โรคกลัวรัก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โรคกลัวรัก (Philophobia) เป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในกลุ่มโรคกลัว (phobia) และโรควิตกกังวลล่วงหน้า (anticipatory anxiety) ผู้ป่วยจะกลัวการตกหลุมรัก และกลัวการพัฒนาความสัมพันธ์ทางอารมณ์กับคนอื่น การแพทย์เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า ความวิตกกังวลถึงสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นในอนาคต

โรคกลัวรักไม่ใช่โรควิตกกังวลสังคม อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคกลัวรักมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรควิตกกังวลสังคมร่วมด้วย นอกจากนี้ผู้ป่วยยังมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้า และมีความเสี่ยงที่จะใช้สารเสพติด

สาเหตุ[แก้]

การแพทย์ในปัจจุบันยังไม่ระบุสาเหตุของโรคกลัวความรักอย่างแน่ชัด แต่คาดว่าเกิดจากเหตุการณ์แง่ลบในอดีตของผู้ป่วย ซึ่งเคยผ่านความสัมพันธ์ที่กระทบกระเทือนต่อจิตใจ หรืออาจเกิดจากสภาพแวดล้อมของผู้ป่วย เช่นการที่ผู้ป่วยเติบโตมาในครอบครัวที่มีปัญหาหย่าร้าง หรือครอบครัวที่มีการใช้ความรุนแรง หรือการที่ผู้ป่วยอยู่ในสังคมที่มีกรอบทางศาสนาหรือวัฒนธรรม

อาการ[แก้]

ผู้ป่วยโรคกลัวรักจะมีอาการแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล และอาจเกิดขึ้นอย่างไม่มีเหตุผล อาการที่ว่านี้อาจแสดงออกทางอารมณ์และหรือทางร่างกาย[1] เช่นเดียวกับกับโรคอื่นในกลุ่มโรคกลัว

  • รู้สึกระแวงจัดหรือวิตกกังวล
  • หลีกเลี่ยงผู้คน
  • เหงื่อออก
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • หายใจลำบาก
  • ทำกิจวัตรลำบาก
  • คลื่นใส้

อ้างอิง[แก้]