สถานีรถไฟกลางเจนไน
กลางเจนไน | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สถานีการรถไฟอินเดีย, สถานีรถไฟชานเมืองเจนไน | |||||||||
อาคารสถานีรถไฟกลางเจนไน | |||||||||
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||
ชื่ออื่น | เอ็มจีอาร์ เจนไนเซนทรอล, เจนไนเซนทรอล, มัทราสเซนทรอล | ||||||||
ที่ตั้ง | เจนไน รัฐทมิฬนาฑู India | ||||||||
พิกัด | 13°04′57″N 80°16′30″E / 13.0825°N 80.2750°E | ||||||||
ความสูง | 3.465 เมตร (11.37 ฟุต) | ||||||||
เจ้าของ | รัฐบาลอินเดีย | ||||||||
ผู้ให้บริการ | เขตการรถไฟใต้ การรถไฟอินเดีย | ||||||||
สาย | เจนไน–นิวเดลี เจนไน–หาวรา เจนไน–มุมไบ เจนไน–บังกาลอร์ | ||||||||
ชานชาลา | 17 (12 หลัก + 5 ชานเมืองเจนไน) | ||||||||
ทางวิ่ง | 17 | ||||||||
การเชื่อมต่อ | MTC, รถไฟชานเมือง, MRTS, รถไฟใต้ดิน | ||||||||
โครงสร้าง | |||||||||
ประเภทโครงสร้าง | โรมาเนสก์[1] | ||||||||
ที่จอดรถ | มี | ||||||||
ทางเข้าออกสำหรับผู้พิการ | |||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||
สถานะ | เปิด | ||||||||
รหัสสถานี | แม่แบบ:Indian railway code | ||||||||
ประวัติ | |||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | 1873[2] | ||||||||
สร้างใหม่ | 1959 1998 (second) | (first)||||||||
ติดตั้งระบบไฟฟ้า | 1931[3] | ||||||||
ชื่อเดิม |
| ||||||||
ผู้โดยสาร | |||||||||
6,50,000/วัน | |||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||
| |||||||||
|
สถานีรถไฟกลางเจนไน (อังกฤษ: Chennai Central) หรือชื่อทางการ สถานีรถไฟกลางปุรัฏจิ ตไลวรร ดร. เอ็ม จี รามัจจันติรัน (อังกฤษ: Puratchi Thalaivar Dr. M.G. Ramachandran Central Railway Station) หรือชื่อเดิม สถานีรถไฟกลางมัทราส (อังกฤษ: Madras Central) รหัสสถานี: MAS เป็นสถานีปลายทางหลักของนครเจนไน รัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย และเป็นสถานีรถไฟที่พลุกพล่านที่สุดในอินเดียใต้ รวมถึงเป็นแหล่งการเดินทางที่สำคัญของประเทศ สถานีนี้เชื่อมต่อกับสถานีมัวร์มาร์เก็ตคอมเพล็กซ์, สถานีรถไฟใต้ดินเจนไน, สถานีเจนไนปาร์ก และ สถานีเจนไนปาร์กตาวน์ สถานีตั้งอยู่ห่างไป 1.8 km (1.1 mi) จากสถานีเจนไนเอ็กมอร์ เที่ยวรถไฟที่ให้บริการจากสถานีมีให้บริการเชื่อมต่อไปยังอินเดียภูมิภาคอื่น ๆ รวมถึงโกลกาตา, มุมไบ และ นิวเดลี
อาคารสถานีรถไฟมีอายุกว่าหนึ่งร้อยปี ผลงานออกแบบโดยสถาปนิกจอร์จ ฮาร์ดดิง (George Harding) และเป็นหนึ่งในจุดหมายตาของเจนไน สถานีนี้ยังเป็นแหล่งรถไฟของระบบรถไฟชานเมืองเจนไน และตั้งอยู่ตรงข้ามกับอาคารสำนักงานใหญ่ของการรถไฟเขตใต้และอาคารริโปน
สถานีนี้เปลี่ยนชื่อสองครั้ง ครั้งแรกเปลี่ยนตามชื่อเมืองจากมัทราสเป็นเจนไนในปี 1998 และอีกครั้งเปลี่ยนชื่อตามผู้ก่อตั้ง AIADMK และอดีตผู้ว่าการรัฐทมิฬนาฑู เอ็มจี รามจันตรันในปี 2019[4]
สถานีมีผู้โดยสารใช้งานราว 550,000 คนต่อวัน ถือว่ามากที่สุดในอินเดียใต้ ทั้งสถานีนี้ สถานีเจนไนเอ็กมอร์ และ ชุมทางโคอิมบาทอร์ เป็นสถานีที่ทำกำไรมากที่สุดของการรถไฟเขตใต้[5]
สถานีนี้สร้างขึ้นในปี 1873 ในชื่อสถานีกลางมัทราส โดยสร้างขึ้นที่ปาร์กตาวน์ รอบเปริอาเม็ต[6] เป็นเป็นสถานีปลายทางรองเพื่อช่วยลดความหนาแน่นที่สถานีอ่าวโรยปุรัมซึ่งในเวลานั้นใช้งานสำหรับการขนย้ายสินค้าจากท่าเรือเจนไน สถานีได้รับสถานะสถานีหลักของการรถไฟมัทราสในปี 1907[7] และยิ่งมีความโดดเด่นขึ้นอีกหลังรถไฟสายชายทะเลเปิดให้บริการไกลออกไปในทางใต้ของอินเดียในปีเดียวกัน ส่วนสถานีโรยปุรัมไม่ได้ใช้งานเป็นสถานีปลายทางต่อ[8] รถไฟทุกขบวนสิ้นสุดที่สถานีกลางมัทราสแทน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ORIGIN AND DEVELOPMENT OF SOUTHERN RAILWAY" (PDF). Shodhganga. p. 6. สืบค้นเมื่อ 25 December 2013.
- ↑ "IR History: Early Days – I". IRFCA. สืบค้นเมื่อ 26 November 2012.
- ↑ "Electric Traction-I". IRFCA. สืบค้นเมื่อ 26 November 2012.
- ↑ M, Manikandan (5 April 2019). "Chennai Central railway station renamed after AIADMK founder MGR". Hindustan Times. สืบค้นเมื่อ 16 April 2019.
- ↑ "Southern Railway". Yatra.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 July 2012. สืบค้นเมื่อ 7 November 2012.
- ↑ Sriram, V. (23 February 2015). "A brief history of the General Hospital – a Chennai landmark". Madras Heritage and Carnatic Music. V. Sriram. สืบค้นเมื่อ 30 December 2022.
- ↑ Muthiah, S. (6 May 2012). "Integrating transport". The Hindu. Chennai. สืบค้นเมื่อ 3 November 2012.
- ↑ "The South's first station". The Hindu. Chennai. 26 February 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 July 2003. สืบค้นเมื่อ 12 November 2012.