ข้ามไปเนื้อหา

ภาษามาปูเช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Mapuche language)
ภาษามาปูเช
Mapudungun, Chilidúgu,[1] Chedungun
ประเทศที่มีการพูดชิลี, อาร์เจนตินา
ชาติพันธุ์1,718,000 ชาวมาปูเช[2]
จำนวนผู้พูด260,000  (2007)[2]
ตระกูลภาษา
อาเรากานิอา
  • ภาษามาปูเช
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการกัลบาริโน (ชิลี)[3]
ปาเดรลัสกาซัส (ชิลี)
เตมูโก (ชิลี)
รหัสภาษา
ISO 639-2arn
ISO 639-3arn
พื้นที่หลักของประชากรมาปูช ณ ปี

สีส้ม: พื้นที่ชนบทที่ชาวมาปูเชอาศัย; เข้ม: พื้นที่เมืองที่ชาวมาปูเชอาศัย; ขาว: กลุ่มคนที่ไม่ใช่ชาวมาปูเช

Surfaces of circles are adjusted to 40 inhabitants/km2.
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษามาปูเช (สเปน: Mapuche) หรือ ภาษามาปูดังกัน (Mapudungun อาจสะกดว่า Mapuzugun และ Mapudungu) เป็นภาษาในกลุ่มภาษาอาเรากานิอา ที่เกี่ยวข้องกับภาษาอุยล์ลิเช พูดในภาคใต้ตอนกลางของ ประเทศชิลี และภาคกลางตะวันตกของประเทศอาร์เจนตินา โดยชาวมาปูเช แต่เดิมเรียกว่า ภาษาอาเรากานิอา (Araucanian)[4] ซึ่งเป็นชื่อที่ชาวสเปนตั้งให้กับชาวมาปูเช แต่ชาวมาปูเชหลีกเลี่ยงที่จะเรียกชื่อนี้เนื่องจากถือเป็นส่วนหนึ่งของลัทธิล่าอาณานิคมของสเปน

ภาษามมาปูดังกันไม่ใช่ภาษาทางการของประเทศชิลีและอาร์เจนตินา โดยแทบไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเลยตลอดประวัติศาสตร์[5] อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ ค.ศ. 2013 ภาษามาปูเชและภาษาสเปนได้รับการให้สถานะเป็นภาษาทางการจากรัฐบาลท้องถิ่นของเมืองกัลบาริโน[6] ภาษานี้ไม่ได้ใช้เป็นภาษาในการเรียนการสอนในระบบการศึกษาของทั้งสองประเทศ แม้ว่ารัฐบาลชิลีจะมุ่งมั่นที่จะให้การเข้าถึงการศึกษาอย่างเต็มที่ในพื้นที่ของชาวมาปูเชในชิลีตอนใต้ก็ตาม มีการถกเถียงทางการเมืองอย่างต่อเนื่องว่าควรใช้ตัวอักษรใดเป็นตัวอักษรมาตรฐานในการเขียนภาษานี้

อ้างอิง

[แก้]
  1. Bernardo de Havestadt (1777). "Cancionero Chilidungu" (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 9 December 2024.
  2. 2.0 2.1 ภาษามาปูเช ที่ Ethnologue (24th ed., 2021) Closed access
  3. "Galvarino es la primera comuna de Chile en establecer el mapudungún como su idioma oficial". Radio Bío-Bío (ภาษาสเปน). 7 August 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 September 2015. สืบค้นเมื่อ 21 September 2015.
  4. Heggarty, P.; Beresford-Jones, D. (2013). "Andes: linguistic history.". ใน Ness, I.; P., Bellwood (บ.ก.). The Encyclopedia of Global Human Migration. Oxford: Wiley-Blackwell. pp. 401–409.
  5. Sadowsky et al. (2013).
  6. "Chile agrees to official status for Mapudungun language at the local level". Nationalia. 2014-06-30. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-10-22. สืบค้นเมื่อ 2023-07-26.