเลซ เป็นทีที กลุ่มย่อยของลิงโลกใหม่ซึ่งพบเจอในประเทศโบลิเวีย ที่อุทยานแห่งชาติมาดีดี ในปี ค.ศ. 2004[3] ชื่อวิทยาศาสตร์ของทีทีมาดีดีคือ Plecturocebus aureipalatii[2] โดยคำแสดงคุณลักษณะในชื่อทวินามนี้แปลว่า "ของวังทอง" (Golden palace) ชื่อของโกลเดนพาเลซในชื่อลิงมาจากคาสิโนออนไลน์ โกเดนพาเลซดอทคอม ผู้ซึ่งจ่ายเงินมูลค่า 650,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อให้ตั้งชื่อชนิดตามบริษัท เงินส่วนนี้ต่อมาถูกนำไปอุดหนุนหน่วยงานที่ดูแลอุทยานแห่งชาติซึ่งพบลิงนี้ครั้งแรก[3][4]

หลังการค้นคว้าเป็นเวลาหลายปี ในปี ค.ศ. 2006 ทีทีมาดีดีกลายเป็นเป็นไพรเมทชนิดแรกที่ค้นพบในโบลิเวียในรอบ 60 ปี[5][6]

การแพร่กระจาย[แก้]

สปีซีส์นี้สามารถพบในพื้นที่ราบลุ่มต่ำในโบลิเวียทางตะวันตกเฉียงเหนือ, ในป่าเชิงเทือกเขาแอนดีส การค้นคว้าพบว่าพวกมันอยู่อาศัยในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเบนี ส่วนพื้นที่อยู่อาศัยขยายในทางเหนือยังไม่ทราบ การศึกษาขั้นต้นระบุว่าชนิดนี้ไม่ได้เป็นสัตว์เฉพาะถิ่นแต่ในโบลิเวีย และอาจมีพื้นที่อยู่อาศัยขยายถึงประเทศเปรู (หรืออย่างน้อยถึงแม่น้ำทามโบปาตา)[1][7]

ลักษณะ[แก้]

ทีทีมาดีดีมีลักษณะเด่นคือ ขนสีส้ม-น้ำตาล, มงกุฎสีทอง (golden crown), ปลายหางสีขาว, มือและตีนสีแดงเข้ม เช่นเดียวกับทีทีชนิดอื่น ๆ ทีทีมาดีดีเป็นสัตว์ผัวเดียวเมียเดียวและมีคู่เดียวตลอดชีวิต โดยทั่วไปตัวผู้มีหน้าที่ในการแบกเอาลูกอ่อนติดตัวจนกว่ามันจะสามารถออกไปใช้ชีวิตเองได้

การค้นพบ[แก้]

นักชีววิทยาชาวอังกฤษ โรเบิร์ท วอลเลซ (Robert Wallace) สมาชิกของสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่าและนักชีววิทยาชาวโบลิเวีย ฮัมแบร์โต โกมเมซ (Humberto Gómez) รายงานว่าพบเห็นลิงนี้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 2000 ขณะกำลังศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ในอุทยานแห่งชาติมาดีดี[8][5] และได้รับการประกาศยืนยันเป็นชนิดที่ถูกค้นพบใหม่ในปี ค.ศ. 2006[5] ทีมสำรวจภาคพื้นประกอบด้วย Annika M. Felton, Adam Felton และ Ernesto Cáceres เป็นนักวิจัยกลุ่มแรกที่สามารถบันทึกภาพเคลื่อนไหวของทีทีชนิดนี้ วอลเลซและทีมงานของเขา รวมถึงสมาคมฯ ตัดสินใจนำเอาชื่ออกประมูลแทนที่จะตั้งชื่อชนิดด้วยตนเอง สิทธิในการตั้งชื่อถูกนำออกประมูลโดยเงินที่ได้รับจะนำไปมอบให้กับ FUNDESNAP (Fundación para el Desarrollo del Sistema Nacional de Áreas Protegidas) องค์การไม่แสวงผลกำไรที่มีหน้าที่ในการดูแลอุทยานแห่งชาติมาดีดี[3] ธุรกิจคาสิโนออนไลน์ GoldenPalace.com หนึ่งในมากกว่าหลายสิบผู้ประมูลชนะการประมูลไปด้วยมูลค่า 650,000 ดอลลาร์สหรัฐ และใช้สิทธิ์การตั้งชื่อในการตั้งชื่อลิงตามชื่อธุรกิจของตน[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Wallace, R. B.; de la Torre, S. & Veiga, L. M. (2008). "Callicebus aureipalatii". IUCN Red List of Threatened Species. 2008: e.T136815A4342993. doi:10.2305/IUCN.UK.2008.RLTS.T136815A4342993.en.
  2. 2.0 2.1 2.2 Byrne, Hazel; Rylands, Anthony B.; Carneiro, Jeferson C.; Alfaro, Jessica W. Lynch; Bertuol, Fabricio; da Silva, Maria N. F.; Messias, Mariluce; Groves, Colin P.; Mittermeier, Russell A. (2016-03-01). "Phylogenetic relationships of the New World titi monkeys (Callicebus): first appraisal of taxonomy based on molecular evidence". Frontiers in Zoology. 13: 10. doi:10.1186/s12983-016-0142-4. ISSN 1742-9994. PMC 4774130. PMID 26937245.
  3. 3.0 3.1 3.2 "Madidi Titi Monkey". Wildlife Conservation Society. สืบค้นเมื่อ 16 November 2011.
  4. 4.0 4.1 "Internet casino buys monkey naming rights". MSNBC. สืบค้นเมื่อ 25 March 2019.
  5. 5.0 5.1 5.2 Ricardo Herrera Farell (May 2005). "BOL-71: El Aureipalatii: Bautizaron al Callicebus del Madidi" (ภาษาสเปน). Biodiversity Reporting Award. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2011. สืบค้นเมื่อ 15 November 2011.
  6. Wallace, Robert B.; Gómez, Humberto; Felton, Annika; Felton, Adam M. (2006). "On a New Species of Titi Monkey, Genus Callicebus Thomas (Primates, Pitheciidae), from Western Bolivia with Preliminary Notes on Distribution and Abundance" (PDF). Primate Conservation. 20: 36. doi:10.1896/0898-6207.20.1.29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 25 April 2012.
  7. van der Speld, R. F.; Bello, R.; Hebard, L. (2017). "Activity budget and ranging of a group of Madidi titis (Plecturocebus aureipalatii) in Reserva Ecologica Taricaya, with preliminary notes on diet composition, habitat usage and additional sightings" (PDF). Neotropical Primates. 23 (2): 33–40.
  8. Henry Fountain (8 February 2005). "Have Your Very Own Species, for a Price". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 16 November 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

แม่แบบ:Pitheciidae nav