คิตตีจีวายเอ็ม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Kitty GYM)
คิตตีจีวายเอ็ม
รู้จักในชื่อGYM
ที่เกิดญี่ปุ่น
แนวเพลงป็อป
ช่วงปี2006
ค่ายเพลงจอห์นนีและสหาย
อดีตสมาชิก

คิตตีจีวายเอ็ม (อังกฤษ: Kitty GYM) เป็นวงชั่วคราวที่ก่อตั้งใน ค.ศ. 2006 เพื่อสนับสนุนวอลเลย์บอลเวิลด์กรังด์ปรีซ์ 2006[1] สมาชิกในกลุ่มได้แก่โทโมฮิซะ ยามาชิตะจากวงนิวส์ กอล์ฟ-ไมค์ คู่ป็อปจากไทย และสมาชิกวงคิตตี (ฮิโรมิตสึ คาตายามะ, เค อิโนโอะ, โชตะ ทตสึกะ และฮิการุ ยาโอโตเมะ) ของจอห์นนีส์จูเนียร์ ชื่อกลุ่มมาจากตัวอักษรแรกของนามสกุลสมาชิก และนามแฝงของสมาชิกชาวไทย

ในวันที่ 18 กรกฎาคม ค.ศ. 2006 จีวายเอ็ม (กอล์ฟ, ยามาชิตะ และไมค์) จัดงานที่เอ็นเอชเค ฮอลล์และแสดง "ฟีเวอร์ทูฟิวเจอร์" ครั้งแรก[2] โดยเพลงนี้ถูกใช้เป็นเพลงหลักในการถ่ายทอดสดวอลเลย์บอลเวิลด์กรังด์ปรีซ์ 2006 ของช่องฟูจิเทเลวิชัน[3]

วงนี้ปล่อยเพลงแค่อันเดียวคือ "ฟีเวอร์ทูฟิวเจอร์" ในวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 2006[4] ซึ่งรวมเพลงเดี่ยวโดยโทโมฮิซะ ยามาชิตะ และเพลงคู่โดยกอล์ฟ-ไมค์[5] ภายใต้ชื่อวง "จีวายเอ็ม" โดยติดท็อปในโอริคอนซิงเกิลชาร์ตในสัปดาห์ของวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2006.[6] ในเดือนเดียวกัน สมาคมอุตสาหกรรมบันทึกเสียงแห่งญี่ปุ่นได้ให้ใบรับรองแพลตตินัมสำหรับการขายเพลงไป 250,000 หน่วย[7] จากนั้นจึงขายมากกว่า 300,000 ฉบับ ทำให้เป็นซิงเกิลที่ขายดีที่สุดประจำปีในอันดับ 25 ของประเทศญี่ปุ่น[8] ซิงเกิลนี้เผยแพร่ในประเทศไทยเมื่อวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 2006 และไต้หวันในวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 2006[9]

นับตั้งแต่วันยุบวง สมาชิกทั้งหมดมีอาชีพทางดนตรีที่ดี โดยเค อิโนโอะกับฮิการุ ยาโอโตเมะเปิดตัวเป็นสมาชิกเฮย์! เซย์! จัมป์ใน ค.ศ. 2007[10] กอล์ฟ-ไมค์ยุบวงใน ค.ศ. 2010 และกลายเป็นนักร้องเดี่ยว ฮิโรมิตสึ คาตายามะเปิดตัวเป็นสมาชิกKis-My-Ft2ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2011[11] โทโมฮิซะ ยามาชิตะออกจากวงนิวส์ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2011 เพื่อไปทำอาชีพเดี่ยว[12] และโชตะ ทตสึกะเปิดตัวเป็นสมาชิกในวง A.B.C-Z ใน ค.ศ. 2012[13]

"ฟีเวอร์ทูฟิวเจอร์"[แก้]

"ฟีเวอร์ทูฟิวเจอร์"
ซิงเกิลโดยจีวายเอ็ม
ภาษาญี่ปุ่น
วางจำหน่าย30 สิงหาคม ค.ศ. 2006 (2006-08-30)
แนวเพลง
ความยาว19:12[14]
ค่ายเพลงจอห์นนีและสหาย
ผู้ประพันธ์เพลง
  • A to Z
  • H.U.B.
  • ชิง ทานิโมโตะ

"ฟีเวอร์ทูฟิวเจอร์" (Fever to Future) เป็นซิงเกิลของจีวายเอ็ม โดยเผยแพร่ในวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 2006 ผ่านจอห์นนีและสหาย[14] "ฟีเวอร์ทูฟิวเจอร์" แต่งโดย A to Z, H.U.B. และชิง ทานิโมโตะ และเรียบเรียงโดยนาโอยะ คูโรซาวะและชุนซูเกะ ยาบูกิ เป็นเพลงแดนซ์อัปเท็มโป[2]

