โรงพยาบาลอินโดนีเซีย

พิกัด: 31°32′6.7290″N 34°30′41.6884″E / 31.535202500°N 34.511580111°E / 31.535202500; 34.511580111
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงพยาบาลอินโดนีเซีย
المستشفى الإندونيسي
Medical Emergency Rescue Committee
แผนที่
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งบัยต์ลาฮิยา, เขตผู้ว่าการกาซาเหนือ, ฉนวนกาซา, รัฐปาเลสไตน์
พิกัด31°32′6.7290″N 34°30′41.6884″E / 31.535202500°N 34.511580111°E / 31.535202500; 34.511580111
หน่วยงาน
รูปแบบทุนไม่แสวงผลกำไร
ประเภทไม่แสวงผลกำไร
บริการสุขภาพ
จำนวนเตียง110
ประวัติ
เริ่มก่อสร้างพ.ศ. 2554
เปิดให้บริการ9 มกราคม พ.ศ. 2559

โรงพยาบาลอินโดนีเซีย (อาหรับ: المستشفى الإندونيسي, อักษรโรมัน: al-Mustashfá al-Indūnīsī) เป็นโรงพยาบาลที่ตั้งอยู่ในเมือง บัยต์ลาฮิยา (بيت لاهيا) เขตผู้ว่าการกาซาเหนือ ฉนวนกาซา รัฐปาเลสไตน์

โรงพยาบาลเริ่มก่อสร้างใน พ.ศ. 2554 บนพื้นที่ขนาด 16,000 ตารางเมตรซึ่งได้รับบริจาคจากรัฐบาลของกาซา[1][2] โครงการมีมูลค่า 1.26 แสนล้านรูปียะฮ์ โดยได้รับทุนจากการบริจาคของประชาชนและจากองค์กรในประเทศอินโดนีเซีย เช่น สภากาชาดอินโดนีเซียและสมาคมมูฮัมมาดียะฮ์ (อินโดนีเซีย: Persyarikatan Muhammadiyah) รวบรวมผ่านคณะกรรมการช่วยเหลือฉุกเฉินทางการแพทย์ (Medical Emergency Rescue Committee, MER-C) ซึ่งเป็นองค์กรมนุษยธรรมในอินโดนีเซีย[3][4] มูฮัมมัด จูซูฟ กัลลา (Muhammad Jusuf Kalla) รองประธานาธิบดีอินโดนีเซียทำพิธีเปิดโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2559[1]

โรงพยาบาลมีเตียงผู้ป่วย 100 เตียง ห้องผ่าตัด 4 ห้อง และหออภิบาลผู้ป่วยหนัก 10 เตียง[2][5] เจ้าหน้าที่ประกอบด้วยชาวปาเลสไตน์ประมาณ 400 คน ซึ่งได้รับค่าจ้างจากกระทรวงสาธารณสุขของฉนวนกาซา และอาสาสมัครชาวอินโดนีเซียจำนวนหนึ่ง[1]

สงครามอิสราเอล–ฮะมาส พ.ศ. 2566[แก้]

ในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 กองกำลังป้องกันอิสราเอลได้ปิดล้อมโรงพยาบาลอย่างสมบูรณ์ โดยเป็นส่วนหนึ่งของการรุกรานฉนวนกาซา ในสงครามอิสราเอล–ฮะมาส พ.ศ. 2566[6][7]

อิสราเอลอ้างว่านักรบฮะมาสใช้โรงพยาบาลเพื่อวัตถุประสงค์ทางการทหาร แม้ว่าประเด็นนี้จะถูกโต้แย้งก็ตาม[8][9][10]

ภายหลังการจู่โจม รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย เริตโน มาร์ซูดี (Retno Lestari Priansari Marsudi) ออกแถลงการณ์ "ประณามอย่างรุนแรงที่สุด" ซึ่งเป็นความพยายามในการผลักดันให้มีการหยุดยิงเพื่อคำนึงถึงจริยธรรม[11] โดยได้แถลงระหว่างการเยือนทางการทูตในประเทศจีน ซึ่งจีนดำรงตำแหน่งประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2566

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Benamara, Nadia. "Indonesia Hospital saves lives in Gaza - OPEC Fund for International Development". The OPEC Fund for International Development (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2023.
  2. 2.0 2.1 "Indonesia Hospital Opens in Gaza Strip". Hospimedica.com. 11 เมษายน 2016. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2023.
  3. "OPT: RI to build hospital in Gaza - occupied Palestinian territory". ReliefWeb (ภาษาอังกฤษ). 4 กุมภาพันธ์ 2009. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2023.
  4. "Indonesia Hospital in Gaza denotes Indonesians solidarity with Palestinians: VP - Vice President of The Republic of Indonesia". Wakil Presiden Republik Indonesia (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). Kementerian Sekretariat Negara Republik Indonesia. 9 มกราคม 2016. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2023.
  5. "Gaza Strip gets first new hospital in a decade, two more due this year". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 6 มกราคม 2016. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2023.
  6. Dadouch, Sarah (20 พฤศจิกายน 2023). "Another Gaza hospital caught in fighting, as storms deepen civilian misery". The Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2023.
  7. Gritten, David (20 พฤศจิกายน 2023). "Israeli tanks surround north Gaza's Indonesian Hospital". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2023.
  8. Mahfouz, Heba; Dadouch, Sarah. "Another Gaza hospital caught in fighting, as storms deepen civilian misery". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2023.
  9. "Deadly Strike Rocks a Hospital in Gaza, Where Few Are Still Working". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2023.
  10. AFP. "IDF says Hamas using Indonesian Hospital to hide terror base; Jakarta pushes back". The Times of Israel. สืบค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2023.
  11. Tanamal, Yvette. "Indonesia incensed by Israeli attack on Gaza hospital". thejakartapost.com. The Jakarta Post. สืบค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2023.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]