โรงพยาบาลอัชชิฟาอ์

พิกัด: 31°31′27″N 34°26′39″E / 31.52417°N 34.44417°E / 31.52417; 34.44417
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงพยาบาลอัชชิฟาอ์
แผนที่
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งนครกาซา, ฉนวนกาซา, ดินแดนปาเลสไตน์
พิกัด31°31′27″N 34°26′39″E / 31.52417°N 34.44417°E / 31.52417; 34.44417
หน่วยงาน
ระบบการบริการอายุรศาสตร์, ศัลยศาสตร์, กุมารเวชศาสตร์, จักษุวิทยา, นรีเวชวิทยา, สูติศาสตร์
ประวัติ
เปิดให้บริการทศวรรษ 1920

โรงพยาบาลอัชชิฟาอ์ (อาหรับ: مستشفى الشفاء, ออกเสียง: [musˈtaʃ.fa‿ʃ.ʃiˈfaːʔ]) เป็นโรงพยาบาลกลางและพื้นที่บริการทางการแพทย์ที่ใหญ่ที่สุดในฉนวนกาซา ตั้งอยู่ในย่านริมัลเหนือในนครกาซา[1]

เดิมทีโรงพยาบาลนี้เป็นค่ายทหารของกองทัพบกสหราชอาณาจักร ต่อมาแปรสภาพเป็นโรงพยาบาลในชื่อ ดารุชชิฟาอ์ ("บ้านแห่งการรักษา") โดยรัฐบาลปาเลสไตน์ในอาณัติในปี 1946 มีการขยับขยายโรงพยาบาลในระหว่างกาซาถูกอียิปต์ยึดครอง และต่อมาเมื่อถูกอิสราเอลยึดครองในทศวรรษ 1980 ในศตวรรษที่ 21 โรงพยาบาลนี้มีบทบาทอย่างมากในข้อพิพาทระหว่างอิสราเอลกับกาซา เช่น ในระหว่างสงครามกาซาปี 2008-2009 รายงานข่าวส่วนใหญ่ถ่ายทอดมาจากที่โรงพยาบาลนี้

ในปี 2014 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวโทษว่ากองกำลังฮะมาสใช้โรงพยาบาลนี้เพื่อทรมานและสังหารชาวปาเลสไตน์ที่ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมกับอิสราเอล[2] อดีตเจ้าหน้าที่รัฐของอิสราเอลคนหนึ่งเคยกล่าวเช่นกันว่าผู้นำของฮะมาสหลบอาศัยอยู่ในโรงพยาบาลนี้[3][4] เอริก ฟ็อสเซอ และมัดส์ กิลเบิร์ต แพทย์ชาวนอร์เวย์ซึ่งปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลนี้ กล่าวว่าพวกเขาไม่พบเห็นหลักฐานใดก็ตามว่ามีกิจกรรมทางทหารอยู่ในโรงพยาบาลนี้ในระหว่างเกิดสงคราม[5]

ในระหว่างสงครามอิสราเอล–ฮะมาส พ.ศ. 2566 อิสราเอลกล่าวอ้างโดยมีสหรัฐรับรอง[6][7] ว่าโรงพยาบาลนี้ถูกใช้งานเป็นฐานปฏิบัติการทางการทหารของฮะมาส กระนั้นทั้งฮะมาสและผู้บริหารโรงพยาบาลปฏิเสธคำกล่าวอ้างนี้[8][9] ต่อมากองกำลังของอิสราเอลได้บุกค้นโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2023 และรายงานว่าพบอาวุธในอาคารโรงพยาบาล[10] การบุกค้นโรงพยาบาลในครั้งนี้ถูกประนามไปทั่วโดยหน่วยงานรัฐบาลต่าง ๆ สหประชาชาติ และองค์การมนุษยธรรมต่าง ๆ[11][12] ต่อมายังมีการค้นพบโพรงในอาณาบริเวณของโรงพยาบาลซึ่งกองทัพอิสราเอลบรรยายว่าเป็น "ทางเข้าอุโมงค์"[13] ซีเอ็นเอ็นยืนยันว่ามีอุโมงค์นี้อยู่จริง[14] กระนั้น นิวยอร์กไทมส์ ชี้ให้เห็นว่าก็ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าโรงพยาบาลถูกใช้งานเป็นศูนย์บัญชาการทางการทหาร กองทัพอิสราเอลยังได้เผยแพร่ท่อนฟิล์มที่แสดงอุปกรณ์ถ่ายวิดีโอลอดเข้าไปในอุโมงค์ภายในจนถึงประตูกันระเบิด[15] อย่างไรก็ตาม มีการให้ข้อมูลว่าอุโมงค์นี้สร้างขึ้นในทศวรรษ 1980 โดยอิสราเอลเองในระหว่างการก่อสร้างขยายโรงพยาบาล เอฮุด บารัก อดีตนายกรัฐมนตรีอิสราเอล ระบุข้อมูลดังกล่าวไว้ในบทสัมภาษณ์ของซีเอ็นเอ็น[16] นอกจากนี้ กองทัพอิสราเอลยังเผยแพร่วิดีโอจากกล้องวงจรปิดที่แสดงให้เห็นตัวประกันถูกพาตัวเข้ามาในโรงพยาบาล[17]

