ดูราเซลล์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Duracell)
ดูราเซลล์ อิงก์.
ประเภทบริษัทสาขา
ก่อตั้งค.ศ. 1924; 100 ปีที่แล้ว (1924) (ในฐานะพี.อาร์. มัลลอรีคอมปานี)
ผู้ก่อตั้งซามูเอล รูเบน
ฟิลิป มัลลอรี
สำนักงานใหญ่เบเธล รัฐคอนเนตทิคัต สหรัฐ
เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์[1]
ผลิตภัณฑ์แบตเตอรีและและระบบไฟฟ้าอัจฉริยะ
รายได้2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค.ศ. 2015)
พนักงาน
2,700 คน
บริษัทแม่เบิร์กเชียร์แฮทาเวย์
บริษัทในเครือดูราเซลล์ (ยูเค) ลิมิเต็ด
ดูราเซลล์ไชนาลิมิเต็ด
ดูราเซลล์แบตเตอรีส์ เบ.เว.เบ.อา
ดูราเซลล์แบตเตอรีส์ลิมิเต็ด[2]
เว็บไซต์www.duracell.com

ดูราเซลล์ อิงก์. (อังกฤษ: Duracell Inc.) เป็นบริษัทผู้ผลิตสัญชาติอเมริกันของเบิร์กเชียร์แฮทาเวย์ ซึ่งผลิตแบตเตอรีและระบบพลังงานอัจฉริยะ บริษัทมีต้นกำเนิดใน ค.ศ. 1920 โดยผ่านผลงานของซามูเอล รูเบน และฟิลิป มัลลอรี รวมถึงการก่อตั้งพี.อาร์. มัลลอรีคอมปานี

ด้วยการควบรวมและซื้อกิจการหลายครั้ง ดูราเซลล์เข้ามาเป็นเจ้าของโดยกลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อผู้บริโภคพรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล (พีแอนด์จี) กระทั่งในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2014 พีแอนด์จีบรรลุข้อตกลงในการขายบริษัทให้แก่เบิร์กเชียร์แฮทาเวย์ผ่านการโอนหุ้น ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว เบิร์กเชียร์แฮทาเวย์ได้แลกเปลี่ยนหุ้นที่ถืออยู่ในพีแอนด์จีเพื่อเป็นเจ้าของธุรกิจดูราเซลล์[3]

ประวัติ[แก้]

ต้นกำเนิด[แก้]

ดูราเซลล์เกิดจากความร่วมมือของนักวิทยาศาสตร์ชื่อซามูเอล รูเบน และนักธุรกิจชื่อฟิลิป โรเจอส์ มัลลอรี ซึ่งพบกันในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920 พี.อาร์. มัลลอรีคอมปานี แห่งเบอร์ลิงตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐ ได้ย้ายสำนักงานใหญ่ไปที่อินเดียแนโพลิส รัฐอินดีแอนา ใน ค.ศ. 1924 โดยบริษัทได้ผลิตถ่านปรอทสำหรับอุปกรณ์ทางทหาร[4] ซึ่งเหนือกว่าถ่านคาร์บอนซิงค์ที่ใช้ในเกือบทุกการใช้งาน ส่วนใน ค.ศ. 1956 พี. อาร์. มัลลอรีแอนด์โค. ได้เข้าซื้อกิจการเจเนอรัลดรายแบตเตอรีส์, อิงก์. (GDB) โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่คลีฟแลนด์ รัฐโอไฮโอ เจเนอรัลดรายแบตเตอรีส์, อิงก์. เป็นผู้ผลิตถ่านคาร์บอนซิงค์รายใหญ่อันดับสามของสหรัฐ และผลิตถ่านปรอทภายใต้ใบอนุญาตจากพี.อาร์. มัลลอรี ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองและหลังสงครามจนกระทั่งเข้าซื้อกิจการใน ค.ศ. 1956[5] ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 โกดักได้เปิดตัวกล้องที่มีแฟลช การออกแบบดังกล่าวต้องการถ่านคาร์บอนซิงค์ขนาดใหม่ และถ่านขนาดสามเอได้รับการพัฒนา[4]

ไฟฉายดูราเซลล์นับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1980

ใน ค.ศ. 1964 คำว่า "ดูราเซลล์" ได้รับการนำมาใช้เป็นแบรนด์ จากความหมายของ "ถ่านที่ทนทาน" จนกระทั่งถึง ค.ศ. 1980 แบตเตอรียังมีแบรนด์มัลลอรีเปิดทาง

การพัฒนา[แก้]

พี.อาร์. มัลลอรี ถูกซื้อกิจการโดยดาร์ตอินดัสทรีส์ใน ค.ศ. 1978 ซึ่งรวมเข้ากับคราฟต์ใน ค.ศ. 1980 ส่วนบริษัทโคลเบิร์กคราวิสโรเบิตส์ได้ซื้อดูราเซลล์ใน ค.ศ. 1988 และนำบริษัทสู่การเป็นบริษัทมหาชนใน ค.ศ. 1989 โดยที่เดอะยิลเลตต์คอมปานีได้ซื้อกิจการมูลค่า 7 พันล้านดอลลาร์ใน ค.ศ. 1996[6]

ใน ค.ศ. 2005 บริษัทพรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล ได้ซื้อกิจการยิลเลตต์ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของดูราเซลล์ในราคา 57 พันล้านดอลลาร์[7]

ครั้นในเดือนกันยายน ค.ศ. 2011 ดูราเซลล์ และเพาเวอร์แมตเทคโนโลจีส์ ลิมิเต็ด ได้เริ่มต้นการร่วมทุนที่เรียกว่าดูราเซลล์เพาเวอร์แมต เพื่อผลิตเครื่องชาร์จไร้สายขนาดเล็กสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่รวมถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก โดยพรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล ถือหุ้น 55 เปอร์เซ็นต์ของหุ้นในกิจการร่วมค้า และเพาเวอร์แมต 45 เปอร์เซ็นต์[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. Coolidge, Alexander (March 1, 2016). "Duracell leaves P&G fold". Cincinnati. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 2, 2019. สืบค้นเมื่อ March 1, 2016.
  2. "Subsidiaries of the Registrant". www.sec.gov. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 May 2016. สืบค้นเมื่อ 12 February 2018.
  3. "P&G Completes Exchange of Duracell to Berkshire Hathaway". Business Wire. February 29, 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 1, 2016. สืบค้นเมื่อ February 29, 2016.
  4. 4.0 4.1 "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-30. สืบค้นเมื่อ 2011-12-05.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  5. Annual Report of P. R. Mallory for 1956
  6. Gilpin, Kenneth N. (September 13, 1996). "Gillette to Buy Duracell for $7 Billion". New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 7, 2016. สืบค้นเมื่อ March 2, 2016.
  7. "P&G to acquire Gillette for $57bn". BBC News. January 28, 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 27, 2017. สืบค้นเมื่อ March 3, 2016.
  8. Melanson, Donald (September 15, 2011). "Power mat and Duracell forming joint venture to 'globalize wireless charging'". Engadget. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 26, 2016. สืบค้นเมื่อ March 2, 2016.

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Hintz, Eric S., "Portable Power: Inventor Samuel Ruben and the Birth of Duracell," Technology and Culture, 50 (Jan. 2009), 24–57.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]