โลมาแม่น้ำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โลมาแม่น้ำ
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 0.012–0Ma
ควอเทอร์นารี – ปัจจุบัน[1]
P. gangetica กระโจนออกจากน้ำ
ขนาดเมื่อเทียบกับมนุษย์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
อันดับ: สัตว์กีบคู่
อันดับฐาน: วาฬและโลมา
วงศ์: Platanistidae
สกุล: Platanista
Wagler, 1830
ชนิดต้นแบบ
Platanista gangetica
ชนิด

Platanista gangetica
Platanista minor

แผนที่การกระจายพันธุ์ของโลมาแม่น้ำคงคา และโลมาแม่น้ำสินธ์

โลมาแม่น้ำ หรือ โลมาน้ำจืด (อังกฤษ: River dolphin, Freshwater dolphin) เป็นวงศ์ใหญ่ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกลุ่มหนึ่ง ใน อันดับสัตว์กีบคู่ (Artiodactyla) ในอันดับฐานวาฬและโลมา (Cetacea) ในกลุ่มโลมา ใช้ชื่อวงศ์ใหญ่ว่า Platanistoidea ซึ่งแยกออกเป็นวงศ์ต่าง ๆ ได้อีก นับเป็นสัตว์เพียงจำพวกเดียวในอันดับฐานวาฬและโลมานี้เท่านั้นที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดได้อย่างแท้จริง

โลมาแม่น้ำ มีลักษณะส่วนใหญ่เหมือนกับโลมาทั่วไป หรือโลมาทะเล มีความยาวเต็มที่ประมาณ 2.4 เมตร (8 ฟุต) มีสีลำตัวหลากหลายตั้งแต่ ชมพู, ขาว, เหลือง, น้ำตาล และดำ[2]

แต่โลมาแม่น้ำ มีความแตกต่างไปจากโลมากลุ่มอื่น คือ ส่วนจมูกที่เรียวยาวกว่า มีความยาวประมาณ 58 เซนติเมตร (2 ฟุต) หรือประมาณสี่เท่าของความยาวของโลมาทะเล ส่วนใหญ่จะมีดวงตาขนาดเล็ก และมีความสามารถในการมองเห็นน้อยกว่า เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่อาศัยส่วนใหญ่จะเป็นแม่น้ำที่มีน้ำขุ่น สภาพพื้นน้ำเป็นโคลนตมขุ่นมัว นอกจากนี้แล้วโลมาแม่น้ำมีความกระตือรือร้นน้อยกว่าโลมาทะเล อันเป็นผลมาจากการวิวัฒนาการเนื่องจากสภาพแวดล้อม โลมาแม่น้ำจะกินปลาเป็นอาหารหลัก[2]

การจำแนก[แก้]

ปัจจุบัน โลมาแม่น้ำแบ่งออกได้เป็น 5 ชนิด 3 ชนิดอาศัยอยู่ในน้ำจืดแท้ ๆ คือ แม่น้ำสายใหญ่ หรือทะเลสาบน้ำจืด ในทวีปเอเชีย คือ จีนและอินเดียอย่างละ 1 ชนิด, ในทวีปอเมริกาใต้ 2 ชนิด และอีก 1 ชนิด อาศัยอยู่ในน้ำกร่อย เช่น ปากแม่น้ำของทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งทุกชนิดจัดเป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์แล้วทั้งสิ้น

หมายเหตุ[แก้]

มีโลมาบางชนิด เช่น โลมาหัวบาตร หรือโลมาหัวบาตรไร้ครีบหลัง ซึ่งสามารถอยู่ในน้ำจืดได้เช่นกัน แต่มิใช่เป็นโลมาแม่น้ำเนื่องจาก โลมาหัวบาตรจัดอยู่ในวงศ์ Delphinidae หรือโลมาทะเล ขณะที่โลมาหัวบาตรไร้ครีบหลัง อยู่ในวงศ์ Phocoenidae หรือพอร์พอยส์

อ้างอิง[แก้]

  1. "Platanista Wagler 1830 (toothed whale)". Fossilworks.
  2. 2.0 2.1 2.2 Rice, D. W. (1998). Marine mammals of the world: systematics and distribution. Society of Marine Mammalogy Special Publication Number 4. pp. 231
  3. Hamilton, H., S. Caballero, A. G. Collins, and R. L. Brownell Jr. (2001). "Evolution of river dolphins". Proceedings of the Royal Society of London Series B: Biological Sciences. 268 (1466): 549–556. doi:10.1098/rspb.2000.1385. PMC 1088639. PMID 11296868.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  4. doi:10.1371/journal.pone.0083623
    This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand
  5. McGrath, M. (2014-01-22). "Brazil dolphin is first new river species since 1918". BBC. สืบค้นเมื่อ 2014-01-23.
  6. Anderson, N. (2014-01-24). "Inia araguaiaensis: New Species of River Dolphin Found in Brazil". Sci-News.com. สืบค้นเมื่อ 2014-01-30.
  7. Turvey, S. T., R. L. Pitman, B. L. Taylor, J. Barlow, T. Akamatsu, L. A. Barrett, X. Zhao, R. R. Reeves, B. S. Stewart, K. Wang, Z. Wei, X. Zhang, L. T. Pusser, M. Richlen, J. R. Brandon and D. Wang (2007). "First human-caused extinction of a cetacean species?". Journal of the Royal Society, Biology Letters. 3 (5): 537–540. doi:10.1098/rsbl.2007.0292. PMC 2391192. PMID 17686754.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  8. All Headline News, Dec. 2006.

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]