ไซโฟซัว
ไซโฟซัว | |
---|---|
แมงกะพรุนถ้วยชนิด Aurelia aurita จัดอยู่ในชั้นนี้ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | Eukaryota |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Cnidaria |
ไฟลัมย่อย: | Medusozoa |
ชั้น: | Scyphozoa Götte, 1887 |
อันดับ | |
ไซโฟซัว หรือ แมงกะพรุนแท้ เป็นชั้นของสัตวน้ำไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัมไนดาเรีย ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Scyphozoa
ลักษณะและวงจรชีวิต
[แก้]จัดเป็นแมงกะพรุนส่วนใหญ่ หรือแมงกะพรุนแท้ สัตว์ในชั้นนี้วัฎจักรชีวิตมีรูปร่าง 2 แบบ ในระยะที่เป็นตัวอ่อนจะมีรูปร่างแบบโพลิบมีขนาดเล็ก และในระยะที่เป็นตัวเต็มวัยมีรูปร่างแบบเมดูซา มีรูปร่างคล้ายกระดิ่งคว่ำ มีปากอยู่ด้านล่างตรงกลาง รอบปากจะมีออรัลอาร์ม มีลักษณะยาวแบบคล้ายหนวดยาว 4 อัน ทำหน้าที่จับเยื่อเข้าปาก ด้านบนของลำตัวมีลักษณะโค้งนูน มีชั้นวุ้นหนาทำให้ลอยตัวได้ดี บริเวณขอบกระดิ่งมีหนวดสั้น ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก มีอวัยวะควบคุมการทรงตัวและจุดรับสัมผัสความเข้มของแสงอยู่ที่ฐานของหนวด ดำรงชีวิตเป็นอิสระอาศัยอยู่ในน้ำทะเลทั้งหมด เคลื่อนที่โดยการหดตัวของขอบกระดิ่งเป็นจังหวะค่อย ๆ
มีความยาวโดยทั่วไปตั้งแต่ 2 ถึง 40 เซนติเมตร (0.79 ถึง 16 นิ้ว) แต่ชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ Cyanea capillata สามารถยาวได้ถึง 2 เมตร (6.6 ฟุต) [1]
การจำแนก
[แก้]ประมาณ 200 ชนิด ที่ได้รับการการจำแนกอย่างเป็นทางการ แต่ทว่าเชื่อว่ามีจริงได้ถึง 400 ชนิด[2] [2]
ชั้น Scyphozoa
- อันดับ Coronatae
- วงศ์ Atollidae
- วงศ์ Atorellidae
- วงศ์ Linuchidae
- วงศ์ Nausithoidae
- วงศ์ Paraphyllinidae
- วงศ์ Periphyllidae
- ชั้นย่อย Discomedusae
- อันดับ Rhizostomeae
- อันดับย่อย Daktyliophorae
- วงศ์ Catostylidae
- วงศ์ Lobonematidae
- วงศ์ Lychnorhizidae
- วงศ์ Rhizostomatidae
- วงศ์ Stomolophidae
- อันดับย่อย Kolpophorae
- วงศ์ Cassiopeidae
- วงศ์ Cepheidae
- วงศ์ Mastigiidae
- วงศ์ Thysanostomatidae
- วงศ์ Versurigidae
- อันดับ Semaeostomeae
- วงศ์ Cyaneidae
- วงศ์ Drymonematidae[3]
- วงศ์ Pelagiidae
- วงศ์ Phacellophoridae[4]
- วงศ์ Ulmaridae
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Kramp, P. L. (1961). "Synopsis of the medusae of the world". Journal of the Marine Biological Association of the United Kingdom 40: 1–469.
- ↑ 2.0 2.1 Daly, Brugler, Cartwright, Collins, Dawson, Fautin, France, McFadden, Opresko, Rodriguez, Romano & Stake (2007). The phylum Cnidaria: A review of phylogenetic patterns and diversity 300 years after Linnaeus. Zootaxa 1668: 127–182
- ↑ Bayha, K. M., and M. N. Dawson (2010). New family of allomorphic jellyfishes, Drymonematidae (Scyphozoa, Discomedusae), emphasizes evolution in the functional morphology and trophic ecology of gelatinous zooplankton. The Biological Bulletin 219(3): 249–267
- ↑ Straehler-Pohl, I., C. L. Widmer, and A. C. Morandini (2011). Characterizations of juvenile stages of some semaeostome Scyphozoa (Cnidaria), with recognition of a new family (Phacellophoridae). Zootaxa 2741: 1-37