อ้างอิง[แก้]

  1. Al-Shifa Hospital and Israel's Gaza Siege เก็บถาวร 21 ตุลาคม 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Defence for Children International Palestine Section. 16 July 2006.
  2. "Gaza: Palestinians tortured, summarily killed by Hamas forces during 2014 conflict". Amnesty International. 27 May 2015. สืบค้นเมื่อ 4 November 2023.
  3. McCoy, Terrence (31 July 2014). "Why Hamas stores its weapons inside hospitals, mosques and schools". The Washington Post. He also reported that Shifa Hospital in Gaza City had "become a de facto headquarters for Hamas leaders, who can be seen in the hallways and offices."
  4. "Hamas leaders again 'hiding under hospital'". Times of Israel. 11 July 2014.
  5. Harriet Sherwood (23 June 2015). "Doctor Mads Gilbert on working under siege in Gaza's Shifa hospital: 'My camera is my Kalashnikov'". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 27 October 2023. I have never seen any activities in the Shifa that would violate the Geneva conventions. But I didn't explore every corner of the large hospital compound. If I saw anything inside the Shifa that in my opinion violated the Geneva conventions and, should I say, the 'holiness' of a hospital, I would have left
  6. Crawford and Nagle, Shannon and Molly. "US 'still convinced' Hamas used Al-Shifa Hospital as command center as Israeli raid continues". ABC News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-11-23.
  7. "Thousands trapped as Israeli forces raid Gaza's al-Shifa Hospital". Al Jazeera English. สืบค้นเมื่อ 15 November 2023.
  8. "Hamas's main operations base is under Shifa Hospital in Gaza City, says IDF". The Times of Israel.
  9. "Israeli forces raid Gaza's largest hospital, where hundreds of patients are stranded by fighting". AP News (ภาษาอังกฤษ). 15 November 2023. สืบค้นเมื่อ 15 November 2023.
  10. "Al-Shifa: What we know about Israel's raid on Gaza's main hospital". BBC. 16 November 2023. สืบค้นเมื่อ 17 November 2023.
  11. "'Hospitals are not battlegrounds': World reacts to Israel's al-Shifa raid". Al Jazeera.
  12. Burke, Jason; Sinmaz, Emine (15 November 2023). "Israeli troops enter Gaza's al-Shifa hospital in 'targeted operation'". The Guardian.
  13. Pan, Philip P.; Kingsley, Patrick (17 November 2023). "Israel-Hamas War: Israeli Army Takes Journalists on Controlled Visit to Gaza Hospital". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 17 November 2023.
  14. Liebermann, Oren (20 November 2023). "CNN visited the exposed tunnel shaft near Al-Shifa Hospital. Here's what we saw". CNN. สืบค้นเมื่อ 20 November 2023.
  15. "Israel says 55-metre fortified tunnel found under Gaza's Shifa hospital". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2023-11-19. สืบค้นเมื่อ 2023-11-19.
  16. Subramaniam, Tara; Upright, Ed; Hayes, Mike; Chowdhury, Maureen; Vera, Amir (20 November 2023). "Hamas is using bunkers built by Israel under Al-Shifa Hospital, former Israeli prime minister says". CNN.
  17. "Israel-Hamas War Day 44 | IDF Shows Footage of Hostages Inside Gaza's Al-Shifa Hospital, Says Israeli Soldier Was Taken There and Killed". Haaretz (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-11-19.