วงศ์โคลงเคลง
(เปลี่ยนทางจาก Melastomataceae)
วงศ์โคลงเคลง | |
---|---|
![]() | |
โคลงเคลง | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
หมวด: | พืชดอก (Magnoliophyta) |
ชั้น: | พืชใบเลี้ยงคู่ (Magnoliopsida) |
อันดับ: | ไมยร์ทาเลส (Myrtales) |
วงศ์: | โคลงเคลง (Melastomataceae) Juss. |
สกุลต้นแบบ | |
Melastoma L. |
วงศ์โคลงเคลง หรือ (Melastoma) เป็นชื่อวงศ์พรรณไม้ จำพวก โคลงเคลง จุกนารี และแปร้น้ำเงิน ซึ่งมีลักษณะเด่นคือ ใบเป็นใบเดี่ยวติดตรงข้าม กลีบดอกเด่นชัด รังไข่เชื่อมติดกับฐานดอก มีระยางค์ยื่นออกมาตรงโคนอับเรณู
ลักษณะประจำวงศ์[แก้]
วงศ์โคลงเคลงเป็นวงศ์ของไม้พุ่ม ไม้ต้น ไม้ล้มลุก หรือไม้เลื้อย ซึ่งไม่มีหูใบ ใบเป็นใบเดี่ยวติดตรงข้าม บางทีพบมีหลายใบติดรอบข้อ ดอกสมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 3, 4 หรือ 5 กลีบ แกนอับเรณูยืดยาวหรือเป็นรยางค์ อับเรณูแตกโดยมีรูที่ปลาย รังไข่ติดใต้วงกลีบหรือกึ่งใต้วงกลีบมี 4 หรือ 5 ช่อง ไข่อ่อนจำนวนมากติดที่แกนผนังรังไข่ ผลแห้งแบบแก่แตก หรือผลมีเนื้อหลายเมล็ด
อนุกรมวิธาน[แก้]
ภายใต้ระบบการจัดประเภท APG III เจ็ดสกุลจากวงศ์พลองเหมือด (Memecylaceae) ถูกรวมอยู่ในสกุลนี้แล้ว[1]
ชนิดและการกระจายพันธุ์[แก้]
กระจายพันธุ์ในเขตร้อน ทั่วโลกพบ 211 สกุล ในประเทศไทยพบ 15 สกุล ได้แก่
- สกุลโคลงเคลง (Melastoma) เป็นไม้พุ่ม ขึ้นตามที่โล่งแจ้ง เช่น
- โคลงเคลง Melastoma malabathricum L. subsp. malabathricum L.
- มังเคร่ช้าง Melastoma sanguineum Sims.
- โคลงเคลงผลแห้ง Melastoma pellrgrinianum (Boissieu) F. K. Mey
- โคลงเคลงยวน Melastoma saigonense (Kuntze) Merr.
- สกุลโคลงเคลงขนต่อม (Clidemia) ไม้พุ่ม ขึ้นเป็นวัชพืชโดยเฉพาะคาบสมุทรมลายาและทางภาคใต้ของประเทศไทย พบในประเทศไทยเพียงชนิดเดียว คือ
- โคลงเคลงขนต่อม Clidemia hirta (L.) D. Don
- สกุลเคลงแดง (Medinilla) ไม้พุ่มอิงอาศัย ทั่วโลกมีสมาชิกประมาณ 150 ชนิด ในไทยมีประมาณ 8–9 ชนิด ได้แก่
- เคลงแดง Medinilla curtisii Hook.f.
- เคลงใบเวียน Medinilla radicans (Blume) Blume
- เคลงย้อย Medinilla alpestris (Jack) Blume
- เคลงหิน Medinilla rubicunda (Jack) Blume
- Medinilla laurifolia (Blume) Blume
- Medinilla clarkei King
- Medinilla scortechnii King
- Medinilla speciosa (Reinw. ex Blume) Blume
- เคลงแสด Medinilla succulenta (Blume) Blume
- สกุลพลอง (Memecylon) ไม้พุ่ม หรือไม้ต้นขนาดเล็กมีเนื้อไม้ เช่น
- พลองขี้ควาย Memecylon caeruleum Jack
- สกุลเอนอ้า (Osbeckia) ไม้พุ่ม ขึ้นตามที่โล่งแจ้ง ในประเทศไทยพบ 7 ชนิด[2] ได้แก่
- เอนอ้าขายาว Osbeckia aspericaulis Hooh.f. ex Triana
- เอนอ้า Osbeckia chinensis L.
