ปลาฉลามนางฟ้า
ปลาฉลามนางฟ้า ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 161–0Ma[1] อ็อกฟอร์เดียน ถึง ปัจจุบัน | |
---|---|
ปลาฉลามนางฟ้าธรรมดา (Squatina squatina) ที่เกาะเตเนรีเฟ ในหมู่เกาะคานารี | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Chondrichthyes |
ชั้นย่อย: | Elasmobranchii |
อันดับใหญ่: | Selachimorpha |
อันดับ: | Squatiniformes Buen, 1926 |
วงศ์: | Squatinidae Bonaparte, 1838 |
สกุล: | Squatina Duméril, 1806 |
ชนิดต้นแบบ | |
Squalus squatina Linnaeus, 1758 | |
ชนิด | |
|
ปลาฉลามนางฟ้า (อังกฤษ: Angel shark) ปลากระดูกอ่อนทะเลจำพวกปลาฉลาม จัดอยู่ในอันดับ Squatiniformes วงศ์ Squatinidae [2]
ปลาฉลามนางฟ้า เป็นปลาฉลามที่มีลำตัวแบนราบคล้ายกับปลากระเบน แต่ไม่มีครีบก้น[3] เป็นปลาที่พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในทะเลเขตร้อน สามารถพบได้ในทะเลลึกถึง 1,300 เมตร (4,300 ฟุต)[4]
ปลาฉลามนางฟ้า เป็นปลาที่หากินตามพื้นทะเลทั้งพื้นทรายหรือพื้นโคลน โดยหาอาหารกินคล้ายกับปลากระเบน หรือปลาฉนาก ซึ่งเป็นปลากระดูกอ่อนเช่นเดียวกัน แต่ต่างอันดับและวงศ์กันออกไป อาหารได้แก่ ปลาขนาดเล็ก, หอย หรือครัสเตเชียน
ปลาฉลามนางฟ้า มีความยาวประมาณ 1.5-2 เมตร เป็นปลาที่ออกลูกเป็นไข่ซึ่งไข่นั้นจะพัฒนาในช่องท้องของปลาตัวเมียจนคลอดออกมาเป็นตัวคราวละ 13 ตัว ลูกปลาจะได้รับอาหารจากไข่แดงที่อยู่ในฟองไข่
การจำแนก
[แก้]มีเพียงสกุลเดียว คือ Squatina แบ่งออกได้เป็นชนิดต่าง ๆ คือ[2]
- Squatina aculeata Cuvier, 1829 (ปลาฉลามนางฟ้าหลังเลื่อย)
- Squatina africana Regan, 1908 (ปลาฉลามนางฟ้าแอฟริกัน)
- Squatina albipunctata Last & W. T. White, 2008 (ปลาฉลามนางฟ้าตะวันออก)
- Squatina argentina (Marini, 1930) (ปลาฉลามนางฟ้าอาร์เจนไตน์)
- Squatina armata (Philippi {Krumweide}, 1887) (ปลาฉลามนางฟ้าชิลี)
- Squatina australis Regan, 1906 (ปลาฉลามนางฟ้าออสเตรเลีย)
- Squatina caillieti J. H. Walsh, Ebert & Compagno, 2011
- Squatina californica Ayres, 1859 (ปลาฉลามนางฟ้าแปซิฟิค)
- Squatina dumeril Lesueur, 1818 (ปลาฉลามนางฟ้าปีศาจทราย)
- Squatina formosa S. C. Shen & W. H. Ting, 1972 (ปลาฉลามนางฟ้าไต้หวัน)
- Squatina guggenheim Marini, 1936 (ปลาฉนามนางฟ้าแองกูลาร์)
- Squatina heteroptera Castro-Aguirre, Espinoza-Pérez & Huidobro-Campos, 2007 (ปลาฉลามนางฟ้าอ่าว)
- Squatina japonica Bleeker, 1858 (ปลาฉลามนางฟ้่าญี่ปุ่น)
- Squatina legnota Last & W. T. White, 2008 (ปลาฉลามนางฟ้าอินโดนีเซีย)
- Squatina mexicana Castro-Aguirre, Espinoza-Pérez & Huidobro-Campos, 2007 (ปลาฉลามนางฟ้าเม็กซิกัน)
- Squatina nebulosa Regan, 1906 (ปลาฉลามนางฟ้าลายเมฆ)
- Squatina occulta Vooren & K. G. da Silva, 1992 (ปลาฉลามนางฟ้่าหลบซ่อน)
- Squatina oculata Bonaparte, 1840 (ปลาฉลามนางฟ้าหลังเรียบ)
- Squatina pseudocellata Last & W. T. White, 2008 (ปลาฉลามนางฟ้าตะวันตก)
- Squatina punctata Marini, 1936
- Squatina squatina (Linnaeus, 1758) (ปลาฉลามนางฟ้าธรรมดา)
- Squatina tergocellata McCulloch, 1914 (ปลาฉลามนางฟ้าออร์เน็ท)
- Squatina tergocellatoides J. S. T. F. Chen, 1963 (ปลาฉลามนางฟ้าอ็อคเซเล็ท)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Bourdon, J. (2009). Genera from the Fossil Record: Squatina. The Life and Times of Long Dead Sharks. Retrieved on July 8, 2009.
- ↑ 2.0 2.1 จาก itis.gov
- ↑ ฉลามนางฟ้า จากสยามเอ็นซิส
- ↑ Stevens, J. & Last, P.R. (1998). Paxton, J.R. & Eschmeyer, W.N., ed. Encyclopedia of Fishes. San Diego: Academic Press. pp. 64–65. ISBN 0-12-547665-5.
- ↑ จาก fishbase.org