ข้ามไปเนื้อหา

โซฟี ดัชเชสแห่งโฮเอินแบร์ค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โซฟี ดัชเชสแห่งโฮเอินแบร์ค
ดัชเชสแห่งโฮเอินแบร์ค
ประสูติ1 มีนาคม ค.ศ. 1868(1868-03-01)
สิ้นพระชนม์28 มิถุนายน ค.ศ. 1914(1914-06-28) (46 ปี)
พระสวามีอาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันท์ แห่งออสเตรีย
พระบุตรเจ้าหญิงโซฟีแห่งโฮเอินแบร์ค
แม็กซิมิเลียน ดยุกแห่งโฮเฮนเบิร์ก
เจ้าชายแอร์นแห่งโฮเอินแบร์ค
ราชวงศ์ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค
พระบิดาเคานต์โบฮัสลอ โซเทิค แห่งชอทโควาและวงนิง
พระมารดาวิลเฮล์มีน คินสกี แห่งวชินิตซ์ และเท็ตทอว์

โซฟี ดัชเชสแห่งโฮเอินแบร์ค (เยอรมัน: Sophie Herzogin von Hohenberg) หรือพระนามในภาษาเช็กคือ โจฟี ช็อตโกวา (เช็ก: Žofie Chotková) เป็นเจ้าหญิงเช็กเกียที่สมรมกับพระราชวงศ์ออสเตรียในฐานะพระชายาในอาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันท์ แห่งออสเตรีย ซึ่งถือเป็นการอภิเษกสมรสนอกกฎมณเฑียรบาล ต่อมา ภายหลังได้รับพระราชทานยศสูงขึ้นไปอีกเป็นดัชเชสแห่งโฮเอินแบร์ค

พระราชประวัติ

[แก้]

เคาน์เตสโซฟี ประสูติเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2411 ณ เมืองสตุทการ์ต โบฮีเมีย (ปัจจุบันเป็นรัฐหนึ่งของสาธารณรัฐเช็ก) ทรงเป็นธิดาในเค้านท์โบฮัสลอว์ โซเทิคแห่งช๊อทโคว่า และ วอกนิน และ เคาน์เตสวิลเฮล์มมีน คินสกี้ แห่งวชินิตซ์และเท็ตทอว์ ประสูติมาในครอบครัวที่ชนชั้นสูงและมีชื่อเสียงในโบฮีเมีย แต่ไม่ได้มีเชื้อพระวงศ์เลยแม้แต่น้อย แต่ถ้านับถอยหลังไปถึงรุ่นก่อนๆของบรรพบุรุษของพระนาง จะพบว่า บรรพบุรุษของฝ่ายหญิงหรือทางมารดาของพระนามนั้น ได้สืบเชื้อสายมาจากเจ้าหญิงแห่งบาเดิน, โฮเอินท์ซ็อลเลิร์น-เฮ็คคิงเงิน และลิกเตนสไตน์ แต่สมัยนั้น เขาจะนับดูถอยหลังของบรรพุรุษของฝ่ายชายมากกว่า ซึ่งเป็นต้นราชสกุลนี้ ดังนั้น ถ้าเปรียบเทียบระหว่างครอบครัวของพระนางกับชนชั้นสูง ครอบครัวโซเทิคนี้ จะเป็นเหมือนแค่ประชาชนธรรมดาๆเท่านั้น

เมื่อพระนางเจริญพระชันษา พระนางได้เข้าไปทำงานในราชสำนักออสเตรีย โดยทรงเป็นนางกำนัลข้าหลวง ทำงานถวายรับใช้อาร์ชดัชเชสอิสซาเบลล่า ซึ่งเป็นพระชายาในอาร์ชดยุกฟรีดริชแห่งออสเตรีย ดยุกแห่งเทเชิน ในพระตำหนักส่วนพระองค์ที่เมืองเพรสบูร์ก (ปัจจุบันคือกรุงบราติสลาวา) ซึ่งสถานที่นั้น เป็นที่ซึ่งพระนางได้พบกับพระนัดดาของอาร์ชดัชเชสอิสซาเบลล่า ซึ่งก็คืออาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันท์ นั่นเอง

