โยเซ็ฟ ชเต็ฟฟัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โยเซ็ฟ ชเต็ฟฟัน

โยเซ็ฟ ชเต็ฟฟัน (เยอรมัน: Joseph Stefan; สโลวีเนีย: Jožef Štefan; 24 มีนาคม 1835 – 7 มกราคม 1893)[1] เป็นนักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์ และกวีชาวออสเตรียเชื้อสายสโลวีเนีย

ชเต็ฟฟันเกิดในเมืองซังคท์เพเทอร์ไบเอเบินทาล (St. Peter bei Ebenthal) ในรัฐคารินเทียของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเมืองคลาเกินฟวร์ท แม้ว่าเขาจะไม่ได้เกิดในครอบครัวที่ร่ำรวย แต่ผลการเรียนที่ยอดเยี่ยมของเขาทำให้เขาได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัย เขาได้เรียนคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยเวียนนา ในปี 1853 เขาได้ใช้ชีวิตในวัยหนุ่มในช่วงการปฏิวัติเวียนนาในปี 1848 และเขียนและตีพิมพ์บทกวีเป็นภาษาสโลวีเนีย ในฐานะนักเรียน เขาสอนวิชาฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยเวียนนา และในปี 1866 ได้เป็นคณบดีภาควิชาฟิสิกส์ของมหาวิทยาลัยเวียนนา และเป็นรองประธานของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งเวียนนา

ชเต็ฟฟันตีพิมพ์เอกสารประมาณ 80 ฉบับในกระดานข่าวของสถาบันวิทยาศาสตร์เวียนนา และสิ่งพิมพ์อื่น ๆ แต่ผลงานที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดของเขาคือ กฎการแผ่รังสีจากวัตถุดำซึ่งตีพิมพ์ในปี 1879 โดยได้อธิบายว่าปริมาณรังสีจากวัตถุสีดำ j* เป็นสัดส่วนกับอุณหภูมิ T ยกกำลังสี่:

ในที่นี้ เป็นค่าคงตัว เรียกว่าค่าคงตัวของชเต็ฟฟัน–บ็อลทซ์มัน และกฎนี้มีชื่อเรียกว่ากฎของชเต็ฟฟัน–บ็อลทซ์มันเนื่องจากลูทวิช บ็อลทซ์มัน ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของเขาได้ทำการวิเคราะห์ทางทฤษฎีเกี่ยวข้อง จากความสัมพันธ์นี้ มีการวัดอุณหภูมิพื้นผิวของดวงอาทิตย์เป็นครั้งแรกและได้ค่าเป็น 5430 ºซ.

นอกจากนี้แล้ว ชเต็ฟฟันยังมีผลงานในด้านการนำความร้อนของก๊าซ การระเหย และการแพร่

อ้างอิง[แก้]

  1. "Josef Stefan | Biography & Facts | Britannica". www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-12-11.