โฮซูมิ ฮาเซงาวะ
![]() | ||
ข้อมูลส่วนตัว | ||
---|---|---|
ชื่อจริง | โฮซูมิ ฮาเซงาวะ | |
ฉายา | 日本のエース | |
วันเกิด | 16 ธันวาคม พ.ศ. 2523 (40 ปี) | |
สถานที่เกิด | นิชิวากิ จังหวัดเฮียวโงะ ประเทศญี่ปุ่น | |
ส่วนสูง | 168.5 เมตร (5 ฟุต 6 นิ้ว)[1] | |
รุ่น | แบนตั้มเวท ซูเปอร์แบนตั้มเวท เฟเธอร์เวท | |
ค่ายมวย | เซ็นริมะ โคเบะ บ็อกซิงยิม ชินเซ บ็อกซิงยิม | |
ผู้จัดการ | ไกโตกุ เซ็นริมะ | |
ผู้ฝึกสอน | มาซาโตะ ยามาชิตะ | |
สถิติ | ||
ชก | 41 | |
ชนะ | 36 | |
ชนะน็อก | 16 | |
แพ้ | 5 | |
เสมอ | 0 |
โฮซูมิ ฮาเซงาวะ (ญี่ปุ่น: 長谷川穂積 โรมาจิ: Hasegawa Hozumi) อดีตนักมวยระดับแชมเปียนโลกชาวญี่ปุ่น เกิดเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2523 ที่ เมืองนิชิวากิ จังหวัดเฮียวโงะ ประเทศญี่ปุ่น
ประวัติ[แก้]

โฮซูมิ ฮาเซงาวะได้ขึ้นชิงแชมป์โลกในรุ่นแบนตั้มเวท สภามวยโลก (WBC) กับ วีระพล นครหลวงโปรโมชั่น ในปี พ.ศ. 2548 และเป็นฝ่ายชนะคะแนนไปอย่างสูสี จากนั้นจึงป้องกันตำแหน่งกับเฆรัลโด มาร์ติเนซ นักมวยชาวเม็กซิกัน เป็นฝ่ายชนะน็อกไปในยกที่ 7 จากนั้นจึงให้วีระพลล้างตาอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2549 และเป็นฝ่ายชนะทีเคโอย้ำแค้นวีระพลไปได้อีกครั้งในยกที่ 9
โฮซูมิ ฮาเซงาวะ เป็นนักมวยหนุ่ม สภาพร่างกายแข็งแกร่ง มีช่วงชกยาว หมักหนักโดยเฉพาะอย่างยิ่งหมัดซ้าย ซึ่งฮาเซงาวะสามารถป้องกันตำแหน่งเอาไว้ได้ทั้งหมด 9 ครั้ง ก่อนที่จะเสียแชมป์ไปด้วยการแพ้ทีเคโอ ให้กับเฟร์นันโด มอนติเอล นักมวยชาวเม็กซิกัน ซึ่งเป็นแชมป์โลกในรุ่นเดียวกันนี้ของ WBO โดยถูกมอนติเอลรัวหมัดใส่ช่วงท้ายยกจนฮาเซงาวะประคองตัวไม่ไหวกรรมการยุติการชกไปใน 1 วินาทีสุดท้ายก่อนครบยกที่ 4 เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2553 [2]
จากนั้น ฮาเซงาวะจึงได้เลื่อนรุ่นขึ้นไปชกในรุ่นเฟเธอร์เวท ต่อมาได้ชิงแชมป์โลกในรุ่นเดียวกันสถาบันเดิม สามารถเอาชนะ ฆวน การ์โลส เบร์โกส นักมวยชาวเม็กซิกันไปได้ ทำให้กลายเป็นแชมป์โลกในรุ่นนี้ของสภามวยโลกไปด้วยการเอาชนะคะแนน
แต่เมื่อขึ้นชกป้องกันตำแหน่งครั้งแรกในไฟท์บังคับกับ โจนิ กอนซาเลซ รองแชมป์โลกอันดับ 1 ชาวเม็กซิกัน ก็เป็นฝ่ายแพ้ทีเคโอไปในยกที่ 4
ต่อมาในปี พ.ศ. 2557 ได้ลดรุ่นมาชิงแชมป์โลกในรุ่นซูเปอร์แบนตั้มเวท สหพันธ์มวยนานาชาติ (IBF) ก็เป็นฝ่ายแพ้ทีเคโอ กิโก มาร์ติเนซ แชมป์โลกชาวสเปนที่โอซากะไปในยกที่ 7
ฮาเซงาวะได้แชมป์โลกในรุ่นซูเปอร์แบนตั้มเวท WBC เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2559 จากการเอาชนะอาร์ทีดีในยกที่ 9 หลังจากอูโก รุยซ์ เจ้าของตำแหน่งชาวเม็กซิกันไม่ยอมออกจากมุม ทำให้เป็นแชมป์โลกไปเป็นรุ่นที่ 3[3]
ต่อมาในปลายปีเดียวกัน ฮาเซงาวะได้ประกาศแขวนนวม โดยให้เหตุผลว่าเต็มอิ่มกับการชกมวย ประกอบกับร่างกายก็ไม่แข็งแกร่งเหมือนเดิม[4]
เกียรติประวัติ[แก้]
- แชมป์ OPBF รุ่นแบนตั้มเวท
