ทเวนตีวันซาเวจ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก 21 Savage)
ทเวนตีวันซาเวจ
ทเวนตีวันซาเวจขณะกำลังแสดงใน ค.ศ. 2018
ทเวนตีวันซาเวจขณะกำลังแสดงใน ค.ศ. 2018
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดเชยา บิน อับราฮัม-โจเซฟ
เกิด (1992-10-22) 22 ตุลาคม ค.ศ. 1992 (31 ปี)
ลอนดอน อังกฤษ
ที่เกิดแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย สหรัฐ
แนวเพลง
อาชีพ
  • แร็ปเปอร์
  • นักแต่งเพลง
  • โปรดิวเซอร์เพลง
ช่วงปี2012–ปัจจุบัน
ค่ายเพลง

เชยา บิน อับราฮัม-โจเซฟ (อังกฤษ: Shéyaa Bin Abraham-Joseph; เกิด 22 ตุลาคม ค.ศ. 1992) หรือชื่อในวงการคือ ทเวนตีวันซาเวจ (21 Savage) เป็นแร็ปเปอร์ชาวอเมริกัน เกิดและเติบโตในลอนดอน เขาย้ายไปยังเมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย ขณะอายุ 7 ปี[3] เขาเริ่มเป็นที่รู้จักหลังจากปล่อยมิกซ์เทปสองชุดเมื่อ ค.ศ. 2015 ก่อนได้รับความสนใจระดับนานาชาติกับอีพีชื่อ ซาเวจโหมด (2016) ที่ทำงานร่วมกับเมโทร บูมิน ซิงเกิล "เอกซ์" (ร้องรับเชิญโดยฟิวเจอร์) และ "โนฮาร์ต" ขึ้นถึงสี่สิบอันดับแรกบนบิลบอร์ดฮอต 100 เขายังเป็นนักร้องรับเชิญให้กับเดรก ในซิงเกิล "สนีกกิง'"[4][5][6] จากนั้นจึงได้เซ็นสัญญากับอีพิกเรเคิดส์ ในเดือนมกราคม 2017[7]

สตูดิโออัลบั้มแรกของทเวนตีวันซาเวจ อีซาอัลบัม (2017) ขึ้นถึงอันดับสองบนบิลบอร์ด 200 ขณะที่ซิงเกิลนำอย่าง "แบงแอตเคานต์" ติดอันดับที่ 12 บนฮอต 100[8] ต่อมาออกอัลบั้มที่ทำงานร่วมกับออฟเซตและเมโทร บูมินในชื่อ วิทเอาต์วอร์นิง (2017) โดยเพลง "ริกแฟลร์ดริป" ขึ้นสูงสุดที่อันดับ 18 ในสหรัฐ จากนั้นเขาร้องรับเชิญให้กับโพสต์ มาโลนในซิงเกิล "ร็อกสตาร์" ที่ประสบความสำเร็จเชิงพาณิชย์ ขึ้นอันดับหนึ่งบนฮอต 100 และถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลบันทึกเสียงแห่งปี และการร่วมงานเพลงร้องหรือแร็ปยอดเยี่ยม ในงานประกาศรางวัลแกรมมีครั้งที่ 61[9][10] อัลบั้มชุดที่สองของเขา ไอแอม > ไอวอส กลายเป็นอัลบั้มแรกของเขาที่ติดอันดับหนึ่งในสหรัฐ และมีเพลงฮิตอย่าง "อะล็อต" (ร้องรับเชิญโดยเจ.โคล)[11] ซึ่งชนะรางวัลเพลงแร็ปยอดเยี่ยมในงานประกาศรางวัลแกรมมีครั้งที่ 62[12][13]

อ้างอิง[แก้]

  1. Pementel, Michael (December 26, 2018). "21 Savage Shines When He Gets Deep on I Am > I Was". Consequence of Sound. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 27, 2019. สืบค้นเมื่อ February 11, 2019.
  2. "21 Savage Whispering Like the Ying Yang Twins Makes for an Incredible Song". Rolling Stone. November 2, 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 25, 2019. สืบค้นเมื่อ February 4, 2019.
  3. "Rapper 21 Savage did not talk about being British for fear of US deportation". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). Associated Press. February 16, 2019. ISSN 0261-3077. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 21, 2019. สืบค้นเมื่อ March 22, 2019.
  4. "21 Savage chops it up with Seth Rogen". Interview Magazine (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). April 26, 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 11, 2018. สืบค้นเมื่อ July 10, 2018.
  5. Daniels, Karu F. "Sylvia Rhone named chairman and CEO of Epic Records". New York Daily News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 25, 2019. สืบค้นเมื่อ April 30, 2019.
  6. "How Sylvia Rhone Became Sony Music's Most Powerful African-American Woman: 'Many Questioned My Ability'". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 4, 2019. สืบค้นเมื่อ April 30, 2019.
  7. "Sylvia Rhone". Berklee College of Music. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 22, 2019. สืบค้นเมื่อ April 30, 2019.
  8. C.M., Emmanuel (October 9, 2015). "The Break Presents: 21 Savage". XXL Magazine. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 24, 2016. สืบค้นเมื่อ May 2, 2018.
  9. "21 Savage". Grammy Awards (official website) (ภาษาอังกฤษ). December 5, 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 6, 2019. สืบค้นเมื่อ February 3, 2019.
  10. "Post Malone's Rockstar Hits No. 1 on Billboard Hot 100 Chart". XXL Magazine. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 10, 2017. สืบค้นเมื่อ May 2, 2018.
  11. Caulfield, Keith (January 6, 2019). "21 Savage Spends Second Week at No. 1 on Billboard 200 Albums Chart With I Am > I Was". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 31, 2019. สืบค้นเมื่อ January 9, 2019.
  12. "21 Savage Grammy History". The Recording Academy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 18, 2020. สืบค้นเมื่อ January 27, 2020.
  13. "J. Cole Grammy History". The Recording Academy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 21, 2019. สืบค้นเมื่อ January 27, 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]