ไฟกรีก
ไฟกรีก (อังกฤษ: Greek Fire) เป็นอาวุธที่ก่อให้เกิดเพลิงซึ่งถูกใช้งานโดยจักรวรรดิไบแซนไทน์ เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 672 ถูกใช้เพื่อจุดไฟเผาใส่เรือข้าศึก ซึ่งประกอบไปด้วยสารประกอบซึ่งติดไฟได้ที่ถูกปล่อยออกมาโดยอาวุธพ่นไฟ นักประวัติศาสตร์บางคนเชื่อว่า สามารถจุดติดไฟได้เมื่อสัมผัสกับน้ำ และอาจเกิดขึ้นมาจากสารแนฟทาซึ่งเป็นสารไวไฟและปูนขาว(แคลเซียมออกไซด์) โดยทั่วไปแล้ว ชาวไบแซนไทน์จะใช้มันในการสู้รบทางเรือเพื่อก่อให้เกิดความได้เปรียบในการรบ เนื่องจากสามารถเผาไหม้อย่างต่อเนื่องได้ในขณะที่ลอยอยู่บนน้ำ ความได้เปรียบทางเทคโนโลยีที่ได้มอบให้นั้นมีส่วนรับผิดชอบต่อชัยชนะทางทหารที่สำคัญหลายประการของไบแซนไทน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในความอยู่รอดของกรุงคอนสแตนติโนเปิลจากการปิดล้อมของอาหรับครั้งที่หนึ่งและสอง ซึ่งเป็นการรับประกันถึงความอยู่รอดของจักรวรรดิ
สิ่งที่น่าประทับใจในไฟกรีกที่ถูกนำมาในสงครามครูเสดยุโรปตะวันตกทำให้ชื่อนี้ได้นำมาใช้กับอาวุธที่ก่อให้เกิดเพลิงทุกประเภท รวมทั้งอาวุธที่ถูกใช้โดยชาวอาหรับ ชาวจีน และชาวมองโกล อย่างไรก็ตาม สารประกอบผสมเหล่านี้จะใช้สูตรที่แตกต่างจากไฟกรีกของไบแซนไทน์ ซึ่งเป็นความลับของรัฐที่ได้รับการป้องกันอย่างใกล้ชิด ไบแซนไทน์ยังคงใช้หัวฉีดแรงดันเพื่อพ่นใส่ของเหลวไปยังศัตรู ในลักษณะที่คล้ายกับเครื่องพ่นไฟสมัยใหม่
แม้ว่ามีการใช้คำว่า "ไฟกรีก" เป็นคำทั่วไปในภาษาอังกฤษและภาษาอื่น ๆ ส่วนใหญ่นับตั้งแต่สงครามครูเสด จุดกำเนิดของไบแซนไทน์แต่เดิมได้เรียกสิ่งเหล่านี้ในชื่อต่าง ๆ เช่น "sea fire"(ไฟทะเล) (Medieval Greek: πῦρ θαλάσσιον pŷr thalássion), "Roman fire"(ไฟโรมัน) (πῦρ ῥωμαϊκόν pŷr rhōmaïkón), "war fire"(ไฟสงคราม) (πολεμικὸν πῦρ polemikòn pŷr), "liquid fire"(ไฟของเหลว) (ὑγρὸν πῦρ hygròn pŷr), "sticky fire"(ไฟเหนียว) (πῦρ κολλητικόν pŷr kollētikón), หรือ "manufactured fire" (πῦρ σκευαστόν pŷr skeuastón)
สารประกอบของไฟกรีกยังคงเป็นเรื่องของการคาดเดาและการโต้เถียง โดยมีการนำเสนอในการใช้สารประกอบต่าง ๆ รวมทั้งยางไม้จากต้นสน สารแนฟทา แคลเซียมฟอสไฟด์ กำมะถัน หรือไนเตอร์ ในประวัติศาสตร์กรุงโรม ติตุส ลีวิอุสได้บรรยาถึงนักบวชหญิงที่บูชาเทพแบคัส(ไดอะไนซัส) ได้จุ่มไฟลงไปในน้ำซึ่งไม่มีวันดับเลย "เพราะเป็นกำมะถันผสมกับปูนขาว"