โดฮาทาวเวอร์

พิกัด: 25°19′3.10″N 51°31′41.93″E / 25.3175278°N 51.5283139°E / 25.3175278; 51.5283139
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โดฮาทาวเวอร์
برج الدوحة
ทิวนครย่านเวสต์เบย์ เห็นโดฮาทาวเวอร์ (ขวาสุดของแถวตึกระฟ้า) ในปี 2010
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
สถานะสร้างเวร็จ
ประเภทสำนักงานพาณิชย์
ที่ตั้งถนนคอร์นิช เวสต์เบย์
โดฮา ประเทศกาตาร์
พิกัด25°19′3.10″N 51°31′41.93″E / 25.3175278°N 51.5283139°E / 25.3175278; 51.5283139
เริ่มสร้าง2005[1]
แล้วเสร็จ2012[1]
ค่าก่อสร้าง455 ล้านริยัล
US$125 ล้าน)
เจ้าของเชก ซาอุด บิน มุฮัมเมด อัลตานี
ความสูง
ตัวอาคาร238 m (780.8 ft)
ข้อมูลทางเทคนิค
วัสดุคอนกรีต / เหล็กกล้า
จำนวนชั้น46
3 ใต้ดิน
พื้นที่แต่ละชั้น110,000 m2 (1,184,000 sq ft)
ลิฟต์23 ตัว
การออกแบบและการก่อสร้าง
สถาปนิกฌอง นูแวล
บริษัทออกแบบคอนศัลติงเอนยิเนียริงกรุ๊ป
วิศวกรโครงสร้างแทเรลกรุ๊ป (Terrell Group)
ผู้รับเหมาก่อสร้างองค์การวิศวกรรมก่อสร้างรัฐจีน[2]
เว็บไซต์
burjdoha.qa

โดฮาทาวเวอร์ (อังกฤษ: Doha Tower) หรือ บุรจญ์โดฮา (อาหรับ: برج الدوحة; Burj Doha) และชื่อเดิม บุรจญ์กาตาร์ (Burj Qatar) และ อาคารสูงสำนักงานโดฮา (Doha High Rise Office Building)[4] เป็นตึกสูงในย่านเวสต์เบย์ นครโดฮา ประเทศกาตาร์ ในเดือนตุลาคม 2012 อาคารได้รับรางวัลตึกระฟ้าซีทีบูยูเอชสำหรับ "ตึกสูงที่ดีที่สุดในโลก" (Best Tall Building Worldwide) จาก CTBUH[5] อาคารใช้งานเป็นสำนักงาน สร้างขึ้นด้วยงบประมาณ 125 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ เป็นผลงานออกแบบโดย ฌอง นูแวล ชาวฝรั่งเศส และมีความสูง 238 เมตร (781 ฟุต), 46 ชั้น

ในปี 2004 โครงการริเริ่มขึ้นครั้งแรกภายใต้ชื่อ อาคารสูงสำนักงานโดฮา (Doha High Rise Office Building)[6] และเมื่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2012 ได้แบรนด์ตนเองเป็น บุรจญ์โดฮา (Burj Doha) โดยเจ้าของอาคาร เชกซาอุด บิน มุฮัมมัด อัลตานี

สาธารณชนชี้ว่าอาคารมีรูป "เหมือนองคชาต"[7][8] ซึ่งสื่อโดยอ้อมผ่านการที่นูแวลเรียกว่าเป็น "ความสามารถในการสืบพันธุ์ของชาย ที่ปรากฏออกมาอย่างเต็มเปี่ยม" ("fully assumed virility")[9]

อาคารออกแบบโดยสถาปนิก ฌอง นูแวล ชาวฝรั่งเศส และมีความสูง 46 ชั้นเหนือพื้นดิน, 3 ชั้นใต้ดิน และมีพื้นที่สุทธิราว 110,000 ม2[10] อาคารไม่มีแก่นกลาง ทำให้มีพื้นที่ใช้สอยเพิ่มขึ้น การออกแบบของอาคารมีความแตกต่างจากอาคารอื่น โดยเป็นตึกระฟ้าแรกที่ใช้เสาภายในเป็นคอนกรีตเสริมแรง ไขว้กันในทางไดอากริด (internal reinforced concrete diagrid columns) เป็นรูปตัวเอ๊กซ์ (X) ที่เชื่อมต่อกับฟาซาดทรงกระบอกภายนอก การออกแบบนี้สื่อถึงวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยเชื่อมต่อการออกแบบสมัยใหม่กับอิสลามโบราณ (มัชราบิยา)

