บราซิเลีย

พิกัด: 15°47′38″S 47°52′58″W / 15.79389°S 47.88278°W / -15.79389; -47.88278
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Brasília)
บราซิเลีย

Brasília
สถานที่ต่าง ๆ ในบราซิเลีย
ธงของบราซิเลีย
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของบราซิเลีย
ตรา
สมญา: 
Capital Federal, BSB, Capital da Esperança
คำขวัญ: 
"Venturis ventis" (ละติน)
"สายลมแห่งอนาคต"
แผนที่
แผนที่แบบโต้ตอบ
บราซิเลียตั้งอยู่ในบราซิล
บราซิเลีย
บราซิเลีย
ที่ตั้งในประเทศบราซิล
บราซิเลียตั้งอยู่ในทวีปอเมริกาใต้
บราซิเลีย
บราซิเลีย
ที่ตั้งในทวีปอเมริกาใต้
พิกัด: 15°47′38″S 47°52′58″W / 15.79389°S 47.88278°W / -15.79389; -47.88278
ประเทศ บราซิล
ภูมิภาคกลาง-ตะวันตก
หน่วยสหพันธ์ เขตสหพันธ์
ก่อตั้ง21 เมษายน ค.ศ. 1960
พื้นที่
 • เขตสหพันธ์5,802 ตร.กม. (2,240.164 ตร.ไมล์)
ความสูง1,172 เมตร (3,845 ฟุต)
ประชากร
 (ค.ศ. 2017)[1][2]
 • เขตสหพันธ์2,817,381 คน
 • อันดับที่ 3
 • ความหนาแน่น489.06 คน/ตร.กม. (1,266.7 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล3,548,438 คน
 ประชากรรวมปริมณฑล คือรวมเทศบาลใกล้เคียง 12 แห่งในรัฐโกยาช[3]
เดมะนิมBrasiliense
จีดีพี
 • ปีประมาณการ ค.ศ. 2015
 • ทั้งหมด65.338 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ที่ 8)
 • ต่อหัว21,779 ดอลลาร์สหรัฐ (ที่ 1)
เขตเวลาUTC−03:00 (เวลาบราซิเลีย)
รหัสไปรษณีย์70000-000
รหัสพื้นที่+55 61
เอชดีไอ (ค.ศ. 2010)0.824 – สูงมาก[4]
เว็บไซต์brasilia.df.gov.br
(ในภาษาโปรตุเกส)
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนบราซิเลีย
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์i, iv
ขึ้นเมื่อค.ศ. 1987 (คณะกรรมการสมัยที่ 11)
เลขอ้างอิง445
ภูมิภาคลาตินอเมริกาและแคริบเบียน

บราซิเลีย[5] (โปรตุเกส: Brasília) เป็นเมืองหลวงของประเทศบราซิล ได้รับการก่อตั้งเป็นเมืองหลวงใน ค.ศ. 1960 ก่อนหน้านี้เมืองหลวงของประเทศได้แก่ ซัลวาดอร์ (ค.ศ. 1549–1763) และรีโอเดจาเนโร (ค.ศ. 1763–1960) เมืองนี้ได้รับการวางแผนผังเมืองเป็นอย่างดี เช่นเดียวกับวอชิงตัน ดี.ซี. ของสหรัฐอเมริกา และแคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย ชื่อบราซิเลียมาจากภาษาละตินแปลว่า "บราซิล"

