Alluaudia procera

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Alluaudia procera
ภาพลำต้นและใบระยะใกล้ของ Alluaudia procera
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
อันดับ: คาร์เนชัน
วงศ์: Didiereaceae
สกุล: Alluaudia
(Drake) Drake
สปีชีส์: Alluaudia procera
ชื่อทวินาม
Alluaudia procera
(Drake) Drake
ชื่อพ้อง[2]

Didierea procera Drake

Alluaudia procera หรือชื่อสามัญ Madagascar ocotillo เป็นพรรณไม้ผลัดใบในวงศ์ Didiereaceae เป็นพืชประจำถิ่นของมาดากัสการ์ตอนใต้[2]

คำอธิบาย[แก้]

พืชชนิดนี้เป็นไม้พุ่มอวบน้ำมีหนาม มีลำต้นและใบหนากักเก็บน้ำ ซึ่งจะผลัดใบในฤดูแล้งที่ยาวนาน แม้ว่าลักษณะภายนอกจะคล้ายกับ ocotillo หรือชื่อวิทยาศาสตร์ Fouquieria splendens ที่มีถิ่นกำเนิดบริเวณทะเลทรายโซนอรันในทวีปอเมริกาเหนือ แต่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกันทางพันธุกรรม

ต้นอ่อนของ Alluaudia จะสร้างลำต้นที่พันกันซึ่งคงอยู่นานหลายปี หลังจากนั้นก้านส่วนกลางที่แข็งแกร่งจะพัฒนาขึ้น ลำต้นที่บริเวณโคนจะตายไป เหลือลำต้นที่มีลักษณะคล้ายไม้ยืนต้นซึ่งแตกกิ่งก้านบนลำต้นหลักสูงขึ้นไป

เช่นเดียวกับสายพันธุ์อื่น ๆ ในวงศ์ Didiereaceae ใบของ Alluaudia มีขนาดเล็ก ผลิตจากกิ่งงัน (brachyblast) คล้ายกับขุมหนาม (areole) ที่พบในกระบองเพชร ปรากฏเป็นใบเดี่ยวและมีหนามทรงกรวย ดอกมีลักษณะเป็นดอกไม่สมบูรณ์เพศ และวงกลีบดอกมีสมมาตรในแนวรัศมี

Alluaudia procera ที่เขตภูมินิเวศ fourrés épineux de Madagascar ในอิฟาตี มาดากัสการ์

อนุกรมวิธาน[แก้]

วงศ์ Didiereaceae ประกอบด้วย 4 สกุล แบ่งออกเป็น 11 สายพันธุ์ ซึ่งสกุลใหญ่ที่สุดคือ Alluaudia (6 สายพันธุ์) โดย Alluaudia ถูกแบ่งออกเป็น 2 ชั้นคือ Alluaudia และ Androyella[3] การแบ่งด้วยวิธีนี้ Alluaudia procera มีสายพันธุ์ใกล้ชิดคือ Alluaudia ascendens และ Alluaudia montagnacii

จากการวิจัยวิวัฒนาการชาติพันธุ์ระดับโมเลกุล[4] สกุล Alluaudia, Alluaudiopsis และ Didierea จากวงศ์เดียวกัน ได้รับการสนับสนุนว่ามีบรรพบุรุษร่วมกัน (monophyletic) ทั้งหมด ความสัมพันธ์ภายในสกุล Alluaudia มีความเกี่ยวข้องกับวิวัฒนาการของพอลิพลอยด์ภายในวงศ์

นักวิจัยยังไม่ทราบว่าวงศ์ Didiereaceae มีต้นกำเนิดมาจากที่ใด อย่างไรก็ตามญาติที่ใกล้ที่สุดของวงศ์ Didiereaceae คือ Calyptrotheca somalensis ที่มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกาตะวันออก[5] จากการที่เกาะมาดากัสการ์แยกออกจากทวีปแอฟริกาเมื่อ 100 ล้านปีก่อน[6] ดังนั้น Didiereaceae อาจมีต้นกำเนิดมาจากการแพร่กระจายไปยังมาดากัสการ์ของบรรพบุรุษในแอฟริกันตะวันออกที่มีลักษณะคล้าย Calyptrotheca

อ้างอิง[แก้]

  1. Ramanantsialonina, R.N. (2019). "Alluaudia procera". IUCN Red List of Threatened Species. 2019: e.T30436A124141236. doi:10.2305/IUCN.UK.2019-2.RLTS.T30436A124141236.en. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2021.
  2. 2.0 2.1 "Alluaudia procera (Drake) Drake". Plants of the World Online. Board of Trustees of the Royal Botanic Gardens, Kew.
  3. Rabesa, Zafera Antoine (1982). "Definition de deux sections du genre Alluaudia (Didiereaceae)". Taxon. 31 (4): 339–358. doi:10.2307/1219699. JSTOR 1219699.
  4. Applequist, W. L. (2000). "Phylogeny of the Madagascan endemic family Didiereaceae". Plant Systematics and Evolution. 221 (3–4): 157–166. doi:10.1007/bf01089291. S2CID 33830803.
  5. Nyananyo, B. L. (1986). "The systematic position of the genus Calyptrotheca Gilg (Portulacaceae)". Feddes Repertorium. 97 (11–12): 767–769. doi:10.1002/fedr.4910971109.
  6. Raven, Peter H.; Axelrod, Daniel I. (1974). "Angiosperm biogeography and past continental movements". Ann. Missouri Bot. Gard. 61 (3): 539–673. doi:10.2307/2395021. JSTOR 2395021.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Alluaudia procera