ความสัมพันธ์กับอาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันท์

[แก้]

พระนางและอาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันท์ ทรงมีการติดต่อหากันอย่างลับๆ เนื่องจากเป็นการคบหากันนี้ เป็นการละเมิดกฎจารีคประเพณี พระนางได้เขียนจดหมายมาหาพระองค์ระหว่างที่พระองค์ทรงอยู่ในระยะพักฟื้นจากโรควัณโรคหลังจากเสด็จกลับจากเกาะลอว์ชิน บนทะเลอาเดรียติก ประเทศโครเอเชีย ทั้งสองได้เก็บความสัมพันธ์นี้อย่างลับๆมาเป็นเวลากว่า 2 ปี จนเมื่อทั้งราชสำนักรู้เรื่องการคบหากันของทั้ง 2 พระองค์ เนื่องจากอาร์ชดัชเชสอิสซาเบลล่าทางแอบเข้าไปในห้องบรรทมส่วนพระองค์ของอาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันท์ เพื่อจะทอดพระเนตรอัลบั้มพระฉายาลักษณ์ โดยอาร์ชดัชเชสอิสซาเบลล่าทรงหวังว่า จะให้พระธิดาของพระองค์อภิเษกสมรสกับอาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันท์ โดยพระองค์ทรงหวังว่าจะทอดพระเนตรเห็นพระฉายาลักษณ์ของพระธิดาของพระองค์ แต่กลับเห็นรูปโซฟีแทน พระองค์จึงทรงนำความไปฟ้องอาร์ชดยุกฟรีดริช พระสวามี และทรงปลดโซฟีออกจากตำแหน่งนางข้าหลวง ส่วนพระสวามีได้ทรงนำความที่พระชายาทูลบอก ไปทูลเกล้าต่อจักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟ ทำให้เรื่องราวของทั้ง 2 พระองค์ได้เลื่องลือกันทั่วราชสำนัก จักรพรรดิทรงกริ้วมาก มีพระบัญชาให้เรียกพระราชนัดดา ผู้เป็นองค์รัชทายาทมาเข้าเฝ้าพระองค์ ทั้ง 2 พระองค์ได้ทรงมีปากเสียงกันแค่เรื่องผู้หญิงคนเดียว โดยทรงกล่าวว่า พระราชนัดดาจะอภิเษกสมรสกับโซฟีไม่ได้ เพราะจะเป็นละเมิดกฎมณเฑียรบาลในเรื่องของการอภิเษกสมรสว่า To be an eligible partner for a member of the Austro-Hungarian imperial family, one must be a member of one of the reigning or formerly reigning dynasties of Europe. พระบรมวงศานุวงศ์ออสเตรีย-ฮังการีทุกพระองค์จะต้องอภิเษกสมรสกับพระบรมวงศานุวงศ์หรือเชื้อพระวงศ์ในราชวงศ์ยุโรปเท่านั้น หากอภิเษกสมรสกับบุคคลที่มิได้เป็นเชื้อพระวงศ์ใดๆเลย เมื่อมีพระโอรส หรือ พระธิดา ก็จะไม่มีสิทธิ์ในการสืบสันตติวงศ์ และจะมิได้อยู่ในลำดับการสืบสันตติวงศ์อีกด้วย

ซึ่งโซฟีนั้น เกิดมาในครอบครัวที่มิได้เป็นเชื้อพระวงศ์แต่อย่างใด ถึงแม้ว่าบรรพบุรุษทางมารดาจะเป็นเชื้อพระวงศ์ แต่เขาจะดูในบรรพบุรุษทางบิดามากกว่า แต่เมื่อปี พ.ศ. 2512 นักประวัติศาสตร์ชาวออสเตรียคนหนึ่งได้กล่าวว่า ถ้าย้อนมองไปบรรพบุรุษทางบิดาของโซฟีนั้น จะพบว่า บรรพบุรุษที่แท้จริงของโซฟีที่ได้สืบเชื้อสายมานั้นคือ เคานต์อัลเบรชท์ที่ 1 ดังนั้น โซฟีและอาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันท์ เป็นพระญาติกันโดยไม่รู้ตัว ซึ่งถ้าจักรพรรดิทรงมองย้อนบรรพบุรุษของโซฟีมากกว่านี้ ก็จะทรงทราบว่า โซฟีก็เป็นสมาชิกราชวงศ์ฮาพส์บวร์คเช่นกัน...

