ข้ามไปเนื้อหา

ไฟฉุกเฉิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไฟฉุกเฉินแบบใช้หลอดไส้
ไฟฉุกเฉินแบบใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์

ไฟฉุกเฉิน (อังกฤษ: emergency light) เป็นอุปกรณ์ให้แสงสว่างสำรองในอาคาร ซึ่งจะติดสว่างขึ้นมาอัตโนมัติเมื่อมีเหตุไฟฟ้าดับ, โดยไฟฉุกเฉินจะทำงานโดยอาศัยไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ (มักเป็นแบบตะกั่ว-กรด) ซึ่งจะชาร์จอยู่กับไฟบ้านตลอดเวลา เพื่อให้พร้อมใช้ทุกครั้งเมื่อเกิดไฟดับ

ภายในไฟฉุกเฉิน โดยพื้นฐานจะประกอบด้วยแบตเตอรี่ วงจรชาร์จ หลอดไฟ และสวิตช์อัตโนมัติ (มักเป็นรีเลย์หรือทรานซิสเตอร์), ซึ่งในสภาพปกติที่มีไฟฟ้า วงจรชาร์จจะประจุแบตเตอรี่ให้มีไฟเต็มอยู่ตลอดเวลา ส่วนสวิตช์อัตโนมัติจะตัดวงจรหลอดไฟไว้ไม่ให้ทำงาน, เมื่อเกิดไฟฟ้าดับ วงจรชาร์จจะหยุดทำงาน และสวิตช์อัตโนมัติจะทำการต่อหลอดไฟเข้ากับแบตเตอรี่ ทำให้ไฟฉุกเฉินติดสว่าง, และเมื่อไฟฟ้ากลับมาใช้ได้อีกครั้ง วงจรชาร์จจะกลับมาทำงาน และสวิตช์อัตโนมัติจะตัดวงจรหลอดไฟออก ทำให้ไฟฉุกฉินดับลง

ปัจจุบันหลอดไฟที่อยู่ในไฟฉุกเฉินรุ่นใหม่ๆจะเป็น LED สามารถใช้ความสว่างสูง ประหยัดพลังงาน จึงทำให้ระยะเวลาการให้แสงเมื่อไฟดับยาวนานมากกว่าเดิม

ในอาคารที่อยู่อาศัยสมัยใหม่ หอพัก หรือห้องชุด มักมีกฎหมายควบคุมอาคารให้มีการติดตั้งไฟฉุกเฉิน เพื่ออำนวยความสะดวกปลอดภัยกับผู้อยู่อาศัย และป้องกันการฉวยโอกาสปล้นจี้ในระหว่างเหตุไฟฟ้าดับอีกด้วย