ระบบสนธิสัญญาแอนตาร์กติก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Antarctic Treaty)
สนธิสัญญาแอนตาร์กติก
ระบบสนธิสัญญาแอนตาร์กติก
Antarctic Treaty System (อังกฤษ)
Système du Traité sur l'Antarctique (ฝรั่งเศส)
Систе́ма Догово́ра об Анта́рктике (รัสเซีย)
Sistema del Tratado Antártico (สเปน)
ธงสนธิสัญญาแอนตาร์กติก
ประเภทอำนาจปกครองดินแดนร่วมกัน
วันลงนาม1 ธันวาคม 2502[1]
ที่ลงนามวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐ
วันมีผล23 มิถุนายน 2504
เงื่อนไขประเทศผู้ลงนามทั้ง 12 ประเทศให้สัตยาบัน
ผู้ลงนาม12[2]
ภาคี53[2]
ผู้เก็บรักษารัฐบาลสหรัฐ[2]
ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย และสเปน
Antarctic Treaty ที่ วิกิซอร์ซ
แผนที่สถานีวิจัยและการอ้างสิทธิ์ในดินแดนในทวีปแอนตาร์กติกา (2002)
  ฝ่ายที่มีสถานะที่ปรึกษาอ้างสิทธิ์ในดินแดนแอนตาร์กติก
  ฝ่ายที่มีสถานะที่ปรึกษาสงวนสิทธิ์ในการเรียกร้องอาณาเขต
  ฝ่ายอื่น ๆ ที่มีสถานะเป็นที่ปรึกษา
  ฝ่ายที่ไม่มีสถานะที่ปรึกษา
  ฝ่ายที่ไม่ใช่ชาติสมาชิกสหประชาชาติและผู้สังเกตการณ์

สนธิสัญญาแอนตาร์กติกและความตกลงที่เกี่ยวข้อง รวมเรียก ระบบสนธิสัญญาแอนตาร์กติก (อังกฤษ: Antarctic Treaty System, ย่อ: ATS) วางระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับทวีปแอนตาร์กติกา สำหรับวัตถุประสงค์ของระบบสนธิสัญญาฯ มีการนิยาม "แอนตาร์กติกา" ว่าหมายถึงแผ่นดินและหิ้งน้ำแข็งทั้งหมดที่อยู่ใต้ละติจูด 60°ใต้ สนธิสัญญาฯ มีผลใช้บังคับในปี 2504 และปัจจุบันมีภาคี 53 ประเทศ[2] สนธิสัญญาฯ กันทวีปแอนตาร์กติกาไว้เพื่อการอนุรักษ์ทางวิทยาศาสตร์ จัดตั้งเสรีภาพการสืบสวนทางวิทยาศาสตร์และห้ามกิจกรรมทางทหารบนทวีป สนธิสัญญาฯ เป็นความตกลงควบคุมอาวุธความตกลงแรกซึ่งจัดตั้งขึ้นระหว่างสงครามเย็น นับแต่เดือนกันยายน 2547 สำนักงานใหญ่เลขาธิการสนธิสัญญาแอนตาร์กติกตั้งอยู่ในกรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา[3]

สนธิสัญญาหลักเปิดให้ลงนามเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2502[1] และมีผลใช้บังคับอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2504[4] ผู้ลงนามดั้งเดิมเป็น 12 ประเทศซึ่งมีกิจกรรมในทวีปแอนตาร์กติการะหว่างปีธรณีฟิสิกส์สากล 2500–2501 สิบสองประเทศซึ่งมีผลประโยชน์สำคัญในทวีปแอนตาร์กติกาในเวลานั้น ได้แก่ ประเทศอาร์เจนตินา ออสเตรเลีย เบลเยียม ชิลี ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ แอฟริกาใต้ สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักรและสหรัฐ[1] ประเทศเหล่านี้ตั้งสถานีในทวีปแอนตาร์กติกากว่า 50 สถานีสำหรับปีธรณีฟิสิกส์สากล

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "Antarctic Treaty" in The New Encyclopædia Britannica. Chicago: Encyclopædia Britannica Inc., 15th edn., 1992, Vol. 1, p. 439.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "The Antarctic Treaty" (PDF). United States Department of State. 2012-03-01. สืบค้นเมื่อ 2014-03-12.
  3. "ATS.aq". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-15. สืบค้นเมื่อ 2017-12-17.
  4. "Information about the Antarctic Treaty and how Antarctica is governed". Polar Conservation Organisation. December 28, 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-08. สืบค้นเมื่อ February 6, 2011.