ด้วยความที่อาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันท์ หลงรักพระนางหัวปักหัวปำ พระองค์ทรงปฏิเสธที่จะทรงอภิเษกสมรสกับสตรีคนใดเลย สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 13, จักรพรรดินิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย และจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี ทรงร่วมมือกันเจรจากับจักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟ โดยพระองค์ทรงกังวลว่าอาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันท์ จะทำให้พระราชวงศ์เสื่อมเสีย หลังจากที่ทั้ง 2 พระองค์ทรงมีปากเสียงกันมาก่อนหน้านี้แล้ว

อภิเษกสมรส

[แก้]
อาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันท์ พร้อมด้วยพระชายาและพระราชบุตร

แต่ในที่สุด อีก 1 ปีต่อมา จักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟมีพระบรมราชานุญาตให้อาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันท์ สามารถอภิเษกสมรสกับโซฟีได้ แต่ทรงมีข้อแม้ว่าการอภิเษกสมรสครั้งนี้จะเป็นการสมรสแบบนอกระบบ กล่าวคือไม่ได้อยู่ในกฎมณเฑียรบาล โดยเป็นการแต่งงานของชายที่สูงศักดิ์กับหญิงต่ำต้อยกว่า เมื่อทรงมีทายาท พระราชบุตรของทั้งสองจะไม่มีสิทธิ์ในการขึ้นครองราชย์และจะไม่มีสิทธิ์อยู่ในลำดับการสืบสันตติวงศ์อีกด้วย และนอกจากนี้ เมื่ออภิเษกสมรสกันแล้ว โซฟีผู้เป็นฝ่ายหญิงจะไม่มีสิทธิ์ในการดำรงพระอิสริยยศของพระสวามี (พระองค์ทรงเป็นอาร์ชดยุกแห่งออสเตรีย-เอสเต และดยุกแห่งโมเดนา ดังนั้น พระนางก็จะไม่มีสิทธิ์เป็นอาร์ชดัชเชสแห่งออสเตรีย-เอสเต และดัชเชสแห่งโมเดนาอีกด้วย) และเมื่อปรากฏต่อสาธารณชน โซฟีก็จะไม่มีสิทธิ์ที่จะปรากฏตัวต่อสาธารณชนเคียงข้างผู้เป็นพระสวามี และก็จะไม่มีสิทธิ์นั่งบนพระราชรถขบวนเสด็จอีกด้วย จนกว่าจักรพรรดิจะทรงอนุญาต

ทั้งสองทรงเข้าพิธีอภิเษกสมรสเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2443 ณ เมืองไรช์สตัดท์ (ปัจจุบันคือเมืองซาคูพาย) โบฮีเมีย โดยการอภิเษกสมรสครั้งนี้ จักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟไม่ทรงเข้าร่วมพิธีในครั้งนี้ด้วย ไม่มีแม้แต่พระอนุชาและพระขนิษฐาของพระองค์เลย จะมีก็แต่อาร์ชดยุกและอาร์ชดัชเชสบางพระองค์เท่านั้น รวมไปถึงพระมารดาทูนหัวของพระองค์ อาร์ชดัชเชสมาเรีย เมเรซ่าและพระธิดาทั้ง 2 พระองค์ การอภิเษกสมรสครั้งนี้ถือเป็นการอภิเษกสมรสแบบเงียบๆ หลังจากการอภิเษกสมรส โซฟีได้รับพระราชทานพระยศเป็น เจ้าหญิงแห่งโฮเอินแบร์ค (อังกฤษ: Her Serene Highness The Princess of Hohenberg, เยอรมัน: Ihre Durchlaucht Fürstin von Hohenberg) และต่อมาในปี พ.ศ. 2452 โซฟีได้ดำรงพระอิสริยศักดิ์สูงขึ้นเป็น ดัชเชสแห่งโฮเอินแบร์ค (อังกฤษ: Her Highness The Duchess of Hohenberg, เยอรมัน: Ihre Hoheit' Herzogin von Hohenberg) โดยพระยศนี้อาจจะทำให้โซฟีดูสูงศักดิ์ขึ้น แต่ก็ยังให้ความสำคัญน้อยเช้นเดิม อย่างเช่นเมื่อมีงานเลี้ยงพบปะของพระราชวงศ์อิมพีเรียล โซฟีก็ถูกแยกให้อยู่ห่างพระสวามีของพระองค์

อาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันท์ และดัชเชสแห่งโฮเอินแบร์คมีพระธิดา 1 พระองค์ และพระโอรส 2 พระองค์ โดยทุกพระองค์นี้มิได้ทรงดำรงอยู่ในราชวงศ์ฮาพส์บวร์คเลย ไม่ว่าจะเป็นราชสกุลฮาพส์บวร์ค-ลอร์เรน หรือฮาพส์บวร์ค-โลทรินเจน แต่ทุกพระองค์จะทรงดำรงในราชสกุลใหม่คือ โฮเอินแบร์ค (von Hohenberg) จึงถือได้ว่าอาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันท์ ทรงเป็นต้นราชสกุลโฮเอินแบร์ค

การลอบปลงพระชนม์

[แก้]
บทความหลัก การลอบปลงพระชนม์อาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันท์แห่งออสเตรีย
ราชรถที่ทั้ง 2 พระองค์ทรงนั่งขณะเสด็จเยือนบอสเนีย

เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2457 นายพลออสการ์ โพทิโอเร็ค ผู้ว่าการรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ได้เชิญอาร์ชดยุกฟรันซ์ เฟอณืดินานด์ และดัชเชสโซฟีมาทอดพระเนตรกองทัพของบอสเนีย โดยอาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันท์ ทรงทราบดีว่า การเสด็จพระราชดำเนินเยือนบอสเนียครั้งนี้จะมีอันตรายอย่างใหญ่หลวง เพราะเนื่องจากชาวบอสเนียไม่อยากอยู่ในการปกครองของออสเตรีย โดยอยากจะเข้าร่วมกับกลุ่มสหภาพของเซอร์เบีย

โดยปกติแล้ว โซฟีมักจะไม่มีโอกาสได้ปฏิบัติพระกรณียกิจร่วมกับพระสวามี เนื่องจากมีข้อแม้ว่า เมื่ออภิเษกสมรสแล้ว จะไม่มีโอกาสได้ปฏิบัติพระกรณียกิจพร้อมกับพระสวามี ถึงแม้จะมีศักดิ์เป็นถึงพระชายาขององค์รัชทายาทก็ตาม แต่การเสด็จพระราชดำเนินเยือนบอสเนียครั้งนี้ พระสวามีมีพระบรมราชานุญาตให้พระชายาเสด็จตามไปด้วย ทำให้พระนางปลาบปลื้มในตัวพระสวามีเป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่าจะมีเสียงคัดค้านจากพระบรมวงศานุวงศ์ก็ตาม

