แวเธ่อร์ระทม
ปกพิมพ์ครั้งแรกในปีค.ศ.1774 | |
ผู้ประพันธ์ | โยฮัน ว็อล์ฟกัง ฟ็อน เกอเทอ[1] |
---|---|
ชื่อเรื่องต้นฉบับ | Die Leiden des jungen Werthers[1] |
ประเทศ | เยอรมัน |
ภาษา | เยอรมัน |
ประเภท | Epistolary novel[1] |
สำนักพิมพ์ | Weygand'sche Buchhandlung, Leipzig |
วันที่พิมพ์ | 29 กันยายน ค.ศ.1774, แก้ไขในปีค.ศ.1787[2] |
พิมพ์ในภาษาอังกฤษ | 1779[2] |
แวเธ่อร์ระทม (อังกฤษ: The Sorrows of Young Werther; เยอรมัน: Die Leiden des jungen Werthers) เป็นนวนิยายจดหมายและอาจถือได้ว่าเป็นนวนิยายอัตชีวประวัติของโยฮันน์ วอล์ฟกัง ฟอน เกอเทอ ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1774 ฉบับแก้ไขปรับปรุงของนวนิยายถูกตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1787 แวร์เธ่อร์เป็นนวนิยายชิ้นสำคัญในช่วง "พายุและแรงอารมณ์" (Sturm und Drang) ในวรรณกรรมเยอรมัน และมีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหววรรณกรรมโรแมนติกในสมัยหลังเป็นอย่างมาก
หนังสือดังกล่าวได้ทำให้เกอเทอเป็นหนึ่งในผู้มีชื่อเสียงด้านวรรณกรรมระหว่างประเทศคนแรก ๆ ของโลก และได้ทำให้การเดินทางเยือนไวมาร์ของชายหนุ่มที่มายังยุโรปเพียงลำพังนั้นเป็นสิ่งที่ยึดถือกันมาก
โครงเรื่อง
[แก้]เนื้อหาส่วนใหญ่ของแวเธ่อร์ระทมนั้นเป็นรูปแบบของการรวบรวมจดหมายที่เขียนขึ้นโดยแวเธ่อร์ ศิลปินหนุ่มผู้อ่อนไหวสูงและอารมณ์ใคร่รุนแรง โดยส่งถึงเพื่อนของเขา วิลเฮล์ม
ในจดหมายเหล่านี้ แวเธ่อร์ได้เล่าเรื่องราวอย่างละเอียดถึงการอาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่ไม่มีอยู่จริง ชื่อ วาฮ์ลไฮม์ (ซึ่งมีพื้นฐานมาจากเมืองการ์เบนไฮม์ ใกล้กับเว็ทซลาร์) เขารู้สึกหลงใหลกับวิถีชีวิตอันเรียบง่ายของชาวนาในหมู่บ้านแห่งนั้น และยังพบกับลอทเตอ หญิงสาวงดงามผู้ต้องเลี้ยงดูบรรดาพี่น้องหลังจากแม่ของเธอเสียชีวิต ถึงแม้ว่าจะรู้ก่อนหน้าแล้วว่าชาร์ลอตเตอจะหมั้นหมายกับชายนามอัลเบิร์ตเรียบร้อยแล้ว ซึ่งมีอายุมากกว่าเธอถึง 11 ปี แต่แวเธ่อร์ก็ยังตกหลุมรักเธอ[3]
ถึงแม้ว่าจะรู้สึกเจ็บปวดที่เกิดแก่แวเธ่อร์ เขาได้ใช้ชีวิตอีกหลายเดือนต่อมาพัฒนาความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างทั้งสอง ความเจ็บปวดของเขารุนแรงขึ้นจนกระทั่งเขาถูกบีบให้ออกจากหมู่บ้านและเดินทางไปยังไวมาร์ และขณะที่เขาไม่อยู่นั้น เขาได้ทำความรู้จักกับฟรอยไลน์ ฟอน เบ เขารู้สึกอับอายอย่างมากเมื่อเขาไม่สนใจไปเยี่ยมเพื่อนในวันที่บรรดาชนชั้นสูงทั้งหมดมักจะจัดการชุมนุมขึ้นที่นั้น เขาเดินทางกลับมายังวาฮ์ลไฮม์หลังจากนั้น ที่ซึ่งเขารู้สึกทุกข์ทรมานยิ่งกว่าที่เคยเป็นมาก่อน ซึ่งบางส่วนเป็นเพราะลอทเทอและอัลเบิร์ตสมรสกันแล้ว ทุกวันเป็นเครื่องเตือนใจอันทุกข์ระทมว่าลอทเทอจะไม่ตอบรับรักของเขาได้อีก เนื่องจากสงสารเพื่อนของเธอและเคารพในตัวสามี ลอทเทอจึงตัดสินใจว่าแวเธ่อร์จะต้องไม่มาเยี่ยมเธอบ่อยครั้งอีกต่อไป เขาได้มาเยี่ยมเธอเป็นครั้งสุดท้าย และทั้งสองนั้นถูกเอาชนะโดยอารมณ์หลังจากแวเธ่อร์ท่องจำบางส่วนของ "ออสเซียน"
แวเธ่อร์ได้รับรู้แล้วก่อนหน้านี้ว่าหนึ่งในสามคน ลอทเทอ อัลเบิร์ตหรือแวเธ่อร์เอง จะต้องตาย เนื่องจากไม่อาจทำร้ายผู้อื่นหรือคิดฆาตกรรมอย่างจริงจัง แวเธ่อร์จึงมองไม่เห็นทางอื่นนอกจากฆ่าตัวตาย หลังจากเขียนจดหมายลาตาย (ซึ่งถูกพบในภายหลังที่เขาฆ่าตัวตายแล้ว) เขาเขียนถึงอัลเบิร์ตโดยร้องขอปืนพกสองกระบอก โดยเสแสร้งว่าเขากำลังออกเดินทางผจญภัย ลอทเทอตอบรับคำร้องขอและส่งปืนพกมาสองกระบอก จากนั้นแวเธ่อร์จึงได้ยิงตัวตายที่หัว แต่ยังไม่ตายจนกระทั่งอีก 12 ชั่วโมงต่อมา ร่างของเขาถูกฝังอยู่ใต้ต้นลินเดน อันเป็นต้นไม้ที่เขามักจะกล่าวถึงบ่อย ๆ ในจดหมาย และงานศพไม่มีพระ อัลเบิร์ต หรือลอทเทอที่เขารักเข้าร่วมเลย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Wellbery, David E; Ryan, Judith; Gumbrecht, Hans Ulrich (2004), A New History of German Literature, pp. 386–387, ISBN 978-0674015036
- ↑ 2.0 2.1 Appelbaum, Stanley (2004-06-04), Introduction to The Sorrows of Young Werther, pp. vii–viii, ISBN 978-0486433639
- ↑ Robertson, J. G. (1966). A History of German Literature. William Blackwoord & Sons Ltd. p. 268.