ใบมีดของฮานลอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ใบมีดของฮานลอน (อังกฤษ: Hanlon's razor) เป็นคติพจน์ที่ปรากฏในหลายรูปแบบ เช่น "อะไรที่อธิบายอย่างเหมาะเจาะได้ว่าเกิดจากความโง่ ก็อย่าไปโยงว่ามันเป็นความชั่ว" (never attribute to malice that which is adequately explained by stupidity) และ "อย่าทึกทักว่าความเลินเล่อหรือความเข้าใจผิดต้องมีเจตนาชั่ว" (don't assume bad intentions over neglect and misunderstanding) คติพจน์เหล่านี้เป็นคำแนะนำถึงวิธีขจัดคำอธิบายที่ไม่น่าเป็นไปได้สำหรับปรากฏการณ์หนึ่ง ๆ เรียกว่า มีดโกนปรัชญา (philosophical razor)

ชื่อนี้อาจตั้งตาม โรเบิร์ต เจ. ฮานลอน (Robert J. Hanlon) แต่มีคติพจน์ที่เก่าแก่กว่าและมีใจความเดียวกันซึ่งอย่างน้อยย้อนกลับไปได้ถึงเกอเทอใน ค.ศ. 1774

ที่มาและการตั้งชื่อ[แก้]

คติพจน์นี้ได้แรงบันดาลใจจากมีดโกนอ็อกคัม (Occam's razor)[1] และกลายเป็นที่นิยมในรูปแบบและชื่อเรียกนี้ก็เพราะ จาร์กอนไฟล์ (Jargon File) อภิธานศัพท์สแลงของนักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์[2][3] ใน ค.ศ. 1996 จาร์กอนไฟล์ใช้คำว่า "murphyism" ในความหมายเดียวกับมีดโกนอ็อกคัม[4] ใน ค.ศ. 1986 รายการจาร์กอนไฟล์เกี่ยวกับใบมีดของฮานลอนระบุอัญพจน์คล้ายกันจากเรื่องสั้นของโรเบิร์ต เอ. ไฮน์ไลน์ ที่ชื่อว่า "ตรรกะแห่งอาณาจักร" (Logic of Empire) (ค.ศ. 1941) โดยมีข้อสงสัยว่าใบมีดของฮานลอนอาจมาจาก "ใบมีดของไฮน์ไลน์"[5][3] (ไฮน์ไลน์ตั้งชื่อว่า "ทฤษฎีปีสาจ" แห่งสังคมวิทยา และเขียนว่า "คุณถือว่าสภาวะนี้คือความชั่วร้ายทั้งที่มีผลจากความโง่เขลาเท่านั้น")[6]

คำกล่าวที่คล้ายคลึงกัน[แก้]

คำกล่าวที่คล้ายคลึงกันพบได้ในหนังสือของเกอเทอ เรื่อง แวเธ่อร์ระทม (ค.ศ. 1774):

"ใบมีดของฮานลอน" ได้รับการนิยามว่า เป็นคติที่แปรผันมาจากข้อความคิดที่ว่า "อะไรที่อธิบายอย่างเหมาะเจาะได้ว่าเกิดจากความโง่ ก็อย่าไปโยงว่ามันเป็นความชั่ว แต่อย่ารีบตัดความชั่วออก"[7]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Giancarlo Livraghi, Il potter della stupidity, Monti & Ambrosini, Pescara, Italy, 2004, p. 1
  2. "Hanlon's Razor". Jargon File, as of v4.3.2. Eric S. Raymond. 2002-03-03. สืบค้นเมื่อ 2013-06-01.
  3. 3.0 3.1 Andrew S. Wigosky (2004). RAPID Value Management for the Business Cost of Ownership. Digital Press. p. 5. ISBN 9781555582890. [...] Hanlon's Razor: 'Never attribute to malice that which can be adequately explained by stupidity.' This definition comes from 'The Jargon File' (edited by Eric Raymond), but one poster attributes it to Robert Heinlein, in a 1941 story called 'Logic of Empire.'
  4. Guy L. Steele; Eric S. Raymond (บ.ก.). "The Jargon File, Version 2.1.1 (Draft) 12 Jun 1990". jargon-file.org. สืบค้นเมื่อ 2013-06-01.
  5. Eric S. Raymond (บ.ก.). "The Jargon File, Version 4.0.0, 24 JUL 1996". jargon-file.org. สืบค้นเมื่อ 2013-06-01.
  6. Wikiquote:Robert J. Hanlon
  7. Singer, Peter W. (2009). Wired for War. p. 434. ISBN 1594201986.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]