- ชิง 18 พฤษภาคม 2546 ชนะคะแนน เจส มาคา ที่ ญี่ปุ่น
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 1, 20 กรกฎาคม 2546 ชนะคะแนน ซานูโอะ อูโนะ ที่ ญี่ปุ่น
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 2, 9 พฤศจิกายน 2546 ชนะน็อค อัลวิน เฟลิซิดา ยก 10 ที่ ญี่ปุ่น
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 3, 23 พฤษภาคม 2547 ชนะคะแนน นรสิงห์ เกียรติประสานชัย ที่ ญี่ปุ่น
- สละแชมป์
- แชมป์โลก WBC รุ่นแบนตั้มเวท (2548-2553)
- ชิง 16 เมษายน 2548 ชนะคะแนน วีระพล นครหลวงโปรโมชั่น ที่ ญี่ปุ่น
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 1, 25 กันยายน 2548 ชนะน็อค เฆรัลโด มาร์ติเนซ ยก 7 ที่ ญี่ปุ่น
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 2, 25 มีนาคม 2549 ชนะทีเคโอ วีระพล นครหลวงโปรโมชั่น ยก 9 ที่ ญี่ปุ่น
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 3, 13 พฤศจิกายน 2549 ชนะคะแนน เฆนาโร การ์ซิอา ที่ ญี่ปุ่น
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 4, 3 พฤษภาคม 2550 ชนะคะแนน ซิมปิเว เวตเวกา ที่ ญี่ปุ่น
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 5, 10 มกราคม 2551 ชนะคะแนน ซิโมเน มาลูดรอตตู ที่ ญี่ปุ่น
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 6, 12 มิถุนายน 2551 ชนะน็อค คริสเตียน ฟากซิโอ ยก 2 ที่ ญี่ปุ่น
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 7, 16 ตุลาคม 2551 ชนะน็อค อเลฮานโดร บัลเดซ ยก 2 ที่ ญี่ปุ่น
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 8, 12 มีนาคม 2552 ชนะทีเคโอ วูซี มาลิงกา ยก 1 ที่ ญี่ปุ่น
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 9, 14 กรกฎาคม 2552 ชนะน็อค เนสตอร์ โรชา ยก 1ที่ ญี่ปุ่น
- เสียแชมป์, 30 เมษายน 2553 แพ้ทีเคโอ เฟร์นันโด มอนติเอล ยก 4 ที่ ญี่ปุ่น
- แชมป์โลก WBC รุ่นเฟเธอร์เวท (2553-2554)
- ชิง 26 พฤศจิกายน 2553 ชนะคะแนน ฮวน การ์โลส เบร์โกส ที่ ญี่ปุ่น
- เสียแชมป์, 8 เมษายน 2554 แพ้ทีเคโอ โจนิ กอนซาเลซ ยกที่ 4 ที่ ญี่ปุ่น
- แชมป์โลก WBC รุ่นซูเปอร์แบนตั้มเวท (2559)
- ชิง 16 กันยายน 2559 ชนะอาร์ทีดี อูโก รุยซ์ ยกที่ 9 ที่โอซากะ ญี่ปุ่น
- เคยชิงแชมป์ต่อไปนี้แต่ไม่ประสบความสำเร็จ
- ชิงแชมป์โลก WBO รุ่นแบนตั้มเวท , 30 เมษายน 2553 แพ้ทีเคโอ เฟร์นันโด มอนติเอล ยก 4 ที่ ญี่ปุ่น
- ชิงแชมป์โลก IBF รุ่นจูเนียร์เฟเธอร์เวท , 23 เมษายน 2557 แพ้ทีเคโอ กิโก มาร์ติเนซ ยกที่ 7 ที่ ญี่ปุ่น
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 長谷川、モンティエルともに異常なし WBCバンタム級戦予備検診 ボクシングニュース「Box-on!」 2010年4月27日 (ญี่ปุ่น)
- ↑ ฮาเซกาว่า เปิดใจหลังถูกน็อก.. ( ขอแก้มือ )
- ↑ "ร้อน..ยามานากะ-ฮาเซกาว่า." thairec. สืบค้นเมื่อ 2016-09-18.
- ↑ "Hozumi Hasegawa in Shock Retirement, Won't Defend WBC Belt". BoxingScene. 9 December 2016. Retrieved 9 December 2016.