- โคลงเคลงตัวผู้ Osbeckia cochinchinensis Cogn.
- เอนอ้าน้ำ Osbeckia nepalensis Hook. f.
- เอนอ้าขนแข็ง Osbeckia setoso-annulata Geddes
- เอนอ้าขน หรือ จุกนารี Osbeckia stellata Buch.-Ham. ex Ker Gawl.
- เอนอ้าหิน Osbeckia thorelii Guillaumin
- สกุลเคลง (Pachycentria) ไม้พุ่มอิงอาศัย ทั่วโลกมีสมาชิกประมาณ 8 ชนิด ในไทยมี 3 ชนิด[3] ได้แก่
- เคลงกนก Pachycentria varingifolia (Blume) Blume
- เคลงก้านแดง Pachycentria constricta (Blume) Blume
- เคลงก้านแดง Pachycentria pulverulenta (Jack) Clausing
- สกุลเครือปลาซิว (Pseudodissochaeta) ไม้พุ่มอิงอาศัย เช่น
- เครือปลาซิว Pseudodissochaeta septentrionalis (W.W. Sm.) M.P. Nayar
- สกุลก้ามกุ้ง (Phyllagathis) ไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ไม่มีลำต้น มีเหง้าใต้ดิน มักพบบนก้อนกินริมลำธารที่มีความชื้น ในป่าดิบแล้ง ในประเทศไทยพบ 5 ชนิด[4] ได้แก่
- ก้ามกุ้งขน Phyllagathis hispida King
- ก้ามกุ้งใบกลม Phyllagathis rotundifolia (Jack) Blume
- ก้ามกุ้งสยาม Phyllagathis siamensis Cellin. & S. S.Renner
- ก้ามกุ้งหัว Phyllagathis tuberosa (Hansen) Cellin. & S. S.Renner
- ก้ามกุ้งภูวัว Phyllagathis nanakorniana Wangwasit, Norsaengsri & Cellin.
- สกุลแปร้ (:Sonerila) ไม้ล้มลุก มักบนลานหินที่มีมอสส์ ตามป่าดิบชื้น เช่น
- แปร้น้ำเงิน Sonerila maculata Roxb.
- ดรุณี Sonerila moluccana Roxb.
- พันซี Sonerila erecta Jack
- สาวน้ำตก Sonerila calophylla Ridl.
- สาวสวรรค์ Sonerila helferi C.B. Clarke
สกุลอื่น ๆ[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Angiosperm Phylogeny Group (2009), "An update of the Angiosperm Phylogeny Group classification for the orders and families of flowering plants: APG III", Botanical Journal of the Linnean Society, 161 (2): 105–121, doi:10.1111/j.1095-8339.2009.00996.x, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 พฤษภาคม 2017, สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2010
- ↑ "เอนอ้า, สกุล". สารานุกรมพืชในประเทศไทย. กลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช. 1 กุมภาพันธ์ 2561.
- ↑ "เคลง, สกุล". สารานุกรมพืชในประเทศไทย. กลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช. 26 สิงหาคม 2559.
- ↑ "ก้ามกุ้ง, สกุล". สารานุกรมพืชในประเทศไทย. กลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช. 30 พฤษภาคม 2559.
บรรณานุกรม[แก้]
- ก่องกานดา ชยามฤต. ลักษณะประจำวงศ์พรรณไม้. กรุงเทพมหานคร : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, 2548. ISBN 974-415-175-7.
- "Melastomataceae, ITIS 27683". ITIS Report. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 สิงหาคม 2006.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ วงศ์โคลงเคลง

วิกิสปีชีส์มีข้อมูลภาษาอังกฤษเกี่ยวกับ Melastomataceae
- Penneys, D S; Michelangeli, F A; Judd, W S; Almeda, F (1 มกราคม 2010). "Henrietteeae (Melastomataceae): A New Neotropical Berry-Fruited Tribe". Systematic Botany. 35 (4): 783–800. doi:10.1600/036364410x539862. JSTOR 40985555.