ข้ามไปเนื้อหา

วงศ์ปลาโรนัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โรนัน)
ปลาโรนัน
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: จูราสสิกตอนต้น-ปัจจุบัน[1]
ปลาโรนันจุดขาว (Rhynchobatus djiddensis)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Chondrichthyes
ชั้นย่อย: Elasmobranchii
อันดับ: Rajiformes
วงศ์: Rhinobatidae
Müller & Henle, 1837
สกุล
ดูในเนื้อหา

ปลาโรนัน (อังกฤษ: Guitarfishes) ปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ Rhinobatidae มีรูปร่างคล้ายปลาฉลามแต่มีส่วนหัวแบนแหลมเหมือนปลากระเบน ซึ่งเป็นรอยต่อของวิวัฒนาการจากปลาฉลามมาถึงปลากระเบน โดยวิวัฒนาการมาตั้งแต่ยุคจูราสสิกตอนต้น พบในเขตน้ำอุ่นและเขตร้อนทั่วโลก ทั้งทวีปอเมริกาเหนือ, ทวีปแอฟริกา, เอเชีย และออสเตรเลียทางตอนเหนือ

ลักษณะและพฤติกรรม

[แก้]

มีปากอยู่บริเวณด้านล่างของลำตัวเหมือนปลากระเบน หรือปลาฉนาก อาศัยและว่ายน้ำรวมกันเป็นฝูงใหญ่ โดยปกติปลาตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้มาก ออกลูกเป็นตัว โดยไข่พัฒนาอยู่ในลำตัวแม่ เป็นปลาที่พบได้น้อยและมีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์แล้วทุกชนิด ในน่านน้ำของไทย เคยพบอยู่บ้างในอดีตทั้งทะเลอันดามันและอ่าวไทย และเคยถูกเบ็ดหรือแห ของชาวประมงเกี่ยวติดขึ้นมาบ้าง แต่มิได้โดยตั้งใจเพราะมิใช่ปลาเศรษฐกิจ อีกทั้งยังนิยมตกเป็นเกมกีฬา ได้ถูกพบเห็นบ้างโดยนักดำน้ำ ที่บริเวณหมู่เกาะสิมิลัน และรอบกองหินริเชริว ปลาโรนันขนาดโตเต็มที่อาจมีขนาดได้ถึง 3 เมตร น้ำหนักกว่า 200 กิโลกรัม ที่พบในน่านน้ำไทยได้แก่ชนิด Rhynchobatus djiddensis และชนิด Rhinobatos productus เป็นต้น[2]

เป็นปลาที่หากินตามพื้นท้องน้ำเช่นพื้นโคลนหรือพื้นทรายเหมือนปลากระเบน โดยกินสัตว์น้ำขนาดเล็ก เช่น ไส้เดือนทะเล, ปู, กุ้ง[3] บางครั้งอาจพบได้ตามปากแม่น้ำ, แหล่งน้ำกร่อย หรือกระทั่งน้ำจืด[4] แต่โดยปกติแล้วจะอยู่ตามชายฝั่ง และพบในความลึกไม่เกิน 30 เมตร[4]

การจำแนก

[แก้]

ตามหนังสือ Fishes of the World ในปี ค.ศ. 2006 ได้จำแนกออกเป็นสกุลต่าง ๆ ได้ดังนี้ คือ Aptychotrema , Rhinobatos , Trygonorrhina และ Zapteryx ขณะที่ในสกุล Platyrhinoidis และ Rhina , ได้ถูกจำแนกไว้ในวงศ์ของตนเอง และเมื่อเร็ว ๆ นี้สกุล Glaucostegus ได้แยกออกจาก Rhinobatos รวมถึง Tarsistes ก็ยังไม่ที่แน่นอน

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Froese, Rainer, and Daniel Pauly, eds. (2011). "Rhinobatidae" ในฐานข้อมูลปลา. ฉบับ February 2011
  2. นะแส, บรรจง (April 8, 2013). "30 ปีที่เจ้าโรนันหายไป...และเขาก็กลับมา". ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ July 16, 2016.[ลิงก์เสีย]
  3. "Shovelnose guitarfish, Sandy Seafloor, Fishes, Rhinobatos productus at the Monterey Bay Aquarium". Monterey Bay Aquarium. Monterey Bay Aquarium Foundation. สืบค้นเมื่อ 1 May 2015.
  4. 4.0 4.1 Sullivan, Taylor. "FLMNH Ichthyology Department: Atlantic Guitarfish". Florida Museum of Natural History. Florida Museum of Natural History. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-04. สืบค้นเมื่อ 1 May 2015.
  5. 5.0 5.1 Last, White & Fahmi 2006 (2006). "Rhinobatos jimbaranensis and R. penggali, two new shovelnose rays (Batoidea: Rhinobatidae) from eastern Indonesia". Cybium. 30 (3): 262ff.
  6. Peter R. Last; Leonard J.V. Compagno; Kazuhiro Nakaya (2004). "Rhinobatos nudidorsalis, a new species of shovelnose ray (Batoidea: Rhinobatidae) from the Mascarene Ridge, central Indian Ocean". Ichthyological Research. 51 (2): 153–158. doi:10.1007/s10228-004-0211-0.
  7. 7.0 7.1 Last, P.R., Ho, H.-C. & Chen, R.-R. (2013): A new species of wedgefish, Rhynchobatus immaculatus (Chondrichthyes, Rhynchobatidae), from Taiwan. Pp. 185-198 in: de Carvalho, M.R., Ebert, D.A., Ho, H.-C. & White, W.T. (eds.) : Systematics and biodiversity of sharks, rays, and chimaeras (Chondrichthyes) of Taiwan. Zootaxa, 3752 (1): 1–386.
  8. Compagno, L.J.V. & Marshall, A.D. (2006). "Rhynchobatus sp. nov. A". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2014.1.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]