ภาวะเลือดจางจากการสลายของเม็ดเลือดแดง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาวะเลือดจางจากการสลายของเม็ดเลือดแดง
ชื่ออื่นโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก, เฮโมไลติกเอนีเมีย (Hemolytic anemia, Haemolytic anaemia)
สาขาวิชาโลหิตวิทยา

ภาวะเลือดจางจากการสลายของเม็ดเลือดแดง[1] หรือ โลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก (อังกฤษ: Hemolytic anemia) เป็นรูปแบบหนึ่งของภาวะเลือดจาง (anaemia) ที่เกิดจากการเฮโมไลซิส (hemolysis) การสลายตัวอย่างผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือดแดง ไม่ว่าจะเป็นในหลอดเลือด (เฮโมไลซิสในหลอดเลือด; intravascular hemolysis) หรือที่อื่น ๆ ในร่างกายมนุษย์ (นอกหลอดเลือด; extravascular)[2] โดยทั่วไปพบเกิดในม้าม แต่ในความเป็นจริงสามารถเกิดในอวัยวะอื่น ๆ ในระบบ reticuloendothelial system หรืออาจเกิดในลักษณะเชิงกล (mechanically) (ลิ้นพรอสเทติกได้รับการกระทบกระเทือน; prosthetic valve damage)[2] ภาวะเลือดจางชนิดเฮโมไลติกคิดเป็น 5% ของภาวะเลือดจากทั้งหมดที่พบ[2] ผลที่ตามมาจากภาวะเลือดจางแบบเฮโมไลติกมีหลายประการ ตั้งแต่อาการทั่วไปจนถึงอาการที่เป็นอันตรายแก่ชีวิต[2] การจัดแบ่งโดยทั่วไปของภาวะเลือดจางแบบเฮโมไลติกนั้นแบ่งออกเป็นภายใน (intrinsic) หรือภายนอก (extrinsic)[3] การรักษานั้นแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับอาการและเหตุของโรค[2]

อาการของภาวะเลือดจางแบบเฮโมไลติกนั้นเหมือนกับอาการของภาวะเลือดจางรูปแบบอื่น ๆ (อ่อนเพลีย, อาการหายใจลำบาก) แต่นอกจากนี้ การสลายตัวของเซลล์เม็ดเลือดแดงยังนำไปสู่ดีซ่าน และเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว เช่น นิ่วในถุงน้ำดี[4] และ ภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูง [5]

อาการ[แก้]

อาการของภาวะเลือดจางแบบเฮโมไลติกนั้นเหมือนกับอาการทั่วไปของภาวะเลือดจาง[2] เช่น อ่อนเพลีย, ตัวซีด, หายใจลำบาก และ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ[2] ในเด็กเล็กอาจพบ ปัญหาการเจริญเติบโต (failure to thrive) ได้ในภาวะเลือดจางชนิดใด ๆ[6][7] นอกจากนี้ อาการที่เกี่ยวข้องกับเฮโมไลซิสอาจพบได้ เช่น หนาวสั่น, ดีซ่าน, ปัสสาวะสีเข้ม และม้ามโต[2] ประวัติทางการแพทย์ในบางมุมอาจนำไปสู่เหตุของการเกิดเฮโมไลซิสได้ เช่น ยา, โรคออโตอิมมูน (autoimmune disorders), ปฏิกิริยาเนื่องด้วยการถ่ายเลือด (blood transfusion), การมีลิ้นหัวใจเทียม เป็นต้น[2]

เฮโมไลซิสเรื้อรัง (Chronic hemolysis) ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของการขับบิลลิรูบินออกไปยังทางเดินน้ำดี ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดนิ่วในถุงน้ำดี[8] การปล่อยเฮโมโกลบินอิสระอย่างต่อเนื่อง (continuous release of free hemoglobin) เกี่ยวพันกับการเกิดภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูง (pulmonary hypertension; PH) ซึ่งภาวะนี้อาจนำไปสู่การวูบ (fainting), เจ็ลหน้าอก (chest pain) และอาการหอบแบบก้าวหน้า (progressive breathlessness)[9] ภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูง (pulmonary hypertension; PH) ในที่สุดจะนำไปสู่หัวใจห้องล่างขวาหัวใจล้มเหลว (right ventricular heart failure) ซึ่งมีอาการคือการบวมส่วนปลาย และอาการท้องมาน (ascites)[9]

อ้างอิง[แก้]

  1. รวมสองคำศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน คือ haemolytic (รูป adjective ของ haemolysis) = การสลายของเม็ดเลือดแดง, anaemia = ภาวะเลือดจาง ดังที่ระบุในศัพท์วิทยาศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ ๕ พ.ศ. ๒๕๔๖)
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 2.8 Capriotti, Theresa (2016). Pathophysiology : introductory concepts and clinical perspectives. Frizzell, Joan Parker. Philadelphia. ISBN 978-0-8036-1571-7. OCLC 900626405.
  3. Philadelphia, The Children's Hospital of (2014-03-30). "Hemolytic Anemia". chop.edu (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-02-25.
  4. Trotman, BW (1991). "Pigment gallstone disease". Gastroenterology Clinics of North America. 20 (1): 111–26. ISSN 0889-8553. PMID 2022417.
  5. Machado, Roberto F.; Gladwin, Mark T. (2010). "Pulmonary Hypertension in Hemolytic Disorders". Chest. Elsevier BV. 137 (6): 30S–38S. doi:10.1378/chest.09-3057. ISSN 0012-3692. PMC 2882115. PMID 20522578.
  6. Kahre, Tiina; Teder, Maris; Panov, Maarja; Metspalu, Andres (2004). "Severe CF manifestation with anaemia and failure to thrive in a 394delTT homozygous patient". Journal of Cystic Fibrosis. Elsevier BV. 3 (1): 58–60. doi:10.1016/j.jcf.2003.12.009. ISSN 1569-1993. PMID 15463888.
  7. Hypoproteinemia, Anemia, and Failure to Thrive in an Infant
  8. Levitt, Robert E.; Ostrow, Donald J. (1980). "Hemolytic Jaundice and Gallstones". Gatroenterology. 78 (4): 821–830. doi:10.1016/0016-5085(80)90690-3.
  9. 9.0 9.1 Schrier, R. W., & Bansal, S. (2008). Pulmonary hypertension, right ventricular failure, and kidney: different from left ventricular failure?. Clinical journal of the American Society of Nephrology : CJASN, 3(5), 1232–1237. https://doi.org/10.2215/CJN.01960408

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก