Eumillipes
Eumillipes | |
---|---|
![]() | |
กิ้งกือเพศเมียซึ่งมี 330 ปล้องและ 1,306 ขา | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ ![]() | |
อาณาจักร: | สัตว์ |
ไฟลัม: | สัตว์ขาปล้อง |
ชั้น: | Diplopoda |
อันดับ: | Polyzoniida |
วงศ์: | Siphonotidae |
สกุล: | Eumillipes Marek, 2021[1] |
ชนิดต้นแบบ | |
|
Eumillipes เป็นสกุลของกิ้งกือในวงศ์ Siphonotidae ประกอบด้วยสปีชีส์เดียวคือ E. persephone พบในพื้นที่อีสเทิร์นโกลด์ฟิลด์ทางตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐออสเตรเลียตะวันตก สายพันธุ์นี้ถูกเก็บรวบรวมครั้งแรกในปี พ.ศ. 2563 โดยถูกค้นพบในหลุมเจาะสามหลุม โดยอาศัยอยู่ที่ความลึกระหว่าง 15 เมตร (49 ฟุต) ถึง 60 เมตร (200 ฟุต)[1]
ศัพท์มูลวิทยา[แก้]
ชื่อสกุล Eumillipes หมายถึง "กิ้งกือแท้" (หรือ "หนึ่งพันเท้าแท้") บ่งถึงมีขามากกว่า 1,000 ขา, ชื่อสายพันธุ์ persephone หมายถึงเทพธิดากรีกเปอร์เซฟอนี (กรีก: Περσεφόνη) ซึ่งเป็นราชินีแห่งยมโลก เพื่ออ้างอิงถึงการใช้ชีวิตใต้ดิน[1][2][3]
คำอธิบาย[แก้]
ได้รับการอธิบายครั้งแรกในปี พ.ศ. 2564 กิ้งกือชนิดนี้มีความยาวสูงสุดได้ถึง 95 มิลลิเมตร (3.7 นิ้ว) และมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร (0.39 นิ้ว) โดยมีส่วนลำตัว 198 ถึง 330 ปล้อง และมีขามากถึง 1,306 ขา ทำให้เป็นสายพันธุ์ที่มีขามากที่สุดในโลก และเป็นกิ้งกือชนิดแรกที่พบว่ามีมากกว่า 1,000 ขาขึ้นไป[1][4]
มีลำตัวที่ยาวมากและส่วนหัวรูปกรวย มีหนวดหนาและใหญ่ผิดปกติ มันยังไร้ดวงตาอีกด้วย เนื่องจากวิถีชีวิตใต้ดินทำให้ไม่ต้องการดวงตา[4] เปลือกภายนอกมีสีครีมอ่อน ไม่มีจุดสีคล้ำ มีแถบตามยาวและตามขวาง เช่นเดียวกับในสายพันธุ์ที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ส่วนแคปซูลหัวมีขนาดเล็กรูปกรวยเรียวยาวไปยังส่วนจมูก โปรโซไนต์และเมตาโซไนต์ของวงปล้องมีความกว้างเท่ากัน โปรโซไนต์ไม่แคบเหมือนในอันดับ Siphonophorida วงปล้องเรียบไม่มีโครงสร้างบนชั้นผิวหรือขนยาวเหมือนในอันดับ Siphonophorida ส่วนกระหม่อมมีขนยาวสองชุด หนวดมีความหนาและมีขนาดที่เท่ากัน ระหว่างหนวดคู่ที่ 3, 4 ไม่โค้งงออย่างมากเหมือนในวงศ์ Siphonorhinidae (อันดับ Siphonophorida) แผ่นปาก (gnathochilarium) ลดลงเหลือสามแผ่นแข็ง (sclerites): คาง (mentum), ส่วนยื่นจากขากรรไกร (stipe) ซ้ายและขวา ช่องเปิดโอโซปอร์ (ozopore) ตั้งอยู่ห่างจากขอบด้านข้างของแผ่นแข็งด้านบน (tergite) อยู่สองในสามของระยะห่างจากเส้นกึ่งกลางจากด้านข้างถึงขอบของ tergite ปล้องหาง (telson) มีวงแหวนรอบลิ้นปิดเปิดทวาร เล็บจากฐานของปล้องทาร์ซัส (tarsus) มีลักษณะยาวโค้งรูปตัวเอสซึ่งทำให้ความยาวของเล็บนั้นเพิ่มขึ้น[1]
รูปร่างที่ยาว, ขาจำนวนมาก และสภาพไม่มีตา มีลักษณะวิวัฒนาการเบนเข้าร่วมกับกิ้งกือ Illacme plenipes และสายพันธุ์ที่เกี่ยวข้องที่พบในสหรัฐ ซึ่งมีการบันทึกว่ามีขามากถึง 750 ขา[1][2][5] เชื่อกันว่าขาจำนวนมากจะช่วยในการเคลื่อนตัวในที่อยู่อาศัยใต้ดิน ทำให้สามารถเคลื่อนตัวเข้าไปในรอยแยกเล็ก ๆ ได้[4]
มีความแตกต่างจากสมาชิกส่วนใหญ่ของอันดับ Polyzoniida โดยมีรูปร่างที่ยาวและบาง เนื่องจากสมาชิกของอันดับนั้นมักจะมีขนาดที่สั้นกว่า มีขาน้อยกว่าและลำตัวรูปร่างโดมที่แบนกว่า การรวมไว้ในลำดับนี้เกิดจากการวิเคราะห์ลำดับจีโนมซึ่งระบุว่ามีบรรพบุรุษร่วมกัน[4]
