ข้ามไปเนื้อหา

Clearing the neighbourhood

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

"Clearing the neighbourhood around its orbit" เป็นหนึ่งในสามเกณฑ์จำเป็นสำหรับวัตถุท้องฟ้าที่จะพิจารณาให้เป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะตามนิยามปี พ.ศ. 2549 ที่นำมาใช้โดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (ไอเอยู)[1] ภายหลังในปี พ.ศ. 2558 มีการเสนอให้ขยายนิยามนี้ไปใช้กับดาวเคราะห์นอกระบบด้วย[2]

ในระยะสุดท้ายของการก่อตัวของดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์ (ตามนิยาม) จะต้อง "Clearing the neighbourhood" ในบริเวณวงโคจรของตัวเอง นั่นหมายความว่าดาวเคราะห์ดวงนั้นจะต้องมีความโน้มถ่วงที่เด่น และไม่มีวัตถุขนาดใกล้เคียงอื่นนอกจากดาวบริวารของตัวมันเองหรือวัตถุอื่นใดที่อยู่ภายใต้อิทธิพลความโน้มถ่วงของดาวเคราะห์ดวงนั้น วัตถุขนาดใหญ่ที่ตรงกับนิยามข้ออื่นยกเว้นข้อนี้จะจัดประเภทให้เป็นดาวเคราะห์แคระ รวมถึงดาวพลูโตที่ถูกจำกัดในวงโคจรด้วยความโน้มถ่วงจากดาวเนปจูน และมีวัตถุแถบไคเปอร์อื่นร่วมในวงโคจรด้วย นิยามของไอเอยูข้อนี้ไม่ผูกมัดกับตัวเลขหรือสมการเฉพาะ ใด แต่ทุกดาวเคราะห์ที่ไอเอยูรับรองจะต้องกวาดวัตถุอื่นในละแวกเดียวกันออกไปให้ได้มากกว่าดาวเคราะห์แคระดวงอื่น หรือวัตถุอื่นที่อาจเป็นดาวเคราะห์แคระ

วลีนี้เกิดขึ้นจากรายงานที่เสนอให้กับการประชุมสามัญของไอเอยูปี พ.ศ. 2543 โดยแอลัน สเทิร์นและแฮโรลด์ เอฟ. เลวิสัน นักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ ผู้จัดทำรายงานนี้ใช้วลีหลายวลีที่คล้ายคลึงกันขณะที่กำลังพัฒนาหลักการพื้นฐานตามทฤษฎีสำหรับชี้ว่าวัตถุหนึ่งที่โคจรรอบดาวฤกษ์นั้นจะมีละแวกเดียวกันที่ปลอดโล่งจากเศษดาวเคราะห์ บนพื้นฐานของมวลและคาบดาราคติของวัตถุนั้น[3] สตีเวน โซเทอร์เลือกที่จะใช้คำว่า "ความเด่นทางกลศาสตร์" (dynamical dominance) แทน[4] และฌ็อง-ลุก มาร์โกระบุว่าภาษาเช่นนั้น "ดูยากต่อการตีความผิด"[2]

ก่อนถึงปี พ.ศ. 2549 ไอเอยูไม่มีกฏเฉพาะในการตั้งชื่อดาวเคราะห์ เนื่องด้วยไม่มีการค้นพบดาวเคราะห์ดวงใหม่มานานนับทศวรรษแล้ว ขณะที่ไอเอยูมีกฏที่แน่นอนสำหรับการตั้งชื่อวัตถุขนาดเล็กอื่นที่ค้นพบใหม่ เช่น ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง กระบวนการตั้งชื่อแก่ดาวเอริสนั้นหยุดชะงักลงไปหลังการค้นพบในปี พ.ศ. 2548 ด้วยเหตุที่ขนาดของเอริสนั้นใกล้เคียงกับขนาดของดาวพลูโต ดังนั้นไอเอยูจึงสรรหาวิธีแก้ปัญหาการตั้งชื่อดาวเอริสด้วยการหานิยามที่เป็นระบบเพื่อจำแนกดาวเคราะห์ออกจากดาวเคราะห์น้อย

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "IAU 2006 General Assembly: Result of the IAU Resolution votes". IAU. 24 August 2006. สืบค้นเมื่อ 2009-10-23.
  2. 2.0 2.1 Margot, Jean-Luc (2015-10-15). "A Quantitative Criterion for Defining Planets". The Astronomical Journal. 150 (6): 185–191. arXiv:1507.06300. Bibcode:2015AJ....150..185M. doi:10.1088/0004-6256/150/6/185.
  3. Stern, S. Alan; Levison, Harold F. (2002). "Regarding the criteria for planethood and proposed planetary classification schemes" (PDF). Highlights of Astronomy. 12: 205–213, as presented at the XXIVth General Assembly of the IAU–2000 [Manchester, UK, 7–18 August 2000]. Bibcode:2002HiA....12..205S. doi:10.1017/S1539299600013289.
  4. Soter, Steven (2006-08-16). "What Is a Planet?". The Astronomical Journal. 132 (6): 2513–2519. arXiv:astro-ph/0608359. Bibcode:2006AJ....132.2513S. doi:10.1086/508861.