การจับลิ่มของเลือด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Coagulation)
The classical blood coagulation pathway[1]

การแข็งตัวของเลือด (อังกฤษ: coagulation) คือกระบวนการซึ่งทำให้เลือดกลายเป็นลิ่มเลือด เป็นกลไกสำคัญของการห้ามเลือด ทำให้เกล็ดเลือดจับกับไฟบรินกลายเป็นลิ่มเลือด อุดรอยรั่วของหลอดเลือด ทำให้เลือดไม่ไหลออกจากหลอดเลือด หากมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับกระบวนการนี้อาจทำให้เลือดไม่แข็งตัวอย่างที่ควรจะเป็น เกิดเลือดออกง่าย หรือเลือดแข็งตัวง่ายกว่าที่ควรจะเป็น เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือด

กระบวนการการแข็งตัวของเลือดเป็นกระบวนการที่มีการคงอยู่ในระบบพันธุกรรมสูงมาก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดมีกลไกการแข็งตัวของเลือดที่ได้รับการพัฒนาสูง กระบวนการนี้ประกอบขึ้นจากสองส่วนคือส่วนของเซลล์ (เกล็ดเลือด) และส่วนของโปรตีน (ปัจจัยการแข็งตัวของเลือด) ระบบการแข็งตัวของเลือดในมนุษย์ได้รับการศึกษาวิจัยอย่างมาก จึงเป็นที่เข้าใจมากที่สุด

กลไกการแข็งตัวของเลือดเริ่มต้นขึ้นแทบจะทันทีที่เกิดการบาดเจ็บต่อหลอดเลือด เกิดการเว้าแหว่งของผนังหลอดเลือด เมื่อเลือดได้สัมผัสกับโปรตีนที่อยู่นอกหลอดเลือด เช่น tissue factor ก็จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเกล็ดเลือดและไฟบริโนเจนซึ่งเป็นปัจจัยการแข็งตัวของเลือดตัวหนึ่ง เกล็ดเลือดจะมาจับที่จุดบาดเจ็บทันที เป็นกระบวนการห้ามเลือดขั้นปฐมภูมิ จากนั้นกระบวนการห้ามเลือดขั้นทุติยภูมิก็จะเริ่มขึ้นพร้อมๆ กัน โปรตีนต่างๆ ในเลือดที่รวมเรียกว่าปัจจัยการแข็งตัวของเลือดจะมีการกระตุ้นปฏิกิริยาอย่างเป็นลำดับและซับซ้อน จนสุดท้ายแล้วทำให้เกิดเส้นใยไฟบรินขึ้น ซึ่งจะเสริมความแข็งแรงของก้อนเกล็ดเลือดที่จับกันอยู่

ประวัติศาสตร์[แก้]

การเรียกชื่อ[แก้]

ที่ประชุมประจำปีของผู้เชี่ยวชาญเรื่องการแข็งตัวของเลือดได้ตกลงยอมรับการใช้ตัวเลขโรมันเป็นการตั้งชื่อสารในการแข็งตัวของเลือดตั้งแต่ ค.ศ. 1955 จากนั้นปี 1962 จึงยอมรับให้ใช้ตัวเลขในการตั้งชื่อสารปัจจัยแฟกเตอร์ 1-12 ที่ประชุมนี้ต่อมาได้กลายเป็นที่ประชุมนานาชาติว่าด้วยการเกิดลิ่มเลือดและการห้ามเลือด (International Committee on Thrombosis and Hemostasis, ICTH) จากนั้นการกำหนดชื่อด้วยตัวเลขถูกยกเลิกไปหลังจากมีการกำหนดชื่อแฟกเตอร์ 13 และเริ่มมีการตั้งชื่อโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือดในรูปแบบอื่น เช่น Fletcher Factor, Fitzgerald Factor, prekallikrein, hight-molecular-weight kininogen เป็นต้น

แฟกเตอร์ 3 และแฟกเตอร์ 4 ไม่มีอยู่ เนื่องจากไม่เคยมีใครพบ thromboplastin แต่กลายเป็นว่าขั้นตอนนี้ประกอบด้วยแฟกเตอร์อื่นๆ อีก 10 ตัว ส่วน accelerin ต่อมาก็พบว่าเป็นแฟกเตอร์ 5 รูปแอกทีฟ

อ้างอิง[แก้]

  1. Pallister CJ, Watson MS (2010). Haematology. Scion Publishing. pp. 336–347. ISBN 1-904842-39-9.