นกหัวขวานด่างแคระ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Dendrocopos canicapillus)
นกหัวขวานด่างแคระ
นกหัวขวานด่างแคระตัวเมีย (เบงกอลตะวันตก, อินเดีย)
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Piciformes
วงศ์: Picidae
สกุล: Dendrocopos
สปีชีส์: D.  canicapillus
ชื่อทวินาม
Dendrocopos canicapillus
(Blyth, 1845)
ชนิดย่อย
ชนิดย่อย[2]
  • D. c. aurantiiventris (Salvadori, 1868)
  • D. c. auritus (Eyton, 1845)
  • D. c. canicapillus (Blyth, 1845)
  • D. c. delacouri (Meyer de Schauensee, 1938)
  • D. c. doerriesi (Hargitt, 1881)
  • D. c. kaleensis (Swinhoe, 1863)
  • D. c. mitchellii (Malherbe, 1849)
  • D. c. nagamichii (La Touche, 1932)
  • D. c. obscurus (La Touche, 1921)
  • D. c. omissus (Rothschild, 1922)
  • D. c. scintilliceps (Swinhoe, 1863)
  • D. c. semicoronatus (Malherbe, 1849)
  • D. c. swinhoei (Hartert, 1910)
  • D. c. szetschuanensis (Rensch, 1924)
  • D. c. volzi (Stresemann, 1920)
ชื่อพ้อง[3]
ชื่อพ้อง
  • Dryobates semicoronatus Rensch, 1924
  • Picus canicapillus Blyth, 1845,
  • Yungipicus canicapillus (Blyth, 1845)

นกหัวขวานด่างแคระ (อังกฤษ: Grey-capped pygmy woodpecker, Grey-capped woodpecker; ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocopos canicapillus) เป็นนกขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกหัวขวาน (Picidae)

มีความยาวประมาณ 15 เซนติเมตร ด้านบนลำตัวสีดำมีแถบเป็นจุดสีขาว ด้านล่างลำตัวสีขาวลายดำ ด้านบนหัวสีเทา มีแถบสีดำคาดเหนือตา ตัวผู้มีแถบสีแดงเล็ก ๆ เหนือคิ้ว ซึ่งบางครั้งมองเห็นได้ยากมาก ไม่มีหงอน มีพฤติกรรมเวลาบินจะใช้กระพือบินสลับกับการร่อนกันไป ขณะบินจะส่งเสียงร้องดัง เวลาหากินจะใช้ปากเจาะเข้าไปในต้นไม้ทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่และตายแล้ว พร้อมกับใช้ลิ้นที่ยาวซึ่งมีน้ำลายเหนียวและหนามแหลมยื่นยาวออกไปแมลงและหนอน กินเป็นอาหาร วางไข่ครั้งละ 2-3 ฟอง มีพฤติกรรมหากินร่วมกับนกขนาดเล็กชนิดอื่น ๆ เช่น นกไต่ไม้, นกเฉี่ยวดง เรียกว่า "เบิร์ดเวฟ"

นกหัวขวานด่างแคระเป็นนกที่พบได้ในป่าทุกประเภท ตั้งแต่ที่ราบไปจนถึงระดับความสูงจากน้ำทะเล 1,830 เมตร โดยเฉพาะป่าโปร่ง พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่ภูฐาน, บังกลาเทศ, อินเดีย, เนปาล, บรูไน, กัมพูชา, อินโดนีเซีย, จีน, เกาหลี, รัสเซีย, เกาะไต้หวัน และเวียดนาม สำหรับในประเทศไทยจัดเป็นนกประจำถิ่น พบทั่วทุกภาค ยกเว้นภาคกลาง จึงสามารถแบ่งออกเป็นชนิดย่อยต่าง ๆ ได้มากถึง 15 ชนิด (ดูในตาราง)[2]

สำหรับในประเทศไทย นกที่พบทางภาคใต้จัดเป็นชนิดย่อย D. c. auritus ซึ่งมีสีเข้มกว่าชนิดย่อยหลัก D. c. canicapillus ที่พบได้ทั่วไปเล็กน้อย และขนหางคู่กลางมีลายจุดจางกว่ามาก ส่วนทางภาคตะวันออกจะสามารถพบชนิดย่อย D. c. delacouri ซึ่งมีสีจางและลายขีดที่อกไม่ชัดเจนเท่าอีก 2 ชนิดย่อยนั้น และตามกฎหมายจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง[3] [4] [5]

อ้างอิง[แก้]

  1. BirdLife International (2012). "Dendrocopos canicapillus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.1. สืบค้นเมื่อ 16 July 2012.
  2. 2.0 2.1 "Dendrocopos canicapillus". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
  3. 3.0 3.1 "นกหัวขวานด่างแคระ". คมชัดลึก.
  4. นกหัวขวานด่างแคระ[ลิงก์เสีย]
  5. สัตว์ป่าคุ้มครอง

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Dendrocopos canicapillus ที่วิกิสปีชีส์