แอนด์ดิดโดสฟีทอินแอนเชียนท์ไทม์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก And did those feet in ancient time)
แอนด์ดิดโดสฟีทอินแอนเชียนท์ไทม์
And did those feet in ancient time
คำนำของ มิลทัน ในฉบับสีของเบลค

เพลงชาติของ อังกฤษ อย่างไม่เป็นทางการ
ชื่ออื่นเจรูซาเลม (Jerusalem)
เนื้อร้องวิลเลียม เบลค, 1804
ทำนองฮิวเบิร์ท พารี, 1916

"แอนด์ดิดโดสฟีทอินแอนเชียนไทม์" (อังกฤษ: And did those feet in ancient time) เป็นบทกลอนโดยวิลเลียม เบลค จากส่วนนำ (preface) ของมหากาพย์ มิลทัน: อะพอเอิมอินทูว์บุคส์ หนึ่งในผลงานรวบรวมงานเขียนของเบลคในชุดหนังสือพระเยซู บนหน้าปกระบุปี 1804 ซึ่งน่าจะเป็นวันเริ่มลงเพลท ในขณะที่ตัวบทกวีตีพิมพ์จริงในราวปี 1808[1] ในปัจจุบันบทกวีนี้เป็นที่รู้จักดีในฐานะเพลงสวด (hymn) ชื่อ "เจรูซาเลม" (Jerusalem) ซึ่งทำนองประพันธ์โดยเซอร์ ฮิวเบิร์ท พารีในปี 1916 และเป็นที่รู้จักในฐานะเพลงชาติอย่างไม่เป็นทางการของประเทศอังกฤษ

เป็นที่ชัดเจนว่าบทกลอนนั้นได้รับแรงบันดาลใจจากเรื่องเล่าขานว่าครั้งหนึ่งพระเยซูขณะทรงพระเยาว์ได้เดินทางกับจอเซฟแห่งอาริเมเธีย พ่อค้าดีบุก มายังสถานที่ที่ซึ่งปัจจุบันคือประเทศอังกฤษ และได้เดินทางไปยังกลาสเทินบรีระหว่างช่วงปีที่หายไปจากประวัติของพระองค์[2] นักวิชาการส่วนใหญ่ปฏิเสธเรื่องราวส่วนนี้ว่าเคยเกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์ นักวิชาการด้านคติพื้นถิ่นและตำนานชาวอังกฤษ เอ. ดับเบิลยู. สมิธ (A. W. Smith) ระบุว่า "มีเหตุผลน้อยมากที่จะเชื่อว่าธรรมเนียมมุขปาฐะเกี่ยวกับการเดินทางมายังดินแดนอังกฤษของพระเยซูมีปรากฏมาก่อนต้นศตวรรษที่ยี่สิบ"[3] ธีมของบทกวีนั้นเขื่อมโยงกับหนังสือวิวรณ์ (วิวรณ์ 3:12 และ 21:2) ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวของการเสด็จกลับมาอีกครั้ง ที่ซึ่งพระเยซูทรงสร้างเยรูซาเลมใหม่ คริสตจักรต่าง ๆ โดยเฉพาะคริสตจักรอังกฤษใช้คำว่าเยรูซาเลม เป็นอุปลักษณ์ถึงสวรรค์ สถานที่แห่งความรักและสันติภาพสากล มาโดยตลอด[a]

การแปลความบทกวีรูปแบบที่พบมากที่สุดเชื่อว่าเบลกต้องการจะสื่อว่าการเสด็จของพระเยซูกลับมาอีกครั้งจะทรงสร้างสวรรค์ขึ้นในดินแดนอังกฤษเพื่อให้แย้งกับ "กังหันมืดมนอันชั่วร้าย" (dark Satanic Mills) อันเป็นอุปลักษณ์แทนการปฏิวัติอุตสาหกรรมและการทำลายธรรมชาติที่เกิดขึ้นตามมา[4] ลักษณะของการดำเนินบทกลอนของเบลคมีไปในแนวการถามคำถามสี่คำถามมากกว่าที่จะยืนยันการเสด็จของพระเยซูมาดินแดงอังกฤษในอดีต บทกลอนจึงมีลักษณะเหมือนถามส่าจะมีการเสด็จเยือนของพระองค์ที่ซึ่งจะมีสวรรค์บังเกิดขึ้นในอังกฤษหรือไม่[5][6] ส่วนบท (verse) ที่สองของกลอนมีการตีความทั่วไปว่าเป็นการเรียกขานให้เกิดสังคมในอุดมคติขึ้นในอังกฤษ ไม่ว่าจะมีการเสด็จมาของพระองค์หรือไม่[7][8]

เนื้อความ[แก้]

บทกลอนฉบับดั้งเดิมปรากฏใน Milton, a Poem ของเบลค ตามหลังท่อนที่เริ่มด้วย "The Stolen and Perverted Writings of Homer & Ovid: of Plato & Cicero, which all Men ought to contemn: ..."[9]

Blake's poem

And did those feet in ancient time,
Walk upon Englands[b] mountains green:
And was the holy Lamb of God,
On Englands pleasant pastures seen!

