23310 ศิริวัน
การค้นพบ[1] | ||||
---|---|---|---|---|
ค้นพบโดย: | ทีมวิจัยดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกลินคอล์น | |||
ค้นพบเมื่อ: | 4 มกราคม พ.ศ. 2544 | |||
ชื่อตามระบบ MPC: | 23310 | |||
ชื่ออื่น ๆ: | 2001 AA25 | |||
ชนิดของดาวเคราะห์น้อย: | แถบดาวเคราะห์น้อย | |||
ลักษณะของวงโคจร | ||||
ระยะจุดไกล ดวงอาทิตย์ที่สุด: | 2.2593335 AU | |||
ระยะจุดใกล้ ดวงอาทิตย์ที่สุด: | 2.0723111 AU | |||
ความเยื้องศูนย์กลาง: | 0.0827777 | |||
คาบการโคจร: | 1240.4205508 d | |||
ความเอียง: | 4.87927° | |||
ลองจิจูด ของจุดโหนดขึ้น: | 36.23746 | |||
ระยะมุมจุด ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด: | 54.12265 | |||
ลักษณะทางกายภาพ | ||||
อุณหภูมิพื้นผิว: |
| |||
ลักษณะของบรรยากาศ |
23310 ศิริวัน (อังกฤษ: 23310 Siriwon)[1] เป็นดาวเคราะห์น้อยดวงหนึ่งในแถบดาวเคราะห์น้อยของระบบสุริยะ มีคาบการโคจร 1240.4205508 วัน (3.40 ปี)[1] ค้นพบเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2544
23310 ศิริวัน ตั้งชื่อจากนามสกุลของนางสาวณัฐนรี ศิริวัน นักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาในขณะนั้น ที่เป็นหนึ่งในสามสมาชิกกลุ่มตัวแทนประเทศไทย ไปประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ งาน Intel International Science and Engineering Fair หรือ ISEF ที่สหรัฐอเมริกา เรื่องรูปแบบการหุบของใบไมยราบ ซึ่งได้อันดับ 1 ของโลก เมื่อปี พ.ศ. 2550[2]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 "JPL Small-Body Database Browser". NASA. สืบค้นเมื่อ 2011-09-27.
- ↑ รายงานพิเศษ : รูปแบบการหุบของใบไมยราบ โครงงานวิทยาศาสตร์ของเด็กไทย ที่ 1 ในโลก เว็บไซต์สนุก สืบค้นวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2551
![]() |
บทความเกี่ยวกับดาราศาสตร์หรือจักรวาลวิทยานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ดาราศาสตร์ |