ไนเตอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไนเตอร์
ผลึกไนเตอร์ภายใต้กล้องจุลทรรศน์พอลาไรซ์
การจำแนก
ประเภทไนเตรด, แร่อ็อกไซด์
สูตรเคมีKNO3
คุณสมบัติ
สีwhite
รูปแบบผลึกdruse or acicular
โครงสร้างผลึกOrthorhombic
แนวแตกเรียบvery good on {001}; good on {010}
รอยแตกbrittle
ค่าความแข็ง2
ความวาวvitreous
ดรรชนีหักเหnα = 1.332
nβ = 1.504
nγ = 1.504
สีผงละเอียดwhite
ความถ่วงจำเพาะ2.10 (calc.)
สภาพละลายได้soluble
ความโปร่งtransparent
อ้างอิง: [1][2][3]

ไนเตอร์ (อังกฤษ: niter หรือ nitre) เป็นรูปผลึกของโพแทสเซียมไนเตรด (KNO3) หรือเรียก ดินประสิว (saltpeter)

แร่ที่เกี่ยวข้องได้แก่ โซดาไนเตอร์ (โซเดียมไนเตรด), แอมโมเนียไนเตอร์ (แอมโมเนียมไนเตรด) ไนโตรสตรอนเชียไนต์ (สตรอนเชียมไนเตรด) ไนโตรแคลไซต์ (แคลเซียมไนเตรด), ไนโตรแม็กนีไซต์ (แม็กนีเซียมไนเตรด) ไนโตรแบไรต์ (แบเรียมไนเตรด) และไนเตรดทองแดงสองชนิด อันที่จริงธาตุธรรมชาติทุกชนิดในสามหมู่แรกของตารางธาตุและแคตไอออนอีกหลายตัวเกิดเป็นไนเตรดซึ่งพบได้ไม่ค่อยบ่อย ไนเตอร์ใช้เจาะจงเรียกเกลือไนเตรดที่ทราบกันว่าเป็นดินประสิวหลายชนิด (มีเพียงเกลือไนเตรดเท่านั้นที่ทำดินปืนได้ดี) ในช่วงเวลาที่ไนเตอร์และกรดไนตริกอนุพันธ์ของมันใช้ตั้งชื่อธาตุไนโตรเจนในปี 1790

ไนเตอร์ละลายได้ดีมากในน้ำ จึงพบบ่อยที่สุดในสิ่งแวดล้อมแห้งแล้งและร่วมกับแร่ที่ละลายได้อย่างอื่น เช่น ฮาไลด์ ไอโอไดด์ บอเราต ยิปซัม คาร์บอเนตและซัลเฟตที่พบน้อยกว่า แหล่งแร่โซเดียมไนเตรดสำคัญ ("ดินประสิวชิลี" หรือไนตราทีน) อยู่ในทะเลทรายอะทาคามาในประเทศชิลี โพแทสเซียมและไนเตรดตัวอื่นมีความสำคัญมากสำหรับใช้เป็นปุ๋ยและดินปืนในอดีต ปัจจุบันไนเตรดที่ผลิตโดยการสังเคราะห์บรรลุอุปทานส่วนใหญ่ของโลก แต่ยังมีการขุดเจาะแร่ธรรมชาติและมีคุณค่าเชิงพาณิชย์อย่างสำคัญ

อ้างอิง[แก้]

  1. Webmin
  2. Mindat
  3. Adiwidjaja, G.; Pohl, D. (2003), "Superstructure of α-phase potassium nitrate", Acta Crystallogr. C, 59 (12): 1139–40, doi:10.1107/S0108270103025277.