นครรีโอเดจาเนโรเคยเป็นเมืองหลวงของประเทศบราซิลนานเกือบ 3 ศตวรรษ พื้นที่ติดชายฝั่งทะเลนี้ได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ แต่ด้วยอาณาเขตที่อยู่ห่างไกลสุดขอบแผ่นดิน ทำให้รัฐบาลมีความคิดที่จะย้ายเมืองหลวงขยับเข้าไปใจกลางแผ่นดินมากขึ้น เพื่อกระจายความเจริญให้ทั่วถึงและป้องกันการโจมตีทางทะเลจากชาติต่าง ๆ เช่น โปรตุเกส ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ แผนการที่วางไว้ คือการทำให้บราซิเลียซึ่งตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของฝั่งตะวันตก กลายเป็นศูนย์กลางของที่ทำการรัฐบาล แผนการสร้างเมืองหลวงใหม่ได้รับการเสนอขึ้นมาตั้งแต่ ค.ศ. 1823 และในที่สุด พื้นที่ 14,400 ตารางกิโลเมตรนี้ก็ได้กลายเป็นสถานที่ก่อสร้างเมืองหลวงแห่งใหม่ที่ชื่อว่า "บราซิเลีย" ใน ค.ศ. 1956 รัฐบาลได้จัดการแข่งขันออกแบบผังเมืองใหม่และใช้ผังเมืองที่ชนะการแข่งขันเป็นต้นแบบในการก่อสร้าง ประธานาธิบดี ฌูเซลีนู กูบีแชก (Juscelino Kubitschek) ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้นำประเทศในขณะนั้น ต้องการสร้างเมืองใหม่ให้แล้วเสร็จในขณะที่อยู่ยังในตำแหน่ง ทำให้การก่อสร้างเป็นไปอย่างเร่งรีบโดยใช้เวลาเพียง 3 ปีครึ่ง รัฐบาลได้สถาปนากรุงบราซิเลียเป็นเมืองหลวงอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 21 เมษายน ค.ศ. 1960 แม้ว่าการก่อสร้างจะยังเสร็จไม่สมบูรณ์ก็ตาม

บราซิเลียเป็นที่ตั้งของรัฐสภาและที่ทำการสำคัญของรัฐบาล นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของหลายบริษัท เมืองแห่งนี้มีนโยบายผังเมืองที่ชัดเจน มีพื้นที่เฉพาะซึ่งจำกัดไว้สำหรับสิ่งปลูกสร้างเกือบทุกชนิด อาทิ มีการจัดพื้นที่การสำหรับให้ประชาชนสร้างอาคารที่อยู่อาศัยบริเวณรอบ ๆ เขตเมือง สร้างศูนย์กลางความเจริญไว้ติดกับถนนใหญ่ มีพื้นที่สำหรับสร้างโรงแรมและที่พักแบ่งเป็นตอนเหนือและตอนใต้ เมื่อมองจากด้านบน ผังเมืองของกรุงบราซิเลียจะมีลักษณะคล้ายเครื่องบินหรือผีเสื้อ ปัจจุบันกรุงบราซิเลียมีประชากรมากกว่า 2,550,000 คน ซึ่งเป็นจำนวนที่มากกว่าที่ประมาณการไว้ กรุงบราซิเลียเดิมซึ่งได้รับการออกแบบให้เป็นที่ทำการของรัฐจึงกลายมาเป็นที่อยู่อาศัยของผู้อพยพจำนวนมากจากตอนเหนือของประเทศ

อ้างอิง[แก้]

  1. "Distrito Federal - Panorama". cidades.ibge.gov.br. IBGE. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2017. สืบค้นเมื่อ 21 November 2023.
  2. "PDAD 2018 - Destaques" (PDF). www.codeplan.df.gov.br. Instituto de Pesquisa e Estatística do Distrito Federal (IPEDF Codeplan). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 5 October 2022. สืบค้นเมื่อ 21 November 2023.
  3. "Área Metropolitana de Brasília". Atlas do Distrito Federal (ภาษาโปรตุเกสแบบบราซิล). Instituto de Pesquisa e Estatística do Distrito Federal (IPEDF). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 November 2023. สืบค้นเมื่อ 21 November 2023. A Área metropolitana de Brasília (AMB) foi definida pela Codeplan na Nota Técnica n° 01/2014. A AMB é formada pelo Distrito Federal e sua periferia metropolitana, constituída por 12 municípios circunvizinhos (também integrantes da Ride-DF) que possuem fluxos e relações de natureza metropolitana com o Distrito Federal.
  4. "ranking idhm 2010" (PDF). United Nations Development Programme (UNDP). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ July 8, 2014. สืบค้นเมื่อ August 1, 2013.
  5. "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]