ปลากระเบนบอนเนต
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก Aetobatus)
ปลากระเบนบอนเนต ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 59–0Ma ทาเนเทียน ถึง ปัจจุบัน[1] | |
---|---|
ปลากระเบนยี่สน (A. narinari) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Elasmobranchii |
อันดับ: | Myliobatiformes |
วงศ์: | Myliobatidae |
สกุล: | Aetobatus Blainville, 1816 |
ชนิด | |
| |
ชื่อพ้อง[2] | |
|
ปลากระเบนบอนเนต (อังกฤษ: Bonnet rays[2]) เป็นสกุลของปลากระเบนในสกุล Aetobatus (/เอ-โต-บา-ตัส/) ในวงศ์ปลากระเบนนก (Myliobatidae) พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรแปซิฟิก, อินเดีย และแอตแลนติก มีส่วนหัวและปากแหลม กินอาหารจำพวก ปูหรือหอยสองฝาเป็นอาหาร มีลักษณะเด่น คือ เป็นปลากระเบนที่มีครีบข้างยาว แยกออกจากส่วนหัว ส่วนหางยาว จึงทำให้ว่ายน้ำได้อย่างอิสระเหมือนนกบิน[3] เมื่อตกใจสามารถกระโดดขึ้นเหนือน้ำหรือกระโดดเพื่อเล่นคลื่นได้ แต่เป็นระยะเวลาสั้น ๆ[4]
ปัจจุบันจำแนกออกเป็น 5 ชนิด:
- Aetobatus flagellum (Bloch & Schneider, 1801)[5]
- Aetobatus laticeps (Gill, 1865) [6]
- Aetobatus narinari (Euphrasén, 1790) (ปลากระเบนยี่สน, ปลากระเบนเนื้อดำ)
- Aetobatus narutobiei White, Furumitsu, Yamaguchi, 2013 [7]
- Aetobatus ocellatus (Kuhl, 1823) (ปลากระเบนนกปีกแหลม)[8]
และมี 5 ชนิดที่สูญพันธุ์ไปแล้ว:
- †Aetobatus arcuatus Agassiz, 1843
- †Aetobatus cappettai Antunes & Balbino, 2006
- †Aetobatus irregularis Agassiz, 1843
- †Aetobatus punctatus Miller, 1876
- †Aetobatus sinhaleyus Deraniyagala, 1937
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Sepkoski, J. (2002). "A compendium of fossil marine animal genera (Chondrichthyes entry)". Bulletins of American Paleontology. 364: 560. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-10.
- ↑ 2.0 2.1 "Aetobatus". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ. สืบค้นเมื่อ 17 July 2016.
- ↑ ผาณิตวงศ์, นณณ์ (December 19, 2010). "Genus: Aetobatus". สยามเอนซิสดอตคอม. สืบค้นเมื่อ July 17, 2016.
- ↑ "63 ตอน ปลากระเบนนก". สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). January 7, 2016. สืบค้นเมื่อ July 17, 2016.
- ↑ White, W.T. & Moore, A.B.M. (2013). "Redescription of Aetobatus flagellum (Bloch & Schneider, 1801), an endangered eagle ray (Myliobatoidea: Myliobatidae) from the Indo–West Pacific" (PDF). Zootaxa. 3752 (1): 199–213. doi:10.11646/zootaxa.3752.1.12. PMID 25229115.
- ↑ White, W.T. (2014): A revised generic arrangement for the eagle ray family Myliobatidae, with definitions for the valid genera. Zootaxa, 3860 (2): 149–166.
- ↑ White, W.T., Furumitsu, K. & Yamaguchi, A. (2013): A New Species of Eagle Ray Aetobatus narutobiei from the Northwest Pacific: An Example of the Critical Role Taxonomy Plays in Fisheries and Ecological Sciences. PLoS ONE, 8 (12): e83785.
- ↑ White, W.T.; Last, P.R.; Naylor, G.J.P.; Jensen, K. & Caira, J.N. (2010). "Clarification of Aetobatus ocellatus (Kuhl, 1823) as a valid species, and a comparison with Aetobatus narinari (Euphrasen, 1790) (Rajiformes: Myliobatidae). In: Last, P.R., White, W.T. & Pogonoski, J.J (Eds.), Descriptions of New Sharks and Rays from Borneo" (PDF). CSIRO Marine and Atmospheric Research. Paper 032: 141–164. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-02-15. สืบค้นเมื่อ 2016-07-16.
{{cite journal}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ ปลากระเบนบอนเนต ที่วิกิสปีชีส์
- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ปลากระเบนบอนเนต