ทวารกาธีศมนเทียร

พิกัด: 22°14′16.39″N 68°58′3.22″E / 22.2378861°N 68.9675611°E / 22.2378861; 68.9675611
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Dwarkadhish Temple)
ทวารกาธีศมนเทียร
ทวารกาธีศมนเทียรมองจากฆาฏบนแม่น้ำโคมตี
ศาสนา
ศาสนาศาสนาฮินดู
เทพพระกฤษณะ
เทศกาลกฤษณชนมาษฏมี
ที่ตั้ง
ที่ตั้งทวารกา
รัฐคุชราต
ประเทศอินเดีย
ทวารกาธีศมนเทียรตั้งอยู่ในรัฐคุชราต
ทวารกาธีศมนเทียร
ที่ตั้งในรัฐคุชราต
พิกัดภูมิศาสตร์22°14′16.39″N 68°58′3.22″E / 22.2378861°N 68.9675611°E / 22.2378861; 68.9675611
สถาปัตยกรรม
ประเภทมนเทียร
รูปแบบมารุ-คุรชร
เสร็จสมบูรณ์ศตวรรษที่ 15–16
เว็บไซต์
www.dwarkadhish.org

ทวารกาธีศมนเทียร (คุชราต: દ્વારકાધીશ મંદિર) หรือ ชคตมนเทียร (คุชราต: જગત મંદિર) เป็นโบสถ์พราหมณ์ (มนเทียร) บูชาพระกฤษณะ ตั้งอยู่ในทวารกา รัฐคุชราต ประเทศอินเดีย พระกฤษณะองค์ประธานของมนเทียรนี้บูชาในพระนามว่า ทวารกาธีศ (กษัตริย์แห่งทวารกา) ทวารกาเป็นหนึ่งในสี่จุดหมายของจารธัม เส้นทางจาริกแสวงบุญของฮินดู สิ่งปลูกสร้างหลักของมนเทียรมีความสูงห้าชั้น รองรับโดยเสา 72 ต้น เรียกว่า ชคตมนเทียร การศึกษาทางโบราณคดีพบว่าโบสถ์พราหมณ์หลังเดิมน่าจะสร้างขึ้นได้เก่าแก่ถึง 200 ปีก่อนคริสต์กาล[1][2][3] มนเทียรถูกสร้างขึ้นใหม่และขยับขยายในศตวรรษที่ 15-16 เป็นมนเทียรหลังที่ปรากฏในปัจจุบัน[4][5] ตามธรรมเนียมเชื่อว่ามนเทียรหลังเดิมสร้างขึ้นโดยพระวัชรนภา หลานของพระกฤษณะ โดยสร้างขึ้นบนหริคฤห์ (ที่ประทับของพระกฤษณะ) มนเเทียรหลังปัจจุบันนี้สร้างขึ้นด้วยสถาปัตยกรรมแบบมารุคุรชร

นักปราชญ์ฮินดูสมัยศตวรรษที่แปด อาทิศังกราจารย์ เคยจาริกแสวงบุญมาที่มนเทียแรแห่งนี้ นอกจากจะเป็นหนึ่งในสี่จารธัมแล้ว มนเทียรนี้ยังเป็นทิพยเทสัมของพระวิษณุ ลำดับที่ 98 บนอนุทวีปอินเดีย ตามที่ระบุไว้ในเอกสารศักดิ์สิทธิ์ ทิพยประพันธ์[6] มนเทียรตั้งอยู่ที่ความสูง 12.19 เมตร (40.0 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเล แปลนของมนเทียรประกอบด้วย ครรภคฤห์ (นิชมนเทียร หรือ หริคฤห์) และ อันตรละ ซึ่งเป็นโถงล้อมรอบ[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. S. R. Rao (1988). Marine Archaeology of Indian Ocean Countries. National Institute of Oceanography. pp. 18–25. ISBN 8190007408. The Kharoshti inscription in the first floor of Sabhamandapa of Dwarkadhish Temple is assignable to 200 BC. [...] Excavation was done by the veteran archaeologist H.D. Sankalia some twenty years ago on the western side of the present Jagat-Man- dir at Modern Dwarka and he declared that the present Dwarka was not earlier than about 200 BC.
  2. L. P. Vidyarthi (1974). Journal of Social Research,Volume 17. Council of Social and Cultural Research. p. 60. Inscription in brahmi found in the temple supports the fact of its construction during the Mauryan regime. Apart from this beginning, the pages of history of Dwarka and Dwarkadhish temple are full of accounts of its destruction and reconstruction in the last 2000 years.
  3. Alok Tripathi (2005). Remote Sensing And Archaeology. Sundeep Prakashan. p. 79. ISBN 8175741554. In 1963 H.D. Sankalia carried out an archaeological excavation.. at Dwarkadheesh temple at Dwarka to solve the problem. Archaeological evidences found in this excavation were only 2000 years old
  4. 1988, P. N. Chopra, Encyclopaedia of India, Volume 1, p. 114.
  5. Rao, Shikaripur Ranganath (1999). The lost city of Dvārakā. Aditya Prakashan. ISBN 978-8186471487.
  6. Bandyopadhyay 2014, p. 71.
  7. Paramāra 1996, p. 87.

บรรณานุกรม[แก้]