โรงพยาบาลราชธานี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงพยาบาลราชธานี
ประเภทบริษัทมหาชน
การซื้อขาย
SET:RJH
อุตสาหกรรมบริการ
ก่อตั้งพ.ศ. 2533
สำนักงานใหญ่เลขที่ 111 หมู่ที่ 3 ถนนโรจนะ ตำบลคลองสวนพลู อำเภอพระนครศรีอยุธยา พระนครศรีอยุธยา 13000
บุคลากรหลัก
สุดธิดา จิระพัฒน์สกุล
สุรินทร์ ประสิทธิ์หิรัญ
เว็บไซต์www.rajthanee.com

บริษัท โรงพยาบาลราชธานี จำกัด (มหาชน) เป็นกลุ่มบริษัทประกอบกิจการสถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน ในลักษณะโรงพยาบาลทั่วไป ภายใต้ชื่อ "โรงพยาบาลราชธานี" และ "โรงพยาบาลราชธานี โรจนะ" ทั้งสองแห่งตั้งอยู่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีจำนวนเตียงผู้ป่วยภายใต้การบริหารงานรวม 353 เตียง ปัจจุบันเปิดให้บริการศูนย์การแพทย์เฉพาะทางหลากหลาย เช่น ศูนย์โรคกระดูกและข้อ ศูนย์ผ่าตัดด้วยกล้อง คลินิกยาต้านโรคมะเร็ง ศูนย์หัวใจ ศูนย์อุบัติเหตุขนาดใหญ่ และศูนย์ความงาม

เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2533 โดยคณะแพทย์จากคณะแพทยศาสตร์ ศิริราช ได้แก่ นายแพทย์วชิระ วุฒิกุลประพันธ์ แพทย์หญิงพรทิพย์ วุฒิกุลประพันธ์ และนายแพทย์สุรินทร์ ประสิทธิ์หิรัญ ร่วมกับกลุ่มนักธุรกิจ ภายใต้ชื่อ บริษัท อยุธยาเวชการ จำกัด เพราะเห็นว่าพื้นที่อันเป็นแหล่งที่ตั้งของโรงงานและนิคมอุตสาหกรรมนี้ ยังขาดแคลนบริการสาธารณสุข โรงพยาบาลราชธานีถือเป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ตำบลคลองสวนพลู อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยเริ่มดำเนินงานปี พ.ศ. 2535[1][2]

บริษัทได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559[3] จากข้อมูล พ.ศ. 2566 มีโครงสร้างผู้ถือหุ้นประกอบด้วย บริษัท โรงพยาบาลราชธานี จำกัด (มหาชน) สัดส่วน 55% บริษัท โรงพยาบาลรามคำแหง จำกัด (มหาชน) สัดส่วน 7%, บริษัท โรงพยาบาลวิภาราม จำกัด สัดส่วน 7%, บริษัท สินแพทย์ จำกัด สัดส่วน 7% และผู้ถือหุ้นรายย่อย สัดส่วน 24%[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. "บริษัท โรงพยาบาลราชธานี จำกัด (มหาชน)" (PDF).
  2. "โรงพยาบาลราชธานี ใช้สื่อสารไฮเทครับมือโควิด-19". มติชน.
  3. "รุก 'แพทย์เฉพาะทาง' ขุมทรัพย์ใหญ่ RJH". กรุงเทพธุรกิจ.
  4. "RJH ควัก 467 ล้าน ตั้งโรงพยาบาลใหม่ย่าน "ร่มเกล้า"". ข่าวหุ้น.