ไม่ทราบรายละเอียดของอาหารและการดำรงชีวิต แต่คาดว่าอาจกินเห็ดราที่เติบโตบนรากของต้นไม้[4]
อนุกรมวิธาน[แก้]
สายพันธุ์นี้ได้รับการอธิบายครั้งแรกในปี พ.ศ. 2564 โดยนักสัตววิทยาชาวอเมริกัน พอล มาเร็ก (Paul Marek) จากสถาบันโพลีเทคนิคและมหาวิทยาลัยแห่งรัฐเวอร์จิเนีย ที่เมืองแบล็กสเบิร์ก รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา) สายพันธุ์ Eumillipes persephone ถูกกำหนดไว้ในสกุล Eumillipes ที่ตั้งขึ้นใหม่ และรวมอยู่ในวงศ์ Siphonotidae (ในอันดับ Polyzoniida) สกุลนี้ที่แตกต่างจากสกุลอื่น ๆ ของวงศ์ Siphonotidae ในลักษณะดังต่อไปนี้: อวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้บริเวณส่วนหน้าของลำตัว (anterior gonopods) มีการดัดแปรอย่างมากโดยมีการเชื่อมต่อโปโดเมีย (podomere) ข้อที่ 3–4 และไม่เหมือนขาในจำพวกของเผ่า Siphonotini ส่วนปลายของอวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้ (บริเวณขาคู่ที่ 9) เป็นส่วนยื่นแยกสองทางอย่างชัดเจน ไม่ใช่ส่วนยื่นเดียวเหมือนกับในสกุล Rhinotus และ Siphonoconus[1][6]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 Marek, Paul E.; Buzatto, Bruno A.; Shear, William A.; Means, Jackson C.; Black, Dennis G.; Harvey, Mark S.; Rodriguez, Juanita (16 ธันวาคม 2021). "The first true millipede – 1,306 legs long". Scientific Reports. 11 (1): 23126. doi:10.1038/s41598-021-02447-0.
- ↑ 2.0 2.1 Preston, Elizabeth (16 ธันวาคม 2021). "At last, a true millipede that actually has 1,000&nbdp;legs or more". The New York Times.
- ↑ "Millipede with more legs than any known animal discovered in Australia". BBC News. BBC. 16 ธันวาคม 2021.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 "We have a new world record holder. Introducing the first millipede with more than 1,000 legs - ABC News". amp.abc.net.au (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2021.
- ↑ Lu, Donna (16 ธันวาคม 2021). "The first true millipede: New species with more than 1,000 legs discovered in Western Australia". The Guardian (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Shear, William A. (10 กุมภาพันธ์ 2016). "Redescription of the South African millipede Cylichnogaster lawrencei Verhoeff, 1937 and notes on the family Siphonotidae (Diplopoda, Polyzoniida)". Zootaxa. 4079 (1): 119–128. doi:10.11646/zootaxa.4079.1.8.
บรรณานุกรม[แก้]
- Black, D. G. (1994). A taxonomic revision of the Australian Siphonotidae (Diplopoda: Polyzoniida) (Dissertation). University of California, Davis.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: Eumillipes persephone |
- "Tausendfüßer bricht Beinrekord - Forscher entdecken weltweit ersten Tausendfüßer mit mehr als tausend Beinen" [Millipede breaks leg record - researchers discover the world's first millipede with more than a thousand legs], scinexx.de, 17 ธันวาคม 2021 (ในภาษาเยอรมัน)