And did the Countenance Divine,
Shine forth upon our clouded hills?
And was Jerusalem builded here,
Among these dark Satanic Mills?

Bring me my Bow of burning gold:
Bring me my Arrows of desire:
Bring me my Spear: O clouds unfold:
Bring me my Chariot of fire!

I will not cease from Mental Fight,
Nor shall my Sword sleep in my hand:
Till we have built Jerusalem,
In Englands green & pleasant Land.

ใต้บทกลอนนี้ เบลคได้ระบุบทหนึ่งจากพระคัมภีร์ว่า:[10]

"Would to God that all the Lords[c] people were Prophets"
Numbers XI. Ch 29.v[9]

ในฐานะเพลงชาติ[แก้]

หลังได้ทรงฟังฉบับออร์เคสตราของเพลงนี้เป็นครั้งแรก กษัตริย์จอร์จที่ห้าได้ตรัสว่าทรงโปรด "เจรูซาเลม" มากกว่าเพลงชาติอังกฤษ "กอดเซฟเดอะคิง" เพลง "เจรูซาเลม" ถือกะนว่าเป็นเพลงชาตินิยมที่นิยมที่สุดในอังกฤษ เดอะนิวยอร์กไทมส์ ระบุว่า "เพลงนี้กลายเป็นเพลงชาติทดแทนอย่างรวดเร็ว"[11] รวมถึงเคยมีการเรียกร้องแก่รัฐบาลให้นำเพลงนี้ขึ้นใช้เป็นเพลงชาติอังกฤษแทน[12] เรื่องจากประเทศอังกฤษไม่มีเพลงชาติอย่างเป็นทางการ และเลือกใช้เพลงชาติของบริเตน "กอดเซฟเดอะควีน" แทนในบางโอกาสเช่นการแข่งขันกีฬาฟุตบอล โดยที่เพลงนี้ก็ไม่เป็นเพลงชาติทางการเช่นกัน ในขณะที่บางกีฬาเช่นรักบี้และอย่างเป็นทางการในคริกเก็ตเลือกใช้ "เจรูซาเลม" เป็นเพลงชาติ[13]

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. The hymn 'Jerusalem the Golden with milk and honey blessed... I know not oh I know not what joys await me there....' uses Jerusalem for the same metaphor.
  2. Blake wrote Englands here, and twice later, where we would use the genitive England's
  3. Blake wrote Lords where we would use the modern genitive Lord's

อ้างอิง[แก้]

  1. Cox, Michael, editor, The Concise Oxford Chronology of English Literature, "1808", p 289, Oxford University Press, 2004, ISBN 0-19-860634-6
  2. Icons – a portrait of England. Icon: Jerusalem (hymn) Feature: And did those feet? เก็บถาวร 12 ธันวาคม 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Accessed 7 August 2008
  3. Smith, A. W. (1989). "'And Did Those Feet...?': The 'Legend' of Christ's Visit to Britain". Folklore. Taylor and Francis. 100 (1): 63–83. doi:10.1080/0015587X.1989.9715752. JSTOR 1260001.
  4. Lienhard, John H. 1999 Poets in the Industrial Revolution. The Engines of Our Ingenuity No. 1413: (Revised transcription)
  5. "The One Show". BBC. 17 October 2008. สืบค้นเมื่อ 29 April 2011.
  6. John Walsh The Independent 18 May 1996
  7. "Great Poetry Explained". สืบค้นเมื่อ 12 September 2020.
  8. Rowland, Christopher. (November 2007). William Blake: a visionary for our time openDemocracy.net. Accessed 19 April 2020.
  9. 9.0 9.1 Blake, William. "Milton a Poem, copy B object 2". The William Blake Archive. Ed. Morris Eaves, Robert N. Essick, and Joseph Viscomi. สืบค้นเมื่อ 8 June 2019.
  10. "Numbers 11:29". King James Version. biblegateway.com.
  11. Brantley, Ben (20 July 2009). "Time, and the Green and Pleasant Land". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 23 April 2010.
  12. Parliamentary Early Day Motion 2791 เก็บถาวร 21 สิงหาคม 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, UK Parliament, 18 October 2006
  13. "Correspondence". UK: Anthem 4 England. 8 May 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-20. สืบค้นเมื่อ 29 April 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]