ข้ามไปเนื้อหา

โศกาสาไถย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โศกาสาไถย (อังกฤษ: sadfishing) เป็นคำที่ใช้อธิบายแนวโน้มทางพฤติกรรมที่คนอ้างเกินจริงเกี่ยวกับปัญหาทางอารมณ์ของตนเพื่อเรียกร้องความเห็นใจ[1] คำในภาษาอังกฤษคือ "sadfishing" เป็นการเล่นคำกับคำว่า "catfishing" (การสร้างตัวตนสมมติออนไลน์) โศกาสาไถยเป็นปฏิกิริยาโดยทั่วไปของบุคคลที่เผชิญกับช่วงเวลาที่ยากลำบากหรือแสร้งทำเป็นกำลังเผชิญช่วงเวลาที่ยากลำบาก กล่าวกันว่าพฤติกรรมโศกาสาไถยทำร้ายเยาวชนโดยการเผยให้ตกเป็นการเป้าของการข่มเหงรังแกและการเตรียมเพื่อทารุณกรรมทางเพศ[2] เนื่องจากผู้คนที่แบ่งปันเรื่องราวและอารมณ์ส่วนตัวนี้ออกไปทางออนไลน์ บางครั้งการกระทำเช่นนี้ส่งผลให้ผู้ที่แบ่งปันเรื่องราวออกไปนี้ตกเป็นเป้าของผู้ข่มเหงรังแกทางออนไลน์[3] ผลที่ตามมาอีกประการของพฤติกรรมนี้คือกลุ่มคนที่มี "ปัญหาจริง" มักจะถูกมองข้ามหรือถูกกล่าวหาว่ากระทำโศกาสาไถยไปด้วยและถูกข่มเหงรังแกเพราะเรื่องนี้

มีรายงานระบุว่าเยาวชนที่แสวงหาความช่วยเหลือออนไลน์เริ่มถูกกล่าวหาว่าโศกาสาไถย โดยข้อกล่าวหาว่าโศกาสาไถยอาจส่งผลเสียต่อเยาวชนที่มีปัญหาเรื่องสุขภาพจิต[4] โศกาสาไถยมีความเกี่ยวข้องกับการระรานทางไซเบอร์และมักถูกมองว่าเป็นวิธีการเรียกร้องความสนใจ กล่าวกันว่าโศกาสาไถยดึงดูดผู้ข่มเหงรังแกและผู้มีความใคร่เด็ก[5]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Coughlan, Sean (October 1, 2019). "'Sadfishing' warning on social media". BBC News.
  2. Boyd, Milo; Gibbons, Brett (October 1, 2019). "Kendall Jenner-inspired 'sadfishing' trend 'puts children at risk of grooming'" – โดยทาง www.mirror.co.uk.
  3. Bernal, Natasha (October 1, 2019). "Sadfishing: The toxic social media trend that could be harming your child". The Telegraph – โดยทาง www.telegraph.co.uk.
  4. correspondent, Sally Weale Education (September 30, 2019). "Young people who seek support online being accused of 'sadfishing'". The Guardian – โดยทาง www.theguardian.com.
  5. Mahmood, Basit (October 1, 2019). "'Sadfishing' is playing into hands of paedophiles and bullies" – โดยทาง www.metro.co.uk.