โนรา (พรรณไม้)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โนรา
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Malpighiales
วงศ์: Malpighiaceae
สกุล: Hiptage
สปีชีส์: H.  benghalensis
ชื่อทวินาม
Hiptage benghalensis
(L.) Kurz

โนรา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Hiptage benghalensis) หรือ กะลังจ่าง, กำลังช้างเผือก, พญาช้างเผือก, สะเลา[1] เป็นพืชในสกุลโนรา ลักษณะเป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อยไม่ผลัดใบ อายุหลายปี ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม โคนมน ขอบใบเป็นคลื่น แผ่นใบหนาและเหนียว ก้านใบยาว 1-2 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกย่อยมี 10-30 ดอก กลีบเลี้ยงสีเขียวปลายแหลมเจือสีชมพู กลีบดอกสีขาวหรือชมพูอ่อน 5 กลีบ โคนสีเหลือง ปลายแตกเป็นครุย มีเกสรเพศผู้ยาว เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 3-4 เซนติเมตร มีกลิ่นหอม ทยอยบาน 3-4 วัน ออกดอกเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ ผลเป็นผลแห้งสีน้ำตาล มีปีก 3 อันประกบกัน เมื่อร่วงปลิวไปตามลม[2]

โนรามีถิ่นกำเนิดในอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และฟิลิปปินส์[3][4] นิยมปลูกเป็นไม้ประดับเนื่องจากดอกมีกลิ่นหอม ใบและเปลือกต้นแก้ไอ แก้อักเสบ รักษาโรคผิวหนัง[5][6]

อ้างอิง[แก้]

  1. "โนรา (Hiptage benghalensis)". อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ. สืบค้นเมื่อ January 5, 2018.[ลิงก์เสีย]
  2. "โนรา (Hiptage benghalensis)". สำนักพิมพ์บ้านและสวน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-13. สืบค้นเมื่อ January 5, 2018.
  3. "Hiptage benghalensis". issg.org; Global Invasive Species Database. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2007-06-27.
  4. Verma, Balakrishnan & Dixit, pp 240
  5. "Hiptage benghalensis". Global Invasive Species Database. สืบค้นเมื่อ January 4, 2018.
  6. "โนรา (Hiptage benghalensis)". สารานุกรมพืช - กรมอุทยานแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ January 5, 2018.[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ โนรา
  • ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Hiptage benghalensis ที่วิกิสปีชีส์