ปลาเป้า
ปลาเป้า | |
---|---|
ปลาปักเป้าจุดส้ม (P. abei) หรือในอดีตใช้ชื่อว่า Tetraodon abei | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Tetraodontiformes |
วงศ์: | Tetraodontidae |
สกุล: | Pao Kottelat, 2013 |
ชนิดต้นแบบ | |
Tetraodon leiurus Bleeker, 1850 |
ปลาเป้า (ลาว: ປາເປົ້າ) เป็นสกุลของปลาปักเป้าสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (Tetraodontidae)
ใช้ชื่อสกุลว่า Pao (/เป้า/) ซึ่งหมายถึง "ถุง" หรือ "กระเป๋า" [1]ในภาษาไทยหรือภาษาลาว โดยทั่วไปแล้วหมายถึง "ปลาปักเป้า" ทั้งในภาษาไทยและภาษาลาว ("เป้า" เป็นคำที่ใช้เรียก ปลาปักเป้าในภาษาอีสาน[2] ) โดยปลาปักเป้าในสกุลนี้ เป็นปลาปักเป้าขนาดเล็กอาศัยอยู่ในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยในบางชนิด พบมากในแหล่งน้ำต่าง ๆ โดยเฉพาะในภาคอีสานของไทยและลาว[3]
ในช่วงฤดูวางไข่ ปลาจะดุร้ายก้าวร้าวมากเป็นพิเศษ เนื่องจากหวงแหนไข่ จะกัดหรือทำร้ายผู้ที่บุกรุกถิ่นที่อยู่หรือถิ่นวางไข่ ไม่เว้นแม้กระทั่งมนุษย์ โดยปลาขนาด 20 เซนติเมตร จะกัดด้วยฟันอันแหลมคมเป็นแผลกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร [4]
การจำแนก
[แก้]มีทั้งสิ้น 13 ชนิด โดยแยกออกมาจากสกุล Tetraodon[3]
- Pao abei (Roberts, 1998) (ปลาปักเป้าจุดส้ม, ปลาปักเป้าจุดแดง)
- Pao baileyi (Sontirat, 1989) (ปลาปักเป้าขน)
- Pao bergii (Popta, 1905)
- Pao brevirostris (Benl, 1957) (ปลาปักเป้าบึง, ปลาปักเป้าดำแม่น้ำโขง)
- Pao cambodgiensis (Chabanaud, 1923) (ปลาปักเป้าปากยาว, ปลาปักเป้าปากขวด)
- Pao cochinchinensis (Steindachner, 1866) (ปลาปักเป้าดำ)
- Pao fangi (Pellegrin & Chevey, 1940)
- Pao hilgendorfii (Popta, 1905)
- Pao leiurus (Bleeker, 1850) (ปลาปักเป้าน้ำจืด)
- Pao ocellaris (Klausewitz, 1957)
- Pao palembangensis (Bleeker, 1852) (ปลาปักเป้าท้องตาข่าย)
- Pao suvattii (Sontirat, 1989) (ปลาปักเป้าควาย, ปลาปักเป้าสุวัตถิ)
- Pao turgidus (Kottelat, 2000)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "เป้า". พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒. 4 April 2014. สืบค้นเมื่อ 4 April 2014.
- ↑ ดร. ชวลิต วิทยานนท์. ปลาน้ำจืดไทย. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์, 2544. 115 หน้า. หน้า 106. ISBN 9789744726551
- ↑ 3.0 3.1 Kottelat, M. (2013): The Fishes of the Inland Waters of Southeast Asia: A Catalogue and Core Bibliography of the Fishes Known to Occur in Freshwaters, Mangroves and Estuaries. เก็บถาวร 2013-12-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Raffles Bulletin of Zoology, 2013, Supplement No. 27: 1–663.
- ↑ "เรื่องเล่าเช้านี้ ประมงลงสอบเหตุปลาปักเป้า ไล่งับ นทท.เจ็บที่นครนายก คาดหวงไข่". เรื่องเล่าเช้านี้. 26 October 2015. สืบค้นเมื่อ 26 October 2015.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Pao ที่วิกิสปีชีส์