อาคารนี้เป็นของเชก ซาอุด บิน มูฮัมเม็ด อัลตานี และบริหารโดยเครือฮามัด บิน ซาอุด (Hamad Bin Saoud Group) ปัจจุบันสูงเป็นอันดับหกของประเทศ

ลักษณะ[แก้]

อาคารมีคสามสูง 238 เมตร (781 ฟุต), 46 ชั้น[11] แก่นกลางเพื่อการบริการ (service core) นั้นอยู่เฉียงออกจากตรงกลางพอดีไปเล็กน้อยเพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอยสูงสุด

รูปทรงกระบอกนี้คล้ายคลึงกับอาคารสำนักงานของนูแวล ตอร์เรกลอรีเยส ในบาร์เซโลนา ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจเชิงแนวคิดของอาคารโดฮาทาวเวอร์[11] ส่วนที่ต่างออกมาของอาคารนี้คือฟาซาดซึ่งออกแบบให้เข้ากับสภาพของท้องถิ่น โดยออกแบบให้มีบรีสโซเลย์ "สร้างจากลวดลายหลายชั้นซ้อนกัน ชวนให้นึกถึงบานหน้าต่างแบบอิสลามที่ใช้กันแดดให้กับอาคาร"[11]

รางวัล[แก้]

ซีทีบียูเอช (Council on Tall Buildings and Urban Habitat) ขึ้นชื่อให้อาคารนี้เป็นตึกสูงที่ดีที่สุดในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือในปี 2012 it และชื่นชมการนำเอา "ลวดลายอิสลามโบราณ" มาใช้ในการออกแบบ[11]

ในงานรางวัลสถาปนิกตะวันออกกลาง (Middle East Architect Awards) ประจำปี 2012 อาคารได้รับรางวัล "โครงการแห่งปีโดยภาพรวม" ("Overall Project of the Year")[12] และในโอกาสเดียวกันนี้ นูแวลยังได้รับแบบจำลองย่อส่วนของอาคาร ที่ทำมาเป็นพิเศษแก่เขา[13]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Doha Tower". The Skyscraper Center. Council on Tall Buildings and Urban Habitat. สืบค้นเมื่อ 20 March 2013.
  2. Philip Jodidio (2007). Architecture in the Emirates. Taschen.
  3. Shabinakhatri (20 October 2012). "Chicago group names Burj Qatar best tall building in MENA". Doha News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 August 2013. สืบค้นเมื่อ 14 March 2013.
  4. "Doha Tower Named Best Tall Building Worldwide". CTBUH 11th Annual Awards, 2012. Council on Tall Buildings and Urban Habitat. 19 October 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 March 2013. สืบค้นเมื่อ 14 March 2013.
  5. "Doha 9 High Rise Office Tower, Qatar". Design Build Network. สืบค้นเมื่อ 14 March 2013.
  6. The Contextualizer By Arthur Lubow, NYT, April 6, 2008
  7. Bridge in the Gulf By Edwin Heathcote, Financial Times, February 11, 2011
  8. Jean Nouvel's Message in a Bottle เก็บถาวร 2013-04-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน By Julian Sancton, Vanity Fair, April 28, 2008
  9. Emporis. “Burj Qatar” Retrieved 17 March 2013
  10. 11.0 11.1 11.2 11.3 "Chicago group names Burj Qatar best tall building in MENA". Doha News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 August 2013. สืบค้นเมื่อ 14 July 2013.
  11. "Burj Qatar wins Overall Project of the Year at ME Architect Awards". MBSS. 29 October 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 July 2013. สืบค้นเมื่อ 14 July 2013.
  12. "Burj Qatar wins ME Architect's Best Project prize". Construction Week Online.com. 24 October 2012. สืบค้นเมื่อ 14 July 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]