โทมาฮอว์ก (ขีปนาวุธ)
บีจีเอ็ม-109 โทมาฮอว์ก | |
---|---|
![]() บีจีเอ็ม-109 โทมาฮอว์ก | |
ชนิด | ระยะไกล, ทุกสภาพอากาศ, ความเร็วต่ำกว่าเสียง ขีปนาวุธร่อน |
แหล่งกำเนิด | ![]() |
บทบาท | |
ประจำการ | พ.ศ. 2526 - ปัจจุบัน |
ประวัติการผลิต | |
บริษัทผู้ผลิต | เจเนอรัลไดนามิกส์ (แรกเริ่ม) เรเธียน/แมคดอนเนลล์ดักลาส |
มูลค่า | $ยูเอสดอลลาร์ 569,000[1] |
ข้อมูลจำเพาะ | |
มวล | 1,440 กิโลกรัม (3,170 ปอนด์) |
ความยาว | ปราศจากส่วนขับดัน: 5.56 ม. ส่วนขับดัน: 6.25 กม. |
เส้นผ่าศูนย์กลาง | 0.52 ม. |
หัวรบ | ปกติ: 1,000 ปอนด์ (450 กก) บูลพัพ, หรือใช้เป็นเครื่องยิงหัวรบ บีแอลยู-97/บี, หรือ 200 กต. (840 ทีเจ) ดับบลิว 80 (หัวรบนิวเคลียร์) (ภายใต้ข้อตกลงของ SALT) |
กลไกการจุดชนวน | เอฟเอ็มยู-148 ตั้งแต่ ทีแลม บล็อก III, หรือ อื่น ๆ ตามแต่ภารกิจ |
เครื่องยนต์ | วิลเลียมอินเตอร์เนชันแนล F107-WR-402 เทอร์โบแฟน ใช้ TH-dimer และส่วนขับดันเชื้อเพลิงแข็ง |
ความยาวระหว่างปลายปีก | 2.67 ม. |
พิสัยปฏิบัติการ | 2,500 กิโลเมตร |
ความเร็ว | ต่ำกว่าเสียง - ประมาณ 890 กม./ชม. (550 ไมล์ต่อชั่วโมง ) |
ระบบนำวิถี | จีพีเอส, เทอร์คอม, ดีเอสเอ็มเอซี |
ฐานยิง | ฐานยิงแนวดิ่ง (VLS) และท่อยิงตอร์ปิโดแนวราบบนเรือดำน้ำ (หรือ TTL (ท่อยิงตอร์ปิโด)) |
บีจีเอ็ม-109 โทมาฮอว์ก (อังกฤษ: BGM-109 Tomahawk) เป็นขีปนาวุธร่อนนำวิถีระยะไกล ความเร็วต่ำกว่าเสียง ทุกสภาพกาลอากาศ เปิดตัวครั้งแรกในทศวรรษที่ 1970 โดยบริษัทเจเนอรัลไดนามิกส์ โทมาฮอว์กออกแบบมาให้เป็นขีปนาวุธระยะกลางถึงไกล ความสูงต่ำสามารถปล่อยออกจากฐานยิงหลายรูปแบบ โทมาฮอว์กได้รับการปรับปรุงออกมาหลายรุ่น
ปัจจุบันผลิตโดยบริษัทเรเธียน และอีกส่วนหนึ่งผลิตโดยบริษัทแมคดอนเนลล์ดักลาส (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของโบอิง)[2][3]
โทมาฮอว์กแต่ละรุ่น[แก้]
- บีจีเอ็ม - 109เอ (TLAM-N) - รุ่นโจมตีภาคพื้นดิน ติดหัวรบนิวเคลียร์ ดับบลิว 80
- อาร์จีเอ็ม/ยูจีเอ็ม - 109บี (TASM) - รุ่นต่อต้านเรือรบผิวน้ำ นำวิถีด้วยเรดาร์
- บีจีเอ็ม - 109ซี (TLAM-C) - รุ่นโจมตีภาคพื้นดินหัวรบธรรมดา
- บีจีเอ็ม - 109ดี (TLAM-D) - รุ่นจรวดหัวจ่าย บรรจุหัวรบด้านใน
- อาร์จีเอ็ม/ยูจีเอ็ม - 109อี (TLAM Block IV) - รุ่นพัฒนามาจากรุ่น (TLAM-C)
- เอจีเอ็ม -109เอช/แอล (MRASM) - รุ่นระยะใกล้ อากาศสู่พื้น เครื่องยนตร์เทอร์โบเจ็ต (ยังไม่เคยเข้าประจำการ)
แทคทิทัลโทมาฮอว์ก[แก้]
เป็นรุ่นของโทมาฮอว์กได้รับการปรับปรุงครั้งสำคัญ ในการปรับปรุงระบบเครือข่ายสงคราม โดยใช้ระบบการเชื่อมโยงจากระบบตรวจจับต่าง ๆ เช่น อากาศยาน, อากาศยานไร้คนขับ, ดาวเทียม, ทหารราบ, รถถัง, เรือรบ, ในการค้นหาเป้าหมาย ซึ่งสามารถถ่ายโอนข้อมูลเป้าหมายเข้าสู่ระบบของขีปนาวุธ
อ้างอิง[แก้]
- ↑ The US Navy - Fact File
- ↑ "McDonnell Douglas: History — New Markets," เว็บไซต์ประวัติศาสตร์โบอิง.
- ↑ "Raytheon Tomahawk Cruise Missile," พัฒนาการโทมาฮอว์กของเรเธียน
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: โทมาฮอว์ก (ขีปนาวุธ) |
- เว็บไซต์ทางการของเรเธียน
- บีจีเอ็ม-109 โทมาฮอร์ก - โกลบอลซีเคียวริตี้
- เรเธียน (เจเนอรัลไดนามิกส์) AGM/BGM/RGM/UGM-109 โทมาฮอร์ก - ระบบการออกแบบ
- กองทัพอากาศออสเตรเลีย - ความแตกต่างของโทมาฮอร์ก
![]() |
บทความเกี่ยวกับทหาร การทหาร หรืออาวุธนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:การทหาร |