ข้ามไปเนื้อหา

โดโจ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โดโจ
"โดโจ" ในอักษรคันจิ
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
คันจิ道場
การถอดเสียง
โรมาจิdōjō
อิเกโนโบโดโจ (ขวา) อยู่ติดกับวัดรกกากุ-โด เกียวโต

โดโจ (ญี่ปุ่น: 道場โรมาจิdōjōเสียงอ่านภาษาญี่ปุ่น: [doꜜː(d)ʑoː] หรือ [doː(d)ʑoː]) หมายถึงโถงหรือสถานที่สำหรับการเรียนรู้แบบสมจริง (immersive learning), การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ (experiential learning) หรือการทำสมาธิ โดยธรรมเนียมใช้สำหรับศิลปะป้องกันตัวแต่ก็มีนำมาใช้สำหรับการเรียนรู้ในสาขาอื่น ๆ เช่นกัน คำว่าโดโจแปลว่า "สถานที่แห่งหนทาง" ในภาษาญี่ปุ่น

คำว่า โดโจ มีที่มาจากโพธิมัณฑ์ แรกเริ่ม โดโจ จะตั้งอยู่ตรงข้ามกับพุทธศาสนสถานเพื่อเป็นสถานที่สำหรับฝึกฝนอย่างเป็นระบบสำหรับศิลปกรรมญี่ปุ่นใด ๆ ที่ชื่อลงท้ายด้วยคำว่า "โด" ("-dō") ซึ่งมาจากภาษาจีน เต๋า แปลว่า "หนทาง" บางครั้ง โถงในศาสนาพุทธแบบเซนสำหรับการฝึกสมาธิ ซาเซง ก็อาจเรียกว่าโดโจเช่นกัน[1]

ในประเทศญี่ปุ่น สถานที่ใด ๆ ที่มีไว้สำหรับการฝึกทางกายภาพ รวมถึงซูโมอาชีพ อาจเรียกว่า "โดโจ" เช่นกัน[2] ในโลกตะวันตก คำว่า "โดโจ" ในแง่สำหรับกิจกรรมทางกายภาพ ใช้สำหรับศิลปะป้องกันตัวของญี่ปุ่นโดยเฉพาะ เช่น ไอคิโด, ยูโด, คาราเตะโด[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Daisetz Teitarō Suzuki (2007). "Chapter 9: The Meditation Hall and the Monk's Life". An Introduction to Zen Buddhism. Grove Press. pp. 118–132. ISBN 9780802130556. OCLC 1074773870.
  2. "Meaning of Dojo". Kendo Basics. Kendo for Life. สืบค้นเมื่อ 30 November 2013.
  3. "Martial Arts". Japan Experience. สืบค้นเมื่อ 13 November 2012.