ข้ามไปเนื้อหา

การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Electroconvulsive therapy)
การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า
หัตถการและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ICD-10-PCSGZB
ICD-9-CM94.27
MeSHD004565
OPS-301 code:8-630
MedlinePlus007474

การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า (อังกฤษ: electroconvulsive therapy; ย่อ: ECT) เดิมเรียก การช็อกไฟฟ้า เป็นการรักษามาตรฐานทางจิตเวชศาสตร์ซึ่งเหนี่ยวนำให้ผู้ป่วยชักด้วยไฟฟ้าเพื่อการแก้การเจ็บป่วยทางจิตเวช ปกติ ECT ใช้เป็นการรักษาวิธีสุดท้ายสำหรับโรคซึมเศร้า จิตเภท อาการฟุ้งพล่านและอาการเคลื่อนไหวน้อยหรือมากเกิน[1] แนวปฏิบัติปกติของ ECT เกี่ยวข้องกับการบริหารหลายครั้ง ตรงแบบให้สองหรือสามครั้งต่อสัปดาห์กระทั่งผู้ป่วยไม่มีอาการทรมานอีก จิตประสาทแพทย์ชาวอิตาลี อูโก แชร์เลตติและลูซิโอ บีนี เป็นผู้ริเริ่มใน ค.ศ. 1938 และได้รับความนิยมเป็นรูปแบบการรักษาในบรรดาจิตแพทย์ในคริสต์ทศวรรษ 1940 และ 1950[2][3]

ในบันเทิงคดีตะวันตก มักเล่ากระบวนการดังกล่าวว่าเจ็บปวด แต่ในประเทศตะวันตก จะให้ ECT ภายใต้ยาระงับความรู้สึกกับยาคลายกล้ามเนื้อ[4]

ราว 70% ของผู้ป่วย ECT เป็นหญิง อาจเป็นเพราะหญิงมีความเสี่ยงซึมเศร้าเป็นสองเท่าของชาย[5][6][7] แม้มีการวิจัยปริมาณมาก แต่กลไกฤทธิ์ที่แน่ชัดของ ECT ยังยากจะอธิบาย และ ECT ที่สำเร็จปกติจะตามด้วยการรักษาด้วยยาเสมอ การให้ (ในสหราชอาณาจักร) มักให้สองข้าง ซึ่งกระแสไฟฟ้าจะผ่านข้ามสมองทั้งก้อน วิธีนี้ดูเหมือนมีประสิทธิภาพสูงกว่า แต่มีความเสี่ยงความจำเสื่อมเพิ่มขึ้นด้วย ส่วนการให้ข้างเดียว จะมีประสิทธิภาพน้อยกว่า แต่มีความเสี่ยงความจำเสื่อมน้อยกว่า[8][9] องค์การอนามัยโลกใน ค.ศ. 2005 แนะนำว่า วิธีดังกล่าวควรใช้เมื่อมีคำยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรของผู้ป่วยหรือผู้แทน โดยมียาระงับความรู้สึกและยาคล้ายกล้ามเนื้อเพียงพอ และห้ามใช้กับเด็ก[10] จิตแพทย์และวิชาชีพสุขภาพจิตอื่นเห็นต่างกันว่าควรใช้ ECT เมื่อใดและควรใช้เป็นการรักษาขั้นแรกหรือไม่ หรือ ECT ควรสงวนไว้กับผู้ป่วยที่ไม่สนองต่อการรักษาแบบอื่น เช่น ยาและจิตบำบัด[11] ECT ถูกมองว่าเป็นหนึ่งในทางเลือกการรักษาที่อันตรายน้อยที่สุดซึ่งมีอยู่สำหรับหญิงมีครรภ์ซึ่งซึมเศร้ารุนแรง[12]

การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้ามีความแตกต่างในการใช้สามทาง คือ การวางขั้วไฟฟ้า ความถี่ของการรักษาและรูปคลื่นไฟฟ้าของสิ่งเร้า การใช้ทั้งสามรูปแบบเหล่านี้สามารถต่างกันได้มากทั้งผลข้างเคียงร้าย และการทุเลาของอาการ หลังการรักษา ปกติการรักษาด้วยยาจะดำเนินต่อ และผู้ป่วยบางคนได้รับ ECT เรื่อย ๆ[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Scott AIF; และคณะ (2005). "The ECT Handbook Second Edition: The Third Report of the Royal College of Psychiatrists' Special Committee on ECT" (PDF). Royal College of Psychiatrists. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-08-10. สืบค้นเมื่อ 2008-07-26.
  2. Shorter, Eward (2007). A History of Electroconvulsive Treatment in Mental Illness. New Brunswick, NJ: Rutgers University Press. pp. 46–47. ISBN 978-0-8135-4169-3.
  3. Psychology Frontiers and Applications – Second Canadian Edition (Passer, Smith, Atkinson, Mitchell, Muir)
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-08. สืบค้นเมื่อ 2014-07-05.
  5. Rudorfer, MV, Henry, ME, Sackeim, HA (2003). "Electroconvulsive therapy". In A Tasman, J Kay, JA Lieberman (eds) Psychiatry, Second Edition. Chichester: John Wiley & Sons Ltd, 1865–1901.
  6. Reid WH, Keller S, Leatherman M, Mason M (January 1998). "ECT in Texas: 19 months of mandatory reporting". J Clin Psychiatry. 59 (1): 8–13. doi:10.4088/JCP.v59n0103. PMID 9491059.
  7. http://umm.edu/health/medical/reports/articles/depression
  8. Dr.Barnes, Richard. "Information on ECT". Royal College of Psychiatrists' Special Committee on ECT and related treatment. สืบค้นเมื่อ 3 November 2013.
  9. Read, J; Bentall, R (Oct–Dec 2010). "The effectiveness of electroconvulsive therapy: a literature review" (PDF). Epidemiologia e psichiatria sociale. 19 (4): 333–47. doi:10.1017/S1121189X00000671. PMID 21322506. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-24. สืบค้นเมื่อ 2014-07-05.
  10. World Health Organisation (2005). WHO Resource Book on Mental Health, Human Rights and Legislation. Geneva, 64.
  11. American Psychiatric Association; Committee on Electroconvulsive Therapy; Richard D. Weiner (chairperson); และคณะ (2001). The practice of electroconvulsive therapy: recommendations for treatment, training, and privileging (2nd ed.). Washington, DC: American Psychiatric Publishing. ISBN 978-0890422069.
  12. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-06. สืบค้นเมื่อ 2014-07-05.