การปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Climate change denial)

การปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (อังกฤษ: climate change denial) หรือ การปฏิเสธปรากฏการณ์โลกร้อน (อังกฤษ: global warming denial) เป็นการปฏิเสธ การไม่ให้ความสำคัญ หรือการสงสัยอย่างไร้เหตุผล เรื่องมติส่วนใหญ่ของนักวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับอัตราและขอบเขตของปรากฏการณ์โลกร้อน ขอบเขตของปรากฏการณ์ที่มีเหตุมาจากมนุษย์ ผลกระทบของปรากฏการณ์ต่อธรรมชาติและสังคมมนุษย์ และโอกาสที่การกระทำของมนุษย์จะสามารถลดผลกระทบเหล่านั้น[1][2] ส่วน วิมตินิยมเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (อังกฤษ: Climate change skepticism) และการปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นเรื่องที่มีองค์คาบเกี่ยวกัน และมักจะมีคุณลักษณะคล้าย ๆ กัน กล่าวคือ ทั้งสองปฏิเสธมติปัจจุบันส่วนใหญ่ของนักวิทยาศาสตร์ไม่มากก็น้อย[3][4] การปฏิเสธสามารถทำโดยปริยาย คือเมื่อบุคคลหรือกลุ่มต่าง ๆ ทางสังคมยอมรับวิทยาศาสตร์ แต่หันไปสนใจเรื่องที่ง่าย ๆ กว่า แทนที่จะหาทางแก้ไข[5] มีงานศึกษาทางสังคมศาสตร์หลายงานที่วิเคราะห์จุดยืนต่าง ๆ เหล่านี้ว่าเป็นรูปแบบของ denialism (การเลือกที่จะปฏิเสธความจริง เพื่อหลีกเลี่ยงความจริงที่ทำให้ไม่สบายใจ)[6][7][8]

ในการโต้เถียงเรื่องปรากฏการณ์โลกร้อน มีการเรียกการรณรงค์เพื่อทำลายความเชื่อถือของมวลชนในวิทยาศาตร์ภูมิอากาศว่า "กลการปฏิเสธ" ของกลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มการเมือง และกลุ่มอุดมคติต่าง ๆ โดยได้การสนับสนุนจากสื่ออนุรักษ์นิยม และนักบล็อกวิมตินิยม เพื่อสร้างความไม่แน่ใจเกี่ยวกับปรากฏการณ์โลกร้อน[9][10] ในการอภิปรายของชาวตะวันตกในที่สาธารณะ คำเช่นว่า climate skepticism (วิมตินิยมเกี่ยวกับภูมิอากาศ) ใช้โดยความหมายเหมือนกับคำว่า climate denialism (ปฏิเสธนิยมเกี่ยวกับภูมิอากาศ)[11] ซึ่งเป็นป้ายชื่อที่ก็เป็นเรื่องโต้เถียงกัน มีผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศที่เรียกตัวเองว่า "นักวิมติยม" แต่ความจริงไม่ใช่วิมตินิยมเหมือนกับวิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์ คือ ไม่ว่าหลักฐานจะเป็นอย่างไรก็ดี ก็ยังคงปฏิเสธความเป็นจริงว่า มนุษย์เป็นเหตุของปรากฏการณ์โลกร้อน[3]

แม้ว่าจะมีมติส่วนใหญ่ของนักวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศว่า มนุษย์เป็นองค์ประกอบหลักที่ผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลง[12][13] การเมืองเกี่ยวกับปรากฏการณ์โลกร้อนได้รับอิทธิพลจากการปฏิเสธ ขัดขวางการพยายามเพื่อบรรเทาความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเพื่อปรับตัวให้อยู่ได้ในสภาพภูมิอากาศที่ร้อนขึ้น[14][15][16] โดยปกติแล้ว การอภิปรายสาธารณะที่ปฏิเสธการเปลี่ยนแปลง อาจจะดูเหมือนการอภิปรายที่เป็นธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ แต่ความจริงไม่เป็นไปตามหลักวิทยาศาสตร์[17][18]