แทร็ก[แก้]

ลำดับชื่อเพลงเนื้อเพลงทำนองยาว
1."ฟีเวอร์ทูฟิวเจอร์"
  • A to Z
  • H.U.B.
ชิง ทานิโมโตะ3:51
2."โฮกาโงะ บลูส์" (เดี่ยวของยามาชิตะ)โทโมฮิซะ ยามาชิตะยามาชิตะ4:05
3."รันฟอร์ยัวร์เลิฟ" (คู่ของกอล์ฟ-ไมค์)
  • Shusui
  • Stefan Åberg
  • Shusui
  • Åberg
3:51
4."มายแองเจิล"
  • ริตสึโกะ ยาโตะ
  • Zopp
  • Shusui
  • Axel Bellinder
  • Stefan Engblom
  • Per Lundberg
3:13
5."ฟีเวอร์ทูฟิวเจอร์" (เสียงดนตรี) ทานิโมโตะ3:52
ความยาวทั้งหมด:19:12
ลิมิเตดอิดิชัน
ลำดับชื่อเพลงเนื้อเพลงทำนองยาว
1."ฟีเวอร์ทูฟิวเจอร์"
  • A to Z
  • H.U.B.
ทานิโมโตะ3:51
2."โอกาโงะ บลูส์" (เดี่ยวของยามาชิตะ)ยามาชิตะยามาชิตะ4:05
3."รันฟอร์ยัวร์เลิฟ" (กอลฟ์-ไมค์)
  • Shusui
  • Åberg
  • Shusui
  • Åberg
3:51
ความยาวทั้งหมด:11:58
ลิมิเตดอิดิชัน – ดีวีดี
ลำดับชื่อเพลงยาว
1."ฟีเวอร์ทูฟิวเจอร์" (มิวสิกวิดีโอ) 
2."การจัดทำฟีเวอร์ทูฟิวเจอร์" 
3."การสัมภาษณ์พิเศษ" 
ความยาวทั้งหมด:20:00

อ้างอิง[แก้]

  1. "Archived copy" 「Kitty GYM」初登場…女子バレー世界一へ強力バックアップ (ภาษาญี่ปุ่น). Sports Hochi. July 19, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 23, 2007. สืบค้นเมื่อ December 8, 2018.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  2. 2.0 2.1 2.2 "Archived copy" アジアへ第一歩「GYM」…山下智久、初国際ユニット (ภาษาญี่ปุ่น). Sports Hochi. July 18, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 23, 2007. สืบค้นเมื่อ December 8, 2018.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  3. GYM、女子バレー・イメージソングで初登場首位! (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. August 30, 2006. สืบค้นเมื่อ December 8, 2018.
  4. 8/30発売の注目シングルは、山下智久の期間限定ユニット!. Oricon Style (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. August 28, 2006. สืบค้นเมื่อ January 4, 2008.
  5. 話題のユニット“GYM”やレンジなど、本日発売! CDリリース情報 (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. August 30, 2006. สืบค้นเมื่อ December 8, 2018.
  6. 週間 シングルランキング 2006年09月11日付 (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. September 11, 2006. สืบค้นเมื่อ December 8, 2018.
  7. "The Record No.563" (PDF). The Record (Bulletin) (ภาษาญี่ปุ่น). Recording Industry Association of Japan. 563: 18. 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 7, 2018. สืบค้นเมื่อ December 8, 2018.
  8. 年間 シングルランキング 2006年度 21~30位 (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. 2006. สืบค้นเมื่อ December 8, 2018.
  9. "Archived copy" Kitty GYM「たくさんの観客にドキドキ」 (ภาษาญี่ปุ่น). Sports Hochi. August 19, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 9, 2006. สืบค้นเมื่อ December 8, 2018.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  10. Hey!Say!JUMP、初登場1位デビュー!史上初の親子でデビュー作1位に (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. November 20, 2007. สืบค้นเมื่อ December 8, 2018.
  11. キスマイ デビュー曲いきなり海外進出! (ภาษาญี่ปุ่น). Sports Nippon. June 24, 2011. สืบค้นเมื่อ December 8, 2018.
  12. 山P、錦戸が「NEWS」脱退! (ภาษาญี่ปุ่น). Sports Nippon. October 7, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 16, 2011. สืบค้นเมื่อ December 8, 2018.
  13. 【オリコン】A.B.C-Z、デビューDVDが総合首位 ~史上初の快挙 (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. February 8, 2012. สืบค้นเมื่อ December 8, 2018.
  14. 14.0 14.1 GGYM 「フィーバーとフューチャー」 (ภาษาญี่ปุ่น). Johnny's Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-12. สืบค้นเมื่อ December 8, 2018.