ข้ามไปเนื้อหา

ไซโลโฟน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไซโลโฟน
เครื่องกระทบ
ประเภท เครื่องกระทบ
Hornbostel–Sachs classification111.212
คิดค้นเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 9
เครื่องดนตรีที่เกี่ยวข้อง
balafo, txalaparta, laggutu, marimba

ไซโลโฟน (อังกฤษ: Xylophone; จาก กรีกโบราณ ξύλον (xúlon) 'ไม้' และ φωνή (phōnḗ) 'เสียง';[1][2] แปลว่า เสียงของไม้) เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องกระทบ (Percussion Instruments) ชนิดที่มีระดับเสียงแน่นอน (Definite Pitch) เป็นระนาดไม้ขนาดเล็กของดนตรีตะวันตก ลักษณะทั่วไปจะคล้ายกับมะริมบะ หรือไวบราโฟน แต่ไวบราโฟนทำจากโลหะ และมีขนาดใหญ่กว่าไซโลโฟน ลูกระนาดของไซโลโฟนทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น โร้สวูด เป็นต้น จัดเรียงลำดับเสียงตามบันไดเสียงโครมาติก (Chromatic) เช่นเดียวกับเปียโนหรือออร์แกน ใต้ลูกระนาดมีท่อโลหะติดอยู่เพื่อเป็นตัวขยายเสียง คาดว่ามีต้นกำเนิดมาจากแอฟริกา และเอเชีย

ไม้ 2 อันที่ใช้ตีเรียกว่า ลูกค้อน ลักษณะตรงปลายเป็นหัวกลม ความกว้างของช่วงเสียงขึ้นอยู่กับขนาดของไซโลโฟน ซึ่งมีด้วยกัน 3 ลักษณะคือ เล็ก กลาง ใหญ่ เสียงของไซโลโฟนคล้ายเสียงระนาดเอกของเอเชีย คือ แกร่ง คม สั้นห้วน และชัดเจน ใช้เล่นไล่เสียง และเล่น “กลิสซานโต” ได้ดีเป็นพิเศษ และเหมาะที่จะใช้เป็นเครื่องดนตรีเล่นเดี่ยวทำนองเพลงหรือเพิ่มสีสันของวงดุริยางค์ให้งดงามขึ้น แซงท์-ซองส์ได้นำมาใช้ในวงดุริยางค์เป็นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1874 ในเพลง “danse macabre” บรรยายถึงโครงกระดูกผีกระทบกัน

ประวัติ

[แก้]

ไซโลโฟน เมื่อนำมารวมกันหมายถึง "เสียงไม้" เป็นเครื่องดนตรีในประเภทเครื่องกระทบที่ประกอบด้วยไม้ และท่อโลหะเพื่อทำให้เกิดการขยายเสียง จัดเรียงตามบันไดเสียงแบบโครมาติก อยู่ในประเภทเครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงแน่นอน เกิดเสียงโดยการตีกระทบ ส่วนใหญ่ตีกระทบเป็นทำนองเพลงได้ ลักษณะคล้ายกับระนาดของไทย คาดว่ามีต้นกำเนิดมาจากแอฟริกา และเอเชง

ไซโลโฟนตะวันตก

[แก้]

ใช้งานครั้งแรกในยุโรปในยุค 1860 ครั้งแรกที่ใช้ในยุโรปเป็นยุค คามิลล์ Saint-Saëns '"เต้นระบำดาว" ในปี 1874 ได้รับความนิยมในระดับหนึ่ง ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่ทำจากไม้ 28 บาร์ ในรูปแบบเสียงแบบครึ่งเสียง semitones ในรูปแบบของรูปสี่เหลี่ยมคางหมู ถูกนำไปร่วมเล่นในคอนเสิร์ตสวนวิพิธทัศนาและเป็นสิ่งแปลกใหม่ในการแสดงคอนเสิร์ตซิมโฟนี เครื่องดนตรีที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่กับการดนตรีพื้นบ้านของยุโรปตะวันออก ไซโลโฟนถูกใช้โดยวงดนตรีแจ๊สในช่วงต้น และได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ไซโลโฟนเอเชีย

[แก้]

ตามบันทึกเก่าแก่ของชนชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแอฟริกาพบว่า เมื่อกลุ่มของประชาชนที่พูดภาษามาลาโย-โปลีนีเซียอพยพไปยังทวีปแอฟริกา มีหลักฐานชิ้นหนึ่งพบว่า รูปแบบของไซโลโฟนหรือระนาดมีความคล้ายคลึงกันระหว่างแอฟริกากับเอเชียตะวันออกและออเคสตร้าระนาดชวาและออเคสตร้าแบบบาหลีมโหรี

หลักฐานเก่าแก่ที่สุดของระนาดมาจากศตวรรษที่ 9 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบว่ามีรูปแบบของเครื่องดนตรีที่คล้ายกัน ในจีนไซโลโฟนถูกนำมาใช้ในศาสนาฮินดูเพื่อประกอบในศาสนพิธี แถบชวาและบาหลีและ ส่วนต่างๆจะพบเครื่องดนตรีที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันและแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรม เช่น แอฟริกา, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ไทย, และอเมริกา จนเครื่องดนตรีถูกนำไปพัฒนาจนกลายเป็นสภาพสมบรูณ์ที่เป็นสากลในปัจจุบัน

อ้าางอิง

[แก้]
  1. ξύλον, Henry George Liddell, Robert Scott, A Greek-English Lexicon, on Perseus
  2. φωνή, Henry George Liddell, Robert Scott, A Greek-English Lexicon, on Perseus