ขณะที่ทั้ง 2 พระองค์เสด็จเยือนอยู่นั้น ได้มีประชาชนชาวบอสเนียได้ออกมารอรับเสด็จเพื่อชื่นชมพระบารมีของทั้ง 2 พระองค์ จนเมื่อเวลา 10 นาฬิกา 10 นาที ขณะที่ขบวนรถพระที่นั่งกำลังเคลื่อนตัวมาจากสถานีตำรวจซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของบอสเนีย ได้มีผู้ขว้างระเบิด 2 ลูก ปามายังขวนรถพระที่นั่ง ระเบิดได้ลอยผ่านรถพระที่นั่งของทั้ง 2 พระองค์ไป แล้วเกิดระเบิดขึ้นด้านหลังรถพระที่นั่ง เป็นเหตุให้ทหาราชองครักษ์ได้รับบาดเจ็บ 2 นาย รวมทั้งประชาชนจำนวนหนึ่ง จากนั้น ขบวนรถพระที่นั่งได้เคลื่อนตัวมาถึงศาลากลางซาราเยโว อาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันท์ ได้ทรงถามถึงเหยื่อผู้ประสบภัยจากระเบิดเมื่อสักครู่ โดยพระองค์จะเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเหยื่อผู้ร้ายจากเหตุระเบิดเมื่อสักครู่ ราชเลขาของอาร์ชดยุก บารอนมอร์ซี่ ได้ให้คำแนะนำอาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันท์ ว่าไม่ควรเสด็จพระราชดำเนินตอนนี้ เนื่องจากมีเหตุอันตรายมาก แต่ผู้ว่าการบอสเนียได้โต้ค้าน โดยถามว่า "ท่านคิดว่าซาราเยโวเต็มไปด้วยพวกอาชญากรงั้นหรือ?" แต่ถึงอย่างไรก็ตาม อาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันท์ ทรงตัดสินใจแล้วว่า จะเสด็จเยี่ยมผู้เคราะห์ร้ายที่โรงพยาบาล ส่วนดัชเชสโซฟี บารอนมอร์ซี่ได้แนะนำให้รอพระสวามีในศาลากลาง แต่พระองค์ทรงค้านว่า "ชั้นจะไม่ทิ้งอาร์ชดยุกตราบใดที่เขายังคงจะไปเยี่ยมประชาชน" ดังนั้น พระองค์จึงเสด็จพระดำเนินตามพระสวามีไป...

อาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันท์ และดัชเชสโซฟี ก่อนถูกลอบปลงพระชนม์

ขณะที่ขบวนรถพระที่นั่งกำลังเคลื่อนตัวเข้าสู่โรงพยาบาลซาราเยโวนั้น ผู้ว่าการบอสเนียได้เห็นว่าขบวนรถได้ไปผิดทาง แทนที่จะตรงไปยังสะพานหินแอ๊ปเปิ้ล และสะพานละตินเพื่อเข้าสู่โรงพยาบาล แต่ขวบนรถได้เคลื่อนตัวเข้าสู่ถนนฟรันซ์ โยเซฟ ขบวนรถได้หยุดชะวักเพื่อเตรียมถอยรถเข้าสู่ถนนหลักอีกครั้ง แต่ในขณะที่ขบวนรถได้กำลังเข้าสู่ถนนหลักนั้น มี 1 ในสมาชิกกลุ่มลอบปลงพระชนม์จากเซอร์เบียคนหนึ่งได้เห็นทั้ง 2 พระองค์กำลังนั่งอยู่ในราชรถ ชายนักลอบสังหารได้ทีจึงเล็งปืนยิงหลายนัดไปที่ทั้ง 2 พระองค์ทันที โดยยิงเข้าไปที่ทั้ง 2 พระองค์หลายนัดด้วยกัน เป็นเหตุให้อาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันท์ และดัชเชสโซฟีสิ้นพระชนม์ในรถพระที่นั่งทันที

พระศพของทั้ง 2 พระองค์ได้ถูกเคลื่อนนำจากบอสเนีย มายังกรุงเวียนนา เพื่อทำพิธีพระศพตามโบราณราชประเพณี พระศพอาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันท์ และดัชเชสโซฟีถูกฝังไว้ที่ปราสาทอาร์ทสเต็ทเท็น ซึ่งเป็นพระราชฐานของราชสกุลโฮเอินแบร์ค

หลังจากการสิ้นพระชนม์ของทั้ง 2 พระองค์เป็นเหตุให้จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ประกาศสงครามกับราชอาณาจักรเซอร์เบีย เป็นเหตุให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1ทันที

พระราชอิสริยยศ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  • Jan Galandauer: František Ferdinand dEste, Prag 1993
  • Jiří Pernes: Život plný nepřátel. Život a smrt Ferdinada dEste, Prag 1994
  • Wladimir Aichelburg: Erzherzog Franz Ferdinand von Österreich-Este und Artstetten. Verlagsbüro Johann Lehner, Wien 2000
  • Friedrich Weissensteiner: Franz Ferdinand. Der verhinderte Herrscher. Österreichischer Bundesverlag, Wien 1983

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]