การรณรงค์อย่างเป็นระบบเพื่อทำลายความเชื่อถือของมวลชนในวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศ มักจะมาจากกลุ่มที่นิยมนโยบายทางเศรษฐกิจแบบอนุรักษ์นิยม และกลุ่มอุตสาหกรรมที่ต่อต้านการควบคุมการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นแก๊สเรือนกระจก[19] การปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มาจากกลุ่มวิ่งเต้นเพื่อบริษัทน้ำมันและบริษัทผลิตไฟฟ้า จากพี่น้องอภิมหาเศรษฐีตระกูลคอช (สมบัติรวมกันมูลค่า 84,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) จากกลุ่มอุตสหากรรม และจากกลุ่มนักวิชาการอิสระเสรีนิยม บ่อยครั้งในประเทศสหรัฐอเมริกา[15][20][21][22] ระหว่างปี 2545-2553 มีการบริจาคเงินแบบนิรนามมูลค่าเกือบ 120 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3,592 ล้านบาท) บางส่วนจากอภิมหาเศรษฐี ให้กับองค์การกว่า 100 องค์กร ที่พยายามจะทำลายความเชื่อถือของมวลชนในวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ[23] ในปี 2556 ศูนย์เพื่อสื่อมวลชนและประชาธิปไตย (Center for Media and Democracy) ที่เป็นองค์กรควบคุมดูแลเชิงเสรีนิยม รายงานว่า กลุ่มเครือข่ายนโยบายระดับรัฐ (State Policy Network) ซึ่งเป็นกลุ่มครอบคลุมของกลุ่มวิชาการ 64 องค์กร ได้พยายามวิ่งเต้นเพื่อประโยชน์ของบริษัทยักษใหญ่และผู้บริจาคอนุรักษ์นิยม เพื่อต่อต้านกฎหมายควบคุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ[24]

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. National Center for Science Education 2010
  2. Powell 2012, pp. 170–173
  3. 3.0 3.1 Dunlap 2013, pp. 691–698
  4. Timmer 2014
  5. National Center for Science Education 2012
  6. "Timeline, Climate Change and its Naysayers". Newsweek. 2007-08-13.
  7. Christoff, Peter (2007-07-09). "Climate change is another grim tale to be treated with respect - Opinion". Melbourne: Theage.com.au. สืบค้นเมื่อ 2010-03-19.
  8. Connelly, Joel (2007-07-10). "Deniers of global warming harm us". Seattle Post-Intelligencer. สืบค้นเมื่อ 2009-12-25.
  9. Dunlap 2013, pp. 691–698
  10. Begley 2007
  11. Nerlich 2010, pp. 419, 437: "Climate scepticism in the sense of climate denialism or contrarianism is not a new phenomenon, but it has recently been very much in the media spotlight. …. Such disagreements are not new but the emails provided climate sceptics, in the sense of deniers or contrarians, with a golden opportunity to mount a sustained effort aimed at demonstrating the legitimacy of their views. This allowed them to question climate science and climate policies based on it and to promote political inaction and inertia. …. footnote 1. I shall use 'climate sceptics' here in the sense of 'climate deniers', although there are obvious differences between scepticism and denial (see Shermer, 2010; Kemp, et al., 2010). However, 'climate sceptic' and 'climate scepticism' were commonly used during the 'climategate' debate as meaning 'climate denier'."
  12. Oreskes, Naomi (2007). "The Scientific Consensus on Climate Change: How Do We Know We're Not Wrong?". ใน DiMento, Joseph F. C.; Doughman, Pamela M. (บ.ก.). Climate Change: What It Means for Us, Our Children, and Our Grandchildren. The MIT Press. pp. 65–66. ISBN 978-0-262-54193-0.
  13. "CLIMATE CHANGE 2014: Synthesis Report. Summary for Policymakers" (PDF). IPCC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-02-27. สืบค้นเมื่อ 2015-03-07. The evidence for human influence on the climate system has grown since the Fourth Assessment Report (AR4). It is extremely likely that more than half of the observed increase in global average surface temperature from 1951 to 2010 was caused by the anthropogenic increase in greenhouse gas concentrations and other anthropogenic forcings together
  14. Dunlap 2013
  15. 15.0 15.1 Jacques, Dunlap & Freeman 2008, p. 351: "Conservative think tanks...and their backers launched a full-scale counter-movement... We suggest that this counter-movement has been central to the reversal of US support for environmental protection, both domestically and internationally. Its major tactic has been disputing the seriousness of environmental problems and undermining environmental science by promoting what we term 'environmental scepticism.'"
  16. Painter & Ashe 2012
  17. Hoofnagle, Mark (2007-04-30). "Hello Science blogs (Welcome to Denialism blog)".
  18. Diethelm & McKee 2009
  19. Klein, Naomi (2011-11-09). "Capitalism vs. the Climate". The Nation. สืบค้นเมื่อ 2012-01-02.
  20. Dunlap 2013
  21. Michaels, David (2008). Doubt is Their Product: How Industry's Assault on Science Threatens Your Health. Oxford University Press. ISBN 0199719764.
  22. Hoggan, James; Littlemore, Richard (2009). Climate Cover-Up: The Crusade to Deny Global Warming. Vancouver: Greystone Books. ISBN 978-1-55365-485-8. สืบค้นเมื่อ 2010-03-19. See, e.g., p31 ff, describing industry-based advocacy strategies in the context of climate change denial, and p73 ff, describing involvement of free-market think tanks in climate-change denial.
  23. Goldenberg, Suzanne (2013-02-14). "Secret funding helped build vast network of climate denial thinktanks". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 2013-03-01.
  24. Pilkington, Ed (2013-11-14). "Facebook and Microsoft help fund rightwing lobby network, report finds". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2013-11-17.

บรรณานุกรม[แก้]