ข้ามไปเนื้อหา

เบเนดิกต์แห่งเนอร์เซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Benedict of Nursia)
นักบุญเบเนดิกต์แห่งเนอร์เซีย
“นักบุญเบเนดิกต์แห่งเนอร์เซีย”
โดย โจวันนี เบลลีนี
อธิการอาราม
เกิดราว ค.ศ. 480
เนอร์เซีย ในประเทศอิตาลี
เสียชีวิตราว ค.ศ. 547
มอนเตกัสซีโน ในประเทศอิตาลี
นิกายโรมันคาทอลิก

แองกลิคัน
ลูเทอแรน

อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์
เป็นนักบุญค.ศ. 1220
โดย สมเด็จพระสันตะปาปาโฮโนริอุสที่ 3
วันฉลอง11 กรกฎาคม (ตะวันตก)
14 มีนาคม ไบเซ็นไทน์
สัญลักษณ์กระดิ่ง, ถ้วยแตก, ถ้วยแตกและงู, ถ้วยชามแตก, พุ่มไม้, คทา และอื่นๆ
องค์อุปถัมภ์นักพรตคณะเบเนดิกติน นักเรียน ผู้รับใช้ ผู้ทำถ้วยชามแตก

นักบุญเบเนดิกต์แห่งเนอร์เซีย (อังกฤษ: Benedict of Nursia; อิตาลี: Benedetto da Norcia) เป็นนักบุญในศาสนาคริสต์ เกิดราว ค.ศ. 480 ที่เมืองเนอร์เซีย ในประเทศอิตาลี และเสียชีวิตเมื่อราว ค.ศ. 547 ที่มอนเตกัสซีโนในประเทศอิตาลีเช่นกัน นักบุญเบเนดิกต์[1]เป็นผู้ก่อตั้งชีวิตอารามวาสีแบบคณะเบเนดิกติน และเป็นผู้เขียนวินัยของนักบุญเบเนดิกต์สำหรับเป็นกฎปฏิบัติของนักบวชในอารามในคณะเบเนดิกติน ซึ่งเป็นกฎที่ตั้งต้นด้วย “พระเยซู ... จะนำเราทั้งหมดด้วยกันไปสู่นิรันด์กาล”[2] เบเนดิกตินได้รับการสถาปนาให้เป็นนักบุญในปี ค.ศ. 1220

นักบุญเบเนดิกต์ก่อตั้งชุมนุมนักพรตถึงสิบสองอาราม อารามที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดคืออารามมอนเตกัสซีโนบนเนินเขาในทัสเคนีไม่ไกลจากเซียนา แต่ไม่มีหลักฐานสนับสนุนว่านักบุญเบเนดิกต์ตั้งใจจะก่อตั้งคณะนักบวชคาทอลิกขึ้นมาโดยตรง คณะเบเนดิกตินเป็นคำที่มาใช้กันในภายหลังที่ใช้เรียกชุมนุมนักบวชที่ถือวินัยเบเนดิกติน นอกจากนั้นคำว่า “คณะ” (Order) ที่เข้าใจก็หมายความเพียงว่าเป็นชุมนุมของนักบวชที่เป็นอิสระจากชุมนุมชนอื่น[3]

ความสำเร็จสูงสุดของคณะเบเนดิกตินคือ “วินัยนักบวช” ที่เป็นกฎบัตรสำหรับนักบวชที่ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากข้อเขียนของนักบุญจอห์น คาสเซียน (John Cassian) และมีความคล้ายคลึงกับ “Rule of the Master” ที่เขียนโดยผู้ไม่ทราบนามในคริสต์ศตวรรษที่ 6 แต่ก็มีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ในทางสมดุลทางจิตใจ, ความพอประมาณ และความมีเหตุมีผล (επιεικεια, “'epieikeia”) ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นแรงดึงดูดที่ทำให้เกิดการก่อตั้งอารามคณะเบเนดิกตินไปทั่วยุโรปในสมัยกลาง ซึ่งทำให้กฎของคณะเบเนดิกตินเป็นหนึ่งในกฎบัตรของคริสต์ศาสนาในคริสตจักรตะวันตก ฉะนั้นนักบุญเบเนดิกต์จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้วางรากฐานของอารามของคริสตจักรตะวันตก

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 142
  2. RB 72.12
  3. Called into existence by Pope Leo XIII's Apostolic Brief "Summum semper", 12 July 1893, see OSB-International website เก็บถาวร 2013-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

ดูเพิ่ม

[แก้]