ข้ามไปเนื้อหา

โถแห่งจักรพรรดิเซิร์กซีสที่ 1

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โถแห่งจักรพรรดิเซิร์กซีสที่ 1
โถแห่งจักรพรรดิเซิร์กซีสที่ 1จากสุสานหลวงในฮาลิคาร์นัสเซิส
จารึกปรากฏอักษรอียิปต์ความว่า: "มหาราชเซิร์กซีส"
โถใบนี้ถูกค้นพบที่สุสานแห่งฮาลิคาร์นัสเซิส, ในเมืองคาเรีย, ปัจจุบันตั้งอยู่ในประเทศตุรกี

โถแห่งจักรพรรดิเซิร์กซีสที่ 1 เป็นขวดโถที่บรรจุแคลไซต์หรืออะลาบาสเทอร์, หรือในนามว่า เศวตศิลา (อะลาบาสตรอน) อันจารึกพระนามของจักรพรรดิเซิร์กซีสที่ 1 กษัตริย์ผู้ครองนครจักรวรรดิอะคีเมนิด (ครองนครช่วงก่อนคริสตกาลที่ 486–465), ซึ่งค้นพบที่สุสานแห่งฮาลิคาร์นัสเซิส, ในเมืองคาเรีย, ปัจจุบันตั้งอยู่ในประเทศตุรกี, บริเวณเชิงบันไดทางทิศตะวันตกของสุสาน[1] ปัจจุบันโถเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์บริติช, โดยมิได้มีการจัดแสดงโถดังกล่าว[2]

เนื้อหาทางจารึก

[แก้]

โถจารึกข้อความสั้นเป็นสำคัญในภาษาเปอร์เซียโบราณ, ภาษาอียิปต์, ภาษาบาบิโลน, และภาษาเอลาไมต์:[1][3][4]

𐎧𐏁𐎹𐎠𐎼𐏁𐎠 𐏐 𐏋 𐏐 𐎺𐏀𐎼𐎣
(Xšayāršā : XŠ : vazraka)
"เซิร์กซีส : มหาราช"


— จารึกเป็นภาษาเปอร์เซียโบราณบนโถแห่งจักรพรรดิเซิร์กซีสที่ 1, สุสานแห่งฮาลิคาร์นัสเซิส[3]

วัตถุประสงค์ของโถใบนี้มิสามารถทราบได้ อาจมีการบรรจุน้ำจากแม่น้ำไนล์บางส่วนซึ่งรับมอบเพื่อเป็นเครื่องหมายของการสวามิภักดิ์[1] ตัวอย่างโถคล้ายกันที่รู้จักแพร่หลายในอาณาเขตของจักรวรรดิอะคีเมนิด อย่างโถแห่งดาไรอัสมหาราช[1] โถนี้อาจเป็นของสะสมของเซแทร็ปแห่งคาเรียน, และเป็นหลักฐานถึงความเกี่ยวพันทางญาติระหว่างนครคาเรียนและนครอะคีเมนิด[1][3]

โถขวดนี้มีต้นกำเนิดจากอียิปต์ถือเป็นของที่มีค่าสำหรับจักรวรรดิอะคีเมนิด, และด้วยโถขวดนี้มีคุณค่ามาก จักรพรรดิเซิร์กซีสที่ 1 อาจมอบให้กับผู้ปกครองนครคาเรียนก็ได้, และเก็บเป็นสิ่งสำคัญ[4] โดยเฉพาะอย่างยิ่ง, โถใบนี้ จักรพรรดิเซิร์กซีสที่ 1 อาจมอบให้กับพระนางอาร์เทมิเซียที่ 1 แห่งคาเรียน, ผู้สนองงานอย่างสมศักดิ์ศรีในฐานะแม่ทัพราชนาวีหญิงพระองค์เดียวของพระองค์ในรหว่างการรุกรานกรีซของเปอร์เซียครั้งที่สอง, และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุทธการที่ซาลามิส[5]

โถใบนี้เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์บริติช[6] ความสูงของโถ 28.8 เซนติเมตร, มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 12.8 เซนติเมตรวัดจากปากขอบ[6] ค้นพบโดยชาร์ล ทอมัส นิวตัน ในปี พ.ศ. 2400[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Cambridge Ancient History (ภาษาอังกฤษ). Cambridge University Press. 1924. p. 282-283. ISBN 9780521228046.
  2. Room 15, display case 3 (G15/dc3) "alabastron British Museum". The British Museum (ภาษาอังกฤษ).
  3. 3.0 3.1 3.2 A Jar with the Name of King Xerxes - Livius.
  4. 4.0 4.1 Newton, Charles Thomas (1863). A History of Discoveries at Halicarnassus, Cnidus and Branchidae (ภาษาอังกฤษ). Day & Son. p. 667.
  5. Mayor, Adrienne (2014). The Amazons: Lives and Legends of Warrior Women across the Ancient World (ภาษาอังกฤษ). Princeton University Press. p. 315. ISBN 9781400865130.
  6. 6.0 6.1 6.2 British Museum Xerxes Alabastron.