Dabie bandavirus

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Dabie bandavirus
การจำแนกชนิดไวรัส แก้ไขการจำแนกนี้
ไม่ได้จัดลำดับ: ไวรัส
Realm: Riboviria
อาณาจักร: Orthornavirae
ไฟลัม: Negarnaviricota
ชั้น: Ellioviricetes
อันดับ: Bunyavirales
วงศ์: Phenuiviridae
สกุล: Bandavirus
สปีชีส์: Dabie bandavirus
ชื่อพ้อง[1]
  • SFTS virus
  • SFTS phlebovirus
  • Dabie mountain virus
  • SFTS bunyavirus
  • Huaiyangshan banyangvirus

Dabie bandavirus มีอีกชื่อว่า ไวรัส SFTS เป็นไวรัสที่เกิดจากเห็บในสกุล Bandavirus วงศ์ Phenuiviridae อันดับ Bunyavirales[2] สิ่งที่ทำให้เกิดโรคนี้มีชื่อว่า severe fever with thrombocytopenia syndrome (SFTS)[2] โดย SFTS เป็นโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ที่มีการระบุถึงครั้งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางของประเทศจีนใน ค.ศ. 2009 และขณะนี้ได้มีการค้นพบในญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เวียดนาม และไต้หวันใน ค.ศ. 2015 SFTS มีอัตราการเสียชีวิตที่ 12% และในบางพื้นที่เพิ่มขึ้นสูงถึงกว่า 30% อาการหลักของ SFTS ได้แก่ มีไข้ อาเจียน ท้องร่วง อวัยวะหลายส่วนล้มเหลว ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ เม็ดเลือดขาวต่ำ (จำนวนเม็ดเลือดขาวต่ำ) และระดับเอนไซม์ตับสูงขึ้น โรคนี้เกิดการระบาดอีกครั้งเกิดขึ้นที่ภาคตะวันออกของจีนในช่วงครึ่งแรกของ ค.ศ. 2020

ประวัติ[แก้]

ใน ค.ศ. 2009 Xue-jie Yu และเพื่อนร่วมงาน แยกไวรัส SFTS (SFTSV) จากเลือดผู้ป่วยโรค SFTS[2]

วิวัฒนาการ[แก้]

มีการระบุรูปแบบพันธุกรรมถึง 5 แบบ (A–E)[3]

ในบรรดา bunyaviruses ดูเหมือนว่าไวรัสชนิดนี้มีความใกล้ชิดกับ serogroup ของไวรัส Uukuniemi มากกว่ากลุ่มโรคไข้ริ้นฝอยทราย[2] ไวรัสนี้อยู่ใน serocomplex ของไวรัส Bhanja[4]

วิทยาการระบาด[แก้]

มีผู้พบไวรัสในมณฑลอานฮุย, มณฑลเหอหนาน, มณฑลหูเป่ย์, มณฑลเจียงซู, มณฑลเหลียวหนิง และมณฑลชานตง ไวรัส SFTS เกิดในพื้นที่ชนบทตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงพฤศจิกายน และกรณีส่วนใหญ่พบตั้งแต่เดือนเมษายนถึงกรกฎาคม[ต้องการอ้างอิง]

นอกจากนี้ ยังมีผู้พบไวรัสในเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น เวียดนาม และไต้หวัน[5][6][7]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ICTV Taxonomy history: Dabie bandavirus". International Committee on Taxonomy of Viruses (ICTV) (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 6 August 2020.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Yu XJ, Liang MF, Zhang SY, Liu Y, Li JD, Sun YL, และคณะ (April 2011). "Fever with thrombocytopenia associated with a novel bunyavirus in China". N. Engl. J. Med. 364 (16): 1523–32. doi:10.1056/NEJMoa1010095. PMC 3113718. PMID 21410387.
  3. Liu JW, Zhao L, Luo LM, Liu MM, Sun Y, Su X, Yu XJ (2016). "Molecular Evolution and Spatial Transmission of Severe Fever with Thrombocytopenia Syndrome Virus Based on Complete Genome Sequences". PLOS ONE. 11 (3): e0151677. Bibcode:2016PLoSO..1151677L. doi:10.1371/journal.pone.0151677. PMC 4801363. PMID 26999664.
  4. Matsuno K, Weisend C, Travassos da Rosa AP, Anzick SL, Dahlstrom E, Porcella SF, และคณะ (April 2013). "Characterization of the Bhanja serogroup viruses (Bunyaviridae): a novel species of the genus Phlebovirus and its relationship with other emerging tick-borne phleboviruses". J. Virol. 87 (7): 3719–28. doi:10.1128/JVI.02845-12. PMC 3624231. PMID 23325688.
  5. Tran XC, Yun Y, Van An L, Kim SH, Thao NT, Man PK, และคณะ (May 2019). "Endemic Severe Fever with Thrombocytopenia Syndrome, Vietnam". Emerging Infect. Dis. 25 (5): 1029–1031. doi:10.3201/eid2505.181463. PMC 6478219. PMID 31002059.
  6. Kim KH, Yi J, Kim G, Choi SJ, Jun KI, Kim NH, และคณะ (November 2013). "Severe fever with thrombocytopenia syndrome, South Korea, 2012". Emerging Infect. Dis. 19 (11): 1892–4. doi:10.3201/eid1911.130792. PMC 3837670. PMID 24206586.
  7. Takahashi T, Maeda K, Suzuki T, Ishido A, Shigeoka T, Tominaga T, และคณะ (March 2014). "The first identification and retrospective study of Severe Fever with Thrombocytopenia Syndrome in Japan". J. Infect. Dis. 209 (6): 816–27. doi:10.1093/infdis/jit603. PMC 7